‘เซ็นทรัล ลาดพร้าว’จ่ายค่าเช่าที่ดินการรถไฟฯ บริเวณที่ดินสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ปี 2567 กว่า 1,387 ล้านบาท ประจำปี 2567 เผยสัญญาเหลืออายุ 5 ปี หมดปี 2571
17 ธ.ค.2566-นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)เป็นผู้แทนการรถไฟฯ รับเช็คค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินประจำปี 2567 จากนายปัณฑิต มงคลกุล ประธานกรรมการบริหารสายบัญชีการเงิน นายสุภรัฐ จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และนายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส เป็นผู้แทนจากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด
ทั้งนี้ ซึ่งเป็นค่าใช้ประโยชน์จากการใช้พื้นที่ของการรถไฟฯ ในรอบระยะเวลา 1 ปี (วันที่ 19 ธันวาคม 2566 – 18 ธันวาคม 2567) เป็นเงิน 1,387,603,000 บาท ณ ห้องประชุมคณะกรรมการรถไฟฯ ชั้น 2 ตึกบัญชาการรถไฟ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การได้รับชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทนครั้งนี้ เป็นไปตามที่การรถไฟฯ ได้ทำสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน จำนวนพื้นที่ 47.22 ไร่ ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับ บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2551 ในกรอบระยะเวลาการใช้ประโยชน์ 20 ปี (วันที่ 19 ธันวาคม 2551 – 18 ธันวาคม 2571)
ทั้งนี้ มีผลตอบแทนรวมตลอดอายุสัญญาเป็นเงิน 21,298,833,000 บาท (สองหมื่นหนึ่งพันสองร้อยเก้าสิบแปดล้านแปดแสนสามหมื่นสามพันบาทถ้วน) แบ่งออกเป็นรายได้จากค่าเช่ารายปี 18,687,730,000 บาท และค่าผลประโยชน์ตอบแทนการได้สิทธิ์ 2,611,103,000 บาท โดยกำหนดชำระค่าผลประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ภายในวันที่ 19 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งจะต้องชำระให้แก่การรถไฟฯ เป็นรายปี รวมทั้งหมด 20 งวด ตลอดระยะเวลาสัญญา
สำหรับการชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทน ตามสัญญาให้สิทธิ์ใช้ประโยชน์ศูนย์การค้า บริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ประจำปี 2567 ครั้งนี้ เข้าสู่ปีที่ 16 ที่การรถไฟฯ จะได้รับจากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์ พัฒนา จำกัด โดยคิดเป็นจำนวนเงิน 1,387,603,000 บาท (หนึ่งพันสามร้อยแปดสิบเจ็ดล้านหกแสนสามพันบาทถ้วน) ส่งผลให้นับตั้งแต่เริ่มสัญญาจนถึงปัจจุบัน ระหว่างปี 2551-2567 การรถไฟฯ ได้รับชำระค่าผลประโยชน์แล้วทั้งสิ้น 13,724,144,000 บาท (หนึ่งหมื่นสามพันเจ็ดร้อยยี่สิบสี่ล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นสี่พันบาทถ้วน)
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา การรถไฟฯ ได้วางกรอบแนวทางการดำเนินงาน และการบริหารที่ดินของการรถไฟฯ ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ Core Business เป็นพื้นที่ย่านสถานี ที่ทำการ เขตทางรถไฟ และพื้นที่Non-Core Business ที่สามารถนำไปทำประโยชน์ได้ โดยในอนาคตการรถไฟฯ จะดำเนินการตามแผนงานที่จะนำพื้นที่ Non-Core Business มาพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะดำเนินการออกจัดประโยชน์ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับการรถไฟฯ ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บอร์ด รฟท. ตีกลับ PPP เดินรถสินค้าหนองคาย-แหลมฉบัง
บอร์ด รฟท. สั่งทบทาวนโครงการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนเดินรถขนส่งสินค้า เส้นทาง “หนองคาย-แหลมฉบัง” ระยะทาง 600 กม. มูลค่า 2.59 หมื่นล้าน เร่งชงบอร์ดเคาะอีกครั้ง เม.ย.นี้ คาดเสนอ ครม.ไฟเขียวโครงการฯ ปี 68 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการปี 71
บอร์ด รฟท. เร่งเครื่องไฮสปีด ไทย-จีน เฟส 1 วงเงิน 1.03 หมื่นล้าน
บอร์ด รฟท. ไฟเขียวจ้าง “บุญชัยพาณิชย์(1979)” เดินเครื่องรถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟส 1 สัญญา 4-5 “บ้านโพ-พระแก้ว” วงเงิน1.03 หมื่นล้าน ลุยส่งร่างสัญญาให้อัยการฯ เช็กอีกรอบก่อนลงนามเอกชน ด้านรถไฟไฮสปีดสามสนามบิน คาดออก NTP ก่อสร้าง มิ.ย.นี้
ยูโอบี จับมือเซ็นทรัล จัดแคมเปญ “UOB Make My Day”
นางสาวสุพรทิพย์ พงศาชำนาญกิจ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายธุรกิจบัตรเครดิต ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมกับนางสาวจิรวรรณ วัฒนสมบัติ