14 ธ.ค. 2566 – กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดพิธีร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การแก้ปัญหาการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวโดยใช้คนไทยเป็นตัวแทนอำพราง (NOMINEE) ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือกันของ 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการท่องเที่ยว สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยได้รับเกียรติจาก นายกิตติ เชาวน์ดี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานและสักขีพยาน ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ
นายกิตติ เชาวน์ดี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอันมาก ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก แต่ท่ามกลางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ก็เป็นจุดดึงดูดให้บุคคลที่ไม่ใช่คนไทย เข้ามาแอบแฝงประกอบธุรกิจท่องเที่ยวโดยใช้คนไทยเป็นตัวแทนอำพราง หรือเรียกว่า นอมินี (NOMINEE) ซึ่งปัจจุบันในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ยังพบการกระทำที่ผิดกฎหมายของผู้ประกอบการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ มีการแย่งชิงนักท่องเที่ยวระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันเอง เกิดกับดักการตั้งราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องและไม่สามารถดำเนินการตามที่ตกลงไว้กับนักท่องเที่ยวได้ ซึ่งเป็นต้นเหตุของสภาพปัญหาต่างๆ ตามมา เนื่องจากผู้ประกอบการต้องหารายได้จากทางอื่นมาทดแทน เช่น ปัญหาการบังคับให้ซื้อสินค้าที่ระลึก หรือบังคับให้จำเป็นต้องซื้อรายการนำเที่ยวเสริม (Optional Tour) ที่ราคาสูงเกินจริง และปัญหาอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นอย่างมาก
ด้าน นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมการท่องเที่ยว กล่าวถึงขอบเขตความร่วมมือของกรมการท่องเที่ยวในครั้งนี้ว่า กรมการท่องเที่ยวจะดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมแก้ไขปัญหาการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวโดยใช้คนไทยเป็นตัวแทนอำพราง (NOMINEE) ใช้ชื่อย่อว่า “ศปต.” ซึ่งตั้งอยู่ที่กรมการท่องเที่ยว และจะจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน ภายใต้กรอบความร่วมมือ 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการจดทะเบียนและการอนุญาตประกอบธุรกิจ 2. ด้านการประสานแลกเปลี่ยนข้อมูล 3. ด้านการกำกับดูแลและป้องปราม และ 4. ด้านการส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน สำหรับแนวทางการตรวจสอบธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่เข้าข่ายมีนอมินี ในเบื้องต้นจะเน้นการตรวจสอบบริษัทที่มีความเสี่ยง เช่น มีผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติ ซึ่งต้องตรวจสอบว่าถือหุ้นไม่เกินสัดส่วนที่กำหนด 49.99% หรือไม่ ถ้าไม่เกินต้องดูต่อไปอีกว่ามีอำนาจการบริหารจัดการภายในบริษัท และมีสิทธิในการออกเสียงมากกว่าผู้ถือหุ้นคนไทยที่มีสัดส่วนการถือหุ้น 51% หรือไม่ ถ้ามีมากกว่าก็อาจเข้าข่ายเป็นนอมินี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ฝากถาม ‘บิ๊กอ้วน’ ถ้าเรือท่องเที่ยวเขมร ชูแผนที่MOU จอดเกาะกูดเอาคนมาเล่นน้ำ จะให้ทหารเรือปฏิบัติอย่างไร
ฝากทหารเรือถาม รมต.กลาโหม กรณีถ้าเรือท่องเที่ยวปักธงเขมร ชูแผนที่ MOU4 ที่มีลายเซ็นฝ่ายไทยเซ็นกำกับรับรอง
เปิดเรื่องลับทำไมยุค 3 ป. เจรจากับกัมพูชาตามกรอบ MOU 44 เพียงครั้งเดียวแล้วเลิกคุย
นายไทกร พลสุวรรณ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง แกนนำกลุ่มอีสานกู้ชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ เรื่องลับจาก 3 ป. มีเนื้อหาดังนี้
แต่งตั้ง 'คิปโชเก้' นักวิ่งระดับโลก เป็นทูตท่องเที่ยว ประเดิมงานวิ่งมาราธอนแบงค็อก 2024
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เร่งดันไทยให้เป็น Top of Mind ในสนามมาราธอนโลก ประเดิมด้วยงาน Amazing Thailand Marathon Bangkok 2024
‘พิชัย’ ลงนาม MOU ก้าวสำคัญทางการค้า “ไทยกับสหราชอาณาจักร” ยกระดับการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าในอุตสาหกรรม 20 สาขา พร้อมเดินหน้าเจรจาจัดทำ FTA ร่วมกัน
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 เวลา 17.00 น. ที่นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้พบหารือกับนายดักลาส อเล็กซานเดอร์ (The Rt Hon Douglas Alexander) รัฐมนตรีการค้าของสหราชอาณาจักร