โฆษกรัฐบาลเผยรับทราบมติไตรภาคีคงค่าจ้างตามเดิม แต่ยังไม่ล้มความตั้งใจ ปีหน้าจ้องดันอีก เมินย้ายฐานการผลิตหนี เชื่อมีคนมาเสียบอยู่แล้ว
21 ธ.ค.2566 - นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการค่าจ้างมีมติเห็นชอบปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2567 ตามมติเดิมเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ว่ารัฐบาลเข้าใจว่า สิ่งไหนจะสามารถดำเนินการอะไรได้บ้าง ทั้งนี้ ในฐานะรัฐบาลสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ซึ่งพรรคเพื่อไทยในช่วงเลือกตั้งก็ได้มีการหาเสียงไว้ ดังนั้น รัฐบาลมีสิทธิ์รับฟังความคิดเห็น ซึ่งคณะกรรมการที่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลก็เป็นเรื่องของคณะกรรมการไตรภาคี เป็นเอกสิทธิ์ไปแทรกแซงไม่ได้
นายชัย กล่าวต่อว่า รัฐบาลจะไม่หยุดแสดงความคิดเห็นโน้มน้าว เพราะเรื่องแบบนี้สามารถจะพูดคุยกันได้ ดังนั้น ไม่มีข้อบังคับไหน ที่ระบุว่า ปีหนึ่งให้พิจารณาการขึ้นค่าแรงเพียงครั้งเดียว หากผ่านไปแล้วสักระยะ เมื่อคณะกรรมการมีการทบทวนหรือพิจารณาใหม่อีกครั้งภายในปีเดียวกันก็ได้ ถือว่าโอกาสมีอยู่เสมอ
นายชัย กล่าวว่า ในเรื่องนี้เป็นไปตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุออกมาจากใจจริงว่า ไม่เห็นด้วยในการขึ้นค่าแรง 2 บาท ใน 3 จังหวัดภาคใต้ แม้แต่ไข่ไก่ ไข่ต้มครึ่งฟองยังซื้อไม่ได้เลย ดังนั้น หากถามว่าน้อยหรือไม่ นายกฯก็มองว่า น้อยมากๆ และในแง่ของการครองชีพของภาคแรงงาน ค่าแรงในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และคำนวณขึ้นค่าแรงล่าสุด 300 บาทที่ผ่านมา เกิดขึ้นเมื่อปี 2555 จนถึงปัจจุบันนี้ ค่าแรงขึ้นมาสูงสุดในรอบ 10 ปี ไม่เกิน 20 % ซึ่งนายกฯ เปรียบเทียบว่า หากลูกหลานของทุกคนที่จบการศึกษาต่างประเทศ แล้วสตาร์ทเงินเดือนที่ 30,000 บาท ทำงานไป 12 ปี ได้ค่าจ้าง 36,000 บาท จะรู้สึกอย่างไร หลายคนก็ระบุว่า ไม่ไหวถ้าเป็นเช่นนี้ ดังนั้น แรงงานจะแย่กว่าใช่หรือไม่ ซึ่งเมื่อแรงงานทำงานไป 12 ปี ธรรมดาคนรายได้ต่ำ เปอร์เซ็นต์การขึ้นค่าแรงต้องสูง คนรายได้สูงเปอร์เซ็นต์การขึ้นค่าแรงต้องต่ำ เพราะฐานานเงินเดือนที่ใหญ่ แต่นี่กับกลับกัน คนมีรายได้สูง ถ้า 10-11 ปี รายได้เพิ่มขึ้น ได้ 20 % แล้วไม่ไหว ขณะที่พี่น้องแรงงานจะไหวได้อย่างไร
โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่า ตรรกะนายกฯมองในเชิงการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งเห็นเลยว่า มีช่องว่างและมีความเลื่อมล้ำสูงมาก ผู้ใช้แรงงานที่มีรายต่ำอยู่แล้ว แล้วขึ้นค่าแรงในจำนวนที่น้อย นายกฯมีสิทธิ์ที่แสดงความคิดเห็น แต่นายกฯ รู้ดีว่าจะไปหักหาญกันไม่ได้ เพราะมีกฏหมายกำหนดไว้ การแสดงความเห็นเป็นส่วนหนึ่ง การเคารพกฏหมายก็ต้องปฏิบัติตาม แต่เรื่องนี้เชื่อว่า นายกฯจะไม่หยุดแค่นี้ คงจะมีการขับเคลื่อนต่อ ซึ่งไม่ใช่นายกฯ เพียงคนเดียว ส่วนตัวเชื่อว่า ในคณะรัฐมนตรีก็เห็นคล้อยตามนายกฯ ที่จะต้องมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพราะค่าแรงขั้นต่ำของไทยเกินกว่าตัวเลขที่ศึกษาวิจัย ว่า คหนึ่งคนเวลาทำงานมีครอบครัว มีลูกหนึ่งคน ขั้นต่ำหนึ่งวันต้องมีรายได้ 560 บาทต่อวัน แต่ค่าแรงกลับห่างไกลมาก จึงเกิดปัญหาทำงานล่วงเวลา (โอที) ทั้งพ่อและแม่ จนไม่มีเวลาดูลูก และนำมาซึ่งปัญหาสังคม
นายชัยกล่าวว่า ส่วนตัวเข้าใจว่า ศักยภาพภาคธุรกิจไทย ถ้าบอกว่า ค่าจ้างสูงกว่านี้ไม่ไหว แปลว่า ต้องทบทวนศักยภาพธุรกิจที่ไม่มีความสามารถพอ ที่จะทำธุรกิจและสร้างรายได้มากพอที่จะดูแลคนทำงานได้อย่างมีความสุข ดังนั้น ภาคธุรกิจต้องปรับตัว โดยจะมาบอกว่า ทำได้เท่านี้และให้แรงงานมาเสียสละ ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการคิดว่าขึ้นค่าแรงแล้วจะทำให้ธุรกิจของตนเองอยู่ไม่ได้ แต่ส่วนตัวเชื่อว่า คนอื่นที่อยู่ในวงการเดียวกันอาจอยู่รอดได้ เมื่อหายไปหนึ่งเจ้าก็อาจมีเจ้าอื่นมาทดแทน และพร้อมจ่ายค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ดังนั้น จึงอย่าได้กังวลว่า ค่าจ้างสูงแล้วธุรกิจอยู่ไม่ได้ และมีแรงงานตกงาน ส่วนตัวไม่เชื่อเช่นนั้น ยืนยันว่า แรงงานจะไม่ตกงาน เพราะมีความต้องการของสินค้าอยู่ และเชื่อว่า จะมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่จะอยู่รอดและเติบโตขึ้นมา ในรูปแบบสามารถที่บริหารธุรกิจ และจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำได้สูง
เมื่อถามว่า จะเป็นการผลักผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า หากย้ายฐานการผลิตก็จะเกิดช่องว่างของตลาด คนที่อยู่ในนี้ก็จะเข้ามาแทนที่ และต่างประเทศก็จะเจอปัญหาเช่นกัน ย้ำว่าธุรกิจทุกอย่างไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าแรงเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของเส้นทางคมนาคมขนส่ง ความมเสถียรของไฟฟ้า ซึ่งยังมีปัจจัยอื่นอีกมาก ดังนั้น ส่วนตัวไม่ห่วง เพราะหากถอยออกไปก็จะมีคนที่อยู่ได้ และมีการขยายตัวเข้ามาแทนที่
“บางครั้งสื่อจะนำเสนอทำนองว่า นายจ้างอยู่ไม่ได้และจะมีการย้ายฐานการผลิต ซึ่งสามารถทำได้ เพราะหากย้ายไปตลาดก็ไม่หายไป ตลาดที่เคยค้าขายอยู่ยังมีช่องว่าง และยังมีผู้เล่นที่จะขยายเข้ามากินตลาดนี้ ดังนั้นประเทศไม่เสียหาย จึงขออย่าห่วง สุดท้ายจะถูกคัดคนไม่มีคุณภาพออกไป ซึ่งประเทศอื่นที่เจริญแล้ว จ่ายค่าแรงหลายพันบาททำไมถึงจ่ายได้ เพราะว่าเขามีผู้ประกอบการที่มีความสามารถเช่นประเทศมาเลเซีย และสิงค์โปร์ แล้วทำไมธุรกิจถึงไม่เจ๊ง ซึ่งขอถามกลับ”นายชัยกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล
ที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์
'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ
จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ