'พิมพ์ภัทรา’ สั่งทุกหน่วยงานกระทรวงอุตฯหามาตรการลดฝุ่นพิษ

พิมพ์ภัทรา’ สั่งทุกหน่วยงานกระทรวงอุตฯ เร่งหามาตรการลดฝุ่นพิษ หวังแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ขอเคพีไอชี้วัดที่ชัดเจน พร้อมจ่อรื้อกฎหมาย – หาดอกเบี้ยต่ำช่วยสนับสนุน

18 ธ.ค. 2566 – น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งหามาตรการเพิ่มในการลดฝุ่นพิษ PM 2.5 ให้มีความเข้มข้นขึ้น มีดัชนีชี้วัดตรวจสอบชัดเจน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวอย่างยั่งยืน จะมีทั้งมาตรการส่งเสริมทั้งด้านการเงิน เช่น อัตราดอกเบี้ยพิเศษ องค์ความรู้ มาตรฐานต่าง ๆ รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความเข้มงวดขึ้น ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ส่วนมาตรการระยะสั้น ขณะนี้หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เดินหน้ามาตรการอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้มีการดำเนินงาน อาทิ เดินหน้าสนับสนุนแก้ปัญหาการเผาอ้อย มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ ให้ตัดอ้อยสด ล่าสุด ครม.ได้อนุมัติช่วยค่าตัดอ้อยสด 120 บาทต่อตัน ให้ชาวไร่อ้อย 1.4 แสนราย เริ่มจ่ายประมาณเดือนม.ค. 67 และต่อไปอยู่ระหว่างปรับปรุงมาตรการออกระเบียบรับซื้ออ้อยไฟไหม้ให้เข้มงวดมากขึ้น ขณะที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เช่น ออกมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นพีเอ็ม2.5 เตรียมบังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 วันที่ 1 ม.ค. 67 เพื่อควบคุมสารมลพิษจากรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล และรถยนต์ขนาดใหญ่ ได้แก่ รถกระบะ รถบัส และรถบรรทุก ทั้งที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและดีเซล , ออกมาตรฐานเครื่องฟอกอากาศ มอก.60335 เล่ม 2 (65)-2564 3. และมาตรฐานหน้ากากอนามัย รวมทั้งอยู่ระหว่างพิจารณามาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

ส่วนกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) ได้เข้มงวดกรณีตรวจพบโรงงานปล่อยเกินมาตรฐาน จะถูกออกคำสั่งหยุดปรับปรุงแก้ไข และส่งดำเนินการทางกฎหมายต่อไป รวมทั้งได้พัฒนาระบบเฝ้าระวังเตือนภัยมลพิษทางอากาศระยะไกล และได้ปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล รวมทั้งตรวจด้านฝุ่นละอองโรงงานเข้มข้นที่มีกระบวนการเผาไหม้ โรงงานที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ โรงงานหลอมเหล็กหรือโลหะ โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ และโรงงานผลิตแอสฟัลติก ที่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

“ ได้ให้กรอ.นำรถตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อนที่ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในบรรยากาศ เลือกจุดที่มีอุตสาหกรรมหนาแน่น เช่น นิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม เขตประกอบการให้มากขึ้น และต่อเนื่อง และที่ผ่านมาโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (เซมส์) ซึ่งข้อมูลจากการตรวจวัดนี้จะถูกส่งมาแสดงผลผ่านระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยมลพิษระยะไกลบนเว็บไซต์ของ กรอ. และบนมือถือแอลพริเคชั่น เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามผลการควบคุมการระบายมลพิษอากาศของโรงงานได้ตลอดเวลา”น.ส.พิมพ์ภัทรา กล่าว

ขณะที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่(กพร.) ให้เข้มงวดตรวจสอบและเฝ้าระวังการประกอบการเหมืองแร่ โรงแต่ง แร่และโรงประกอบโลหกรรม ให้ปฏิบัติตามมาตรการต่างๆอย่างถูกต้องและปลอดภัยแล้ว ยังให้คำปรึกษา และแนะนำ เพื่อให้สถานประกอบการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพ ไม่ให้การประกอบการสร้างความเดือดร้อนด้านสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงให้หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมแก้ปัญหาฝุ่นพีเอ็ม 2.5 อีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เตือน 10 พื้นที่ใน กทม. พบค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เมื่อเวลา 07.00 น. พบค่าฝุ่นในพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพฯ อยู่ในช่วง 23.1 - 50.3 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)

คนกรุงเทพฯ สำลักฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน อยู่ในระดับสีส้ม 63 พื้นที่

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลา 07.00 น. : ตรวจวัดได้ 34.3-74.3 มคก./ลบ.ม. พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 63 พื้นที่ คือ

'พิพัฒน์' ปัด ภท.-รทสช. ฮั้วกันหนุน 'ถาวร' ชิงนายก อบจ.สงขลา

'พิพัฒน์' ปัดข่าว ภท.-รทสช. จับมือส่ง 'ถาวร' ชิง นายก อบจ.สงขลา ยันไม่เคยคุย 'พิมพ์ภัทรา' หลังลือจ่อย้ายซบพรรคนํ้าเงิน รับภูมิใจไทยอยากครองภาคใต้เพิ่ม แต่ไม่ใช้วิธีฮั้วรวมกันตี