‘คมนาคม’ ผุดตั้งกองทุนตั๋วร่วมเดินหน้ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทุกเส้นทาง

‘สุริยะ’ ดันตั้งกองทุนตั๋วร่วมต้นปีหน้า หนุนนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทุกเส้นทางเกิดภายใน 2 ปี พร้อมเร่งศึกษาโมเดลหางบ 7 – 8 พันล้านบาทจ่ายชดเชยเอกชน เล็งขอเงินสนับสนุนกองทุนอนุรักษ์พลังงาน ย้ำ’แลนด์บริดจ์’ ยังเป็นพระเอกขับเคลื่อนการลงทุน จ่อโรดโชว์ต่อเนื่องจีน – ตะวันออกกลาง ก่อนเปิดประมูลปี 68

20 ธ.ค.2566-นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการขับเคลื่อนนโยบายปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท หรือนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย โดยระบุว่า ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2566 ที่ผ่านมา ใน 2 โครงการ คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – คลองบางไผ่ และโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต และช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน ซึ่งถือเป็นนโยบาย Quick Win นโยบายแรกของรัฐบาล 

นายสุริยะ กล่าวว่า ส่วนการประกาศใช้มาตรการดังกล่าวในโครงการรถไฟฟ้าในเส้นทางอื่นๆ นั้น ปัจจุบันกระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างการหารือและพิจารณาร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้ใช้บริการรถไฟฟ้าทุกสายอัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายได้ตามเป้าหมายภายใน 2 ปีหลังจากนี้ เนื่องจากปัจจุบันกระทรวงฯ อยู่ระหว่างผลักดัน พรบ.ตั๋วร่วม และคาดว่าจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ภายในไตรมาส 1 ปีหน้า

อย่างไรก็ตาม การผลักดันนโยบายดังกล่าวให้เกิดขึ้นกับรถไฟฟ้าที่มีสัญญาสัมปทานร่วมกับเอกชน นอกจากต้องใช้ พรบ.ตั๋วร่วมเพื่อขับเคลื่อนแล้ว ยังมีความจำเป็นต้องชดเชยส่วนต่างที่หายไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อสัญญาสัมปทาน ดังนั้นกระทรวงฯ จึงอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางที่จะนำเงินไปจ่ายชดเชยเอกชน โดยเบื้องต้นจะจัดตั้งกองทุนตั๋วร่วมที่นำเงินมาจากหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน และการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล 

รวมไปถึงการระบุใน พรบ.ตั๋วร่วม เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น อาทิ ในอัตรา 50 สตางค์ เฉพาะสถานีน้ำมันในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนำเงินสนับสนุนเข้ากองทุน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น แต่สามารถจูงใจประชาชนให้เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่จะปรับราคาลงเหลือ 20 บาทตลอดสาย ทำให้ต้นทุนค่าครองชีพของประชาชนปรับลดลง 

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า เบื้องต้นกระทรวงฯ ประเมินวงเงินที่ใช้หมุนเวียนในกองทุนตั๋วร่วมเพื่อชดเชยส่วนต่างค่าโดยสารรถไฟฟ้าอยู่ที่ 7 – 8 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งมั่นใจว่าแนวทางที่อยู่ระหว่างศึกษาขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานมีความเป็นไปได้ เนื่องจากเป็นโมเดลที่หลายประเทศใช้กัน อีกทั้งจากการตรวจสอบพบว่าการนำเงินจากกองทุนดังกล่าวมาสนับสนุนไม่ขัดต่อหลักการของการจัดตั้งกองทุน เนื่องจากบริการรถไฟฟ้านับเป็นบริการที่เข้าข่ายอนุรักษ์พลังงาน

นายสุริยะ กล่าวต่อว่าโครงการลงทุนในปี 2567 ขณะนี้ต้องยอมรับว่าช่วงครึ่งปีแรก ระหว่าง ม.ค. – พ.ค. 2567 จะยังไม่สามารถผลักดันการลงทุนที่ใช้งบประมาณประจำปี 2567 ได้ เนื่องจากปัจจุบันงบประมาณดังกล่าวยังไม่ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถเสนอตามขั้นตอนและได้รับการอนุมัติในเดือน พ.ค.ปีหน้า

อย่างไรก็ตามดังนั้นโครงการลงทุนที่ต้องจัดใช้งบประมาณประจำปี 2567 โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะยังไม่สามารถเดินหน้าได้ แต่อย่างไรก็ดี กระทรวงฯ ได้วางแผนเร่งรัดการดำเนินงาน โดยสั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) หากงบประมาณผ่านการอนุมัติจะต้องสามารถเริ่มกระบวนการประมูลและลงนามสัญญาได้โดยเร็ว

“ปีหน้ามีโครงการลงทุนสำคัญของกระทรวงฯ 72 โครงการที่จะต้องเร่งรัดการลงทุน โดยแม้ว่างบประมาณปี 2567 จะดีเลย์ออกไป แต่กระทรวงฯ ได้กำชับทุกหน่วยงานให้เตรียมพร้อมประมูล และจัดซื้อจัดจ้าง หากงบประมาณได้รับจัดสรรแล้ว จะต้องเดินหน้าทันที เพื่อเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจจากการลงทุนภาครัฐ เพราะปัจจุบันเชื่อว่าเอกชนก็พร้อมประมูลงาน”นายสุริยะ กล่าว

นายสุริยะ กล่าวด้วยว่า แม้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 จะยังไม่สามารถผลักดันการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานได้จากการจัดใช้งบประมาณที่ล่าช้า แต่กระทรวงฯ ยังคงมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อมจากการจัดใช้เงินลงทุนในรูปแบบอื่นๆ อาทิ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) และเงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFFIF) ซึ่งขณะนี้มีโครงการที่พร้อมเปิดประกวดราคา ได้แก่ โครงการทางพิเศษฉลองรัช ช่วงจตุโชติ-ลำลูกกา ระยะทาง 16.2 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 2.4 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ในปี 2567 กระทรวงฯ จะยังเดินหน้าโปรโมทดึงเอกชนร่วมลงทุนในโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน หรือ แลนด์บริดจ์ เนื่องจากการจัดโรดโชว์ที่ผ่านมาทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยในปีหน้ากระทรวงฯ จะเดินทางไปโรดโชว์แก่นักลงทุนต่างชาติ อาทิ จีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ และหลายประเทศในตะวันออกกลาง ก่อนเปิดประมูลในปี 2568

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุริยะ' ย้ำที่เขากระโดงเป็นของรฟท. ส่วนที่ดินอัลไพน์ ยันไม่ผิดกฎหมาย

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าภายหลังการรถไฟ

'สุริยะ' ลั่น รฟท.ไม่ยอมเสียที่ดินให้ใคร ขอให้จบในชั้นเจ้าหน้าที่ อย่าขยายประเด็นการเมือง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์กรณีกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)และกรมที่ดิน

'สุริยะ' ย้ำศึกษาเก็บภาษีรถติด​ ขอเวลา​ 6 เดือน - 1 ปี

“สุริยะ" ชี้​ ยังเป็นแค่ผลการศึกษาเก็บภาษีรถติด​ ขอเวลา​ 6 เดือน-1 ปี​ ตั้งธงเก็บแค่รถเก๋ง 40-50 ต่อวัน​ เฉพาะเส้นมีรถไฟฟ้า ส่วน​รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย​ต้องทำให้เสร็จก่อน​ลั่น ปีหน้า​ เกิดแน่​

'สุริยะ' เดินหน้าแก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม​ 3 สนามบิน​ อ้างต่างฝ่ายต่างผิดสัญญา​

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ​ จึงรุ่งเรืองกิจ​ รองนายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม​ กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขสัญญารถ

จับตา 22 ต.ค.นี้ชง ครม. เคาะตั้งประธานบอร์ด รฟม.

“คมนาคม” ชง ครม. เคาะตั้ง “มนตรี เดชาสกุลสม” นั่งเก้าอี้ประธานบอร์ด รฟม. พร้อมกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 4 ราย เดินหน้าต่ออายุมาตรการรถไฟฟ้า 20 บาท ขณะที่ “รฟม.” พร้อมชงบอร์ดชุดใหม่อนุมัติขยายสีม่วง 20 บาทต่ออีก 1 ปีทันที