กรรมการไตรภาคี ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง สวน 'เศรษฐา' แนะรัฐบาลแก้ปัญหาของแพงดีกว่า

11 ธ.ค.2566- นายอรรถยุทธ ลียะวณิช คณะกรรมการค่าจ้าง ฝ่ายนายจ้าง ระบุว่า ในเมื่อคณะกรรมการไตรภาคี ที่ประกอบไปด้วยฝ่ายลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ มีมติเป็นเอกฉันท์ ตกลงกันไปแล้วว่า ภาพรวมทั่วประเทศ ได้ขึ้นค่าจ้างอีก 2-16 บาท ทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ ที่จะใช้ในปี 2567 จะอยู่ที่วันละ 330- 370 บาท แตกต่างกันเป็นรายพื้นที่เศรษฐกิจ โดยภาพรวมทั่วประเทศ ได้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2.37% สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง กันยายน 2566 อยู่ที่ 2.04%

ขณะที่ นายวีรสุข แก้วบุญปัน คณะกรรมการค่าจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ระบุว่า ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ ถึงแม้ลูกจ้าง จะไม่พอใจ ต่อให้ได้ขึ้นไปถึงวันละ 400 บาท ก็ยังไม่พอกิน พอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ที่ตกลงกันได้ในอัตรา 330-370 บาท เป็นจุดสมดุลเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ ที่นายจ้างจ่ายไหว ไม่เดือดร้อนกับการประกอบกิจการ ขณะที่ อัตราใหม่ ถึงจะได้ขึ้นน้อย แต่ลูกจ้างก็พออยู่ได้ จึงไม่ได้เรียกร้องค่าจ้างที่สูงเกินไป และประเด็นสำคัญ เพื่อรักษาภาวะการจ้างงานให้คงอยู่ ให้แรงงานมีงานทำ มีรายได้ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด พร้อมเสนอให้ภาครัฐ ควบคุมราคาสินค้า แก้ปัญหาข้าวของแพง แก้ไขปัญหาปากท้องให้เป็นรูปธรรม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แอคชั่นทันที! นายกฯมาเอง ลงพื้นที่ห้วยขวาง สั่งสอบป้ายโฆษณาขายพาสปอร์ต

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่สน.ห้วยขวาง ติดตามสอบถามข้องเท็จถึงกรณีที่พบมีการติดแผ่นป้ายโฆษณาซื้อขายหนังสือเดินทางและพาสปอร์ตที่แยกห้วยขวาง พบว่ามีการขึ้นป้ายดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2567 เนื้อหาเป็นข้อความเกี่ยวกับการรับจ้างทำหนังสือเดินทาง

'เศรษฐา' อย่าสับสน! โพลวัดผลงาน ไม่ใช่เรตติ้งนายกฯ

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าสับสน !!! ระหว่างผลงาน กับการเลือกนายกฯ คนต่อไป

โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ แก่ 'เศรษฐา ทวีสิน'

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยา