การรถไฟฯแจง เดินรถ 118 ขบวนเข้าหัวลำโพงตามเดิม ย้ำลดบทบาทหัวลำโพงไม่ทุบไม่รื้อ เดินหน้าดูข้อกฎหมายเอาผิดคนให้ข้อมูลเท็จ
22 ธ.ค. 2564 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่าตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.64 จะยังไม่ให้บริการรถไฟทางไกลเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เหมือนเดิม ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนไปใช้สถานีกลางบางซื่อแต่อย่างใด โดยปัจจุบัน มีการเดินรถไฟเชิงพาณิชย์ 40 ขบวน รถไฟท่องเที่ยว 6 ขบวน ซึ่งลดลงจากช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ที่มีการเดินรถไฟเชิงพาณิชย์ 84 ขบวน มีรถไฟเชิงรถไฟเชิงสังคม 40 ขบวน ซึ่งลดลงจากช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ที่มี 52 ขบวน โดยเส้นทางเดินรถและการจอดรับส่งผู้โดยสาร ยังเป็นไปตามเดิมทุกอย่าง
อย่างไรก็ตามซึ่งการชะลอการให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อออกไป เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้เดินทางตามเดิมในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 และได้มีเวลาปรับตัวกับบริการใหม่ และเพื่อให้มีการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น ส่วนการปรับเปลี่ยนการไปใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นต้นทาง ปลายทาง นั้น รฟท.จะต้องทำการบ้านต่อ คือ จัดทำเช็กลิสต์ เพื่อกำหนดแนวทางในการเปลี่ยนถ่ายการเดินรถไปสถานีกลางบางซื่อ
สำหรับรถไฟทางไกลขึ้นไปใช้บนโครงสร้างทางยกระดับสายสีแดง ซึ่งจะกระทบกับการให้บริการเดิม ที่จะไม่หยุดรับส่ง สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ แนวทางที่เหมาะสมและสมดุล และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน และให้สามารถใช้สถานีกลางบางซื่อและสถานีหัวลำโพงควบคู่กันไปอย่างเหมาะสม เพราะสถานีบางซื่อมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 40 ล้านบาท ส่วนหัวลำโพงมี ประมาณ 10 ล้านบาท การมีสถานีใหญ่ 2 แห่ง เป็นภาระค่าใช้จ่ายของรฟท.อีกด้วย
สำหรับแผนการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถที่คาดว่าจะดำเนินการได้ในปี 2565 หลังจากดำเนินการสำรวจความเห็นและทำ Action Plan นั้น รถเชิงพาณิชย์ รถไฟทางไกล จะเปลี่ยนต้นทางเป็นสถานีกลางบางซื่อ 28 ขบวน (สายเหนือ 12 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ 16 ขบวน ส่วนสายใต้ 12 ขบวน จะเปลี่ยนต้นทางเป็นชุมทางบางซื่อ(เดิม) รถไฟเชิงสังคม 28 ขบวน จะเปลี่ยนต้นทางเป็นสถานีกลางบางซื่อ และมีรถไฟเชิงสังคม 22 ขบวน ที่ยังคงเข้าสถานีหัวลำโพง (สายเหนือ 4 ขบวน สายอีสาน 2 ขบวน สายใต้ 2 ขบวน สายตะวันออก 14 ขบวน)
“ตอนนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยโจทย์ของ รฟท. จะต้องหาจุดที่เหมาะสมที่สุด และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจริง ซึ่ง รฟท.ต้องทำการบ้านต่อ หลังจากที่ผ่านมาคิดว่าตกผลึกแล้ว แต่ในปัจจุบันบริบทสังคมเปลี่ยนไป ใครจะคิดว่าประชาชนจะเดือดร้อนขนาดนี้ จึงยังต้องเดินรถตามเดิม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่ง รฟท.จะต้องสื่อสาร และสร้างความเข้าใจให้มากขึ้น เพราะที่ผ่านมามีบางคนทำให้เข้าใจผิด และสื่อสารคลาดเคลื่อน ทั้งยังมีเจตนาเบี่ยงเบนด้วย ยืนยันว่า รฟท. จะต้องทำเพื่อประชาชน และให้บริการสาธารณูปโภค แต่เราถูกคาดหวังให้ทำกำไร” นายนิรุฒ กล่าว
นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า รฟท. ต้องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทุกช่องทาง และครอบคลุมทุกมิติ ทั้งผู้ใช้บริการรถไฟ และผู้ใช้รถใช้ถนนว่า มีความคิดเห็นอย่างไร อีกทั้งมีข้อเสนอแนะอะไรบ้าง รวมถึงกระทรวงคมนาคม และรัฐบาล ทั้งนี้ หากประชาชนส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นอย่างไร รฟท. ก็จะดำเยินการตามนั้น บนพื้นฐานรอบด้่น และรอบคอบมากที่สุด ซึ่งจะพิจารณาความเห็นของประชาชนเป็นรายบุคคล ที่มองว่า เป็นเสียงที่บริสุทธิ์ ไม่ได้มีเจตนาอื่น โดยยืนยันว่า จะดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนสูงสุด
สำหรับการพัฒนาสถานีหัวลำโพงว่า ยืนยันไม่มีการทุบหรือรื้อ เพราะเป็นสถานีประวัติศาสตร์ทรงคุณค่า แต่จะหาแนวทางพัฒนาอย่างไรให้ยังคงเป็นสถานีรถไฟมีชีวิต ไม่สามารถปล่อยทิ้งร้างได้ ต้องอนุรักษ์และพัฒนาแต่ถูกมองว่า ด้อยค่าสถานี แต่ตนมองว่า การไม่ทำอะไรเลยเป็นการด้อยค่ามากกว่า โดยหลังจากมีสถานีกลางบางซื่อ บทบาทหัวลำโพงจะไม่เหมือนเดิม ซึ่งจากที่ได้มอบหมายให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ศึกษาเมื่อปี 9 พ.ค. 2554- 5ธ.ค. 2554 ก็มีแบบเป็นตึกสูงเช่นกัน แต่ยังถือเป็นความเห็น ต่อมา ทางสาถบันอาศรมศิลป์ ได้ช่วยศึกษาก็เป็นอีกความเห็น วันนี้ รฟท.มอบหมายบริษัทลูก คือ เอสอาร์ทีแอสเสท จำกัด (SRAT) ศึกษา ก็เป็นอีกความเห็นหนึ่ง ซึ่งยังไม่มีการตกลง ว่าจะใช้แบบนี้
นายนิรุฒ กล่าวว่า กรณีที่บอกว่าจะเอาที่ไปให้เจ้าสัว เป็นจิตนาการใครไม่ทราบ แต่ถือเป็นความเท็จที่เอามาบอกประชาชน ทำให้รฟท.เสียหายเสื่อเสียชื่อเสียง ประชาชนและประเทศก็เสียหาย อยากเรียกร้องว่าอย่าทำร้ายรถไฟไปมากกว่านี้เลย เราเดินตามสิ่งที่ควรเป็น เดินตามกติกาปกติ อย่าจิตนาการ ผู้บริหารรถไฟ ผู้บริหารรัฐบาลมีวัตถุประสงค์แบบนี้ อย่าพูดแบบดักคอกัน ซึ่งรฟท.จะดูบริบทว่าการที่มีการพูดกันแบบนั้นเป็นความเท็จอย่างไร และเข้าข่ายประเด็นทางกกฎหมายอย่างไร จะพิจารณาก่อน แต่ยืนยันว่า จะไม่ให้ใครมาทำร้าย รฟท. เพราะวันนี้ หัวลำโพงยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ ต้องฟังความเห็นก่อนว่าอยากเห็นหัวลำโพงเป็นอย่างไร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'กรมที่ดิน' โต้ยิบการรถไฟฯ ชี้คำพิพากษาศาลฎีกาผูกพัน 35 ราย ไม่ได้เหมารวม 5,083 ไร่
กรมที่ดินออกแถลงการณ์ว่าตามที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง ชี้แจงข้อเท็จจริงถึงการดำเนินการของ การรถไฟฯ เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง
'วัชระ' ไล่บี้ ป.ป.ช. เร่งสอบ 2 กรณี ทุจริตรัฐสภาใหม่-กรมที่ดินขัดคำสั่งศาลปมเขากระโดง
นายวัชระ เพชรทอง เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวเรื่องอธิบดีกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ไม่เพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ
เปิดข้อมูลใหม่ปม 'ปมกระโดง' พิรุธแผนที่การรถไฟฯรุกสิทธิชาวบ้าน
ปมพิพาทพื้นที่บริเวณเขากระโดง กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งเมื่อ “ทรงศักดิ์ ทองศรี” รมช.มหาดไทย (มท.2) และ “กรมที่ดิน” ลงพื้นรับฟังปัญหาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชน และหน่วยราชการ ในพื้นที่เขากระโดงใน จังหวัดบุรีรัมย์
อธิบดีที่ดิน ชี้เพิกถอน 'เขากระโดง' หลักฐานต้องชัด 100% ต่าง 'คดีอัลไพน์' ทำนิติกรรมไม่ถูกต้อง
นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง บริเวณที่ดินเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการอ้างสิทธิในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท.
'ทรงศักดิ์' ซัดพวกน่ารังเกียจใช้การเมืองละเมิดสิทธิประชาชน ปมที่ดินเขากระโดง
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย กล่าวภายหลังการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจนที่ประชาชนอาจสับสน ซึ่งกรมที่ดินได้ดำเนินตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด
หัวลำโพงคึกคัก! 'อิ๊งค์' นำทีม พท. สัมมนาหัวหิน ตื่นเต้นขึ้นรถไฟรอบ 20 ปี
’แพทองธาร‘ นำทีม ’เพื่อไทย’ ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษ มุ่งหน้าสัมมนาหัวหิน ‘เศรษฐา-โอ๊ค-เอม’ ร่วมด้วย ตื่นเต้นนั่งรถไฟรอบ 20 ปี