’สุริยะ’ ตั้งกรรมการฯเร่งเมกะโปรเจกต์ 72 โครงการ ชี้ปี 67 เตรียมเปิดประมูลกว่า 5.7 แสนล้าน

’สุริยะ’ ตั้งกรรมการฯ เร่งเมกะโปรเจกต์ ‘บก-น้ำ-ราง-อากาศ’ รวม 72 โครงการ สั่งทบทวนแผนสร้างมอเตอร์เวย์M82 ช่วงบ้านแพ้ว-ปากท่อ คาดเปิดใช้ในปี 74 เปิดประมูล 14 โครงการปี 67 มูลค่ากว่า 5.7 แสนล้าน ลุยสร้างรถไฟทางคู่ขอนแก่น-หนองคาย เดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีส้ม-สายสีแดงต่อขยาย-ทางด่วนภูเก็ต-ไฮสปีดไทยจีน เฟส 2

3 ธ.ค. 2566 – นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินโครงการสำคัญ ว่าได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน และติดตามผลการดำเนินงานโครงการสำคัญตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเพิ่มเติม ซึ่งมีตนเป็นประธานคณะกรรมการฯ จากคำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ 1080/2566 ลงวันที่ 16 ต.ค. 2566 โดยแต่งตั้งนางมนพร เจริญศรีและนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เป็นรองประธานคณะกรรมการฯ พร้อมด้วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, โฆษกกระทรวงคมนาคม และผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม 1 เป็นกรรมการ

ทั้งนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนดำเนินการเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งติดตาม และตรวจสอบความคืบหน้าของแต่ละโครงการว่า เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการชุดดังกล่าว จะมีการประชุมในทุกเดือน เพื่อติดตามข้อสั่งการให้เป็นไปตามแผน

สำหรับโครงการสำคัญตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม รวม 72 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2566-2570 แบ่งเป็น โครงการด้านคมนาคมขนส่งที่ความสำคัญเชิงพื้นที่ 13 โครงการ, ด้านคมนาคมขนส่งทางบก 29 โครงการ, ด้านคมนาคมขนส่งทางราง 22 โครงการ, ด้านคมนาคมขนส่งทางอากาศ 4 โครงการ, ด้านคมนาคมขนส่งทางน้ำ 4 โครงการ
ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่ พื้นที่จ.ภูเก็ต เช่น การเพิ่มปริมาณการรองรับผู้โดยสาร (Capacity) สนามบินกระบี่ เพื่อรองรับผู้โดยสารจาก 4 ล้านคนเป็น 8 ล้านคนต่อปี, การพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ 2 การก่อสร้างท่าอากาศยานภูเก็ตแห่งที่ 2 (ท่าอากาศยานพังงา) และการสร้างทางพิเศษ สายกระทู้ – ป่าตอง เป็นต้น ขณะที่โครงการพัฒนาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่เช่น การพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ และพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่แห่งที่ 2 และระบบขนส่งมวลชนจ.เชียงใหม่ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในส่วนโครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งทางบก เช่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(Motorway) สายบางปะอิน – นครราชสีมา (M6), มอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี (M81) ส่วนต่อขยายเชื่อมสนามบินอู่ตะเภา (M7) การจัดหารถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (EV) ของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และโครงการแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษ ระยะที่ 1 หรือโครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 (งามวงศ์วาน-พระราม 9) (Double Deck) รวมทั้งการเร่งรัดเพิ่มโครงการทางยกระดับ M82 ช่วงบ้านแพ้ว-ปากท่อ ระยะทาง 47 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาด้านการเวนคืนที่ดินของประชาชน คาดว่า การก่อสร้างจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 2574

ทั้งนี้ เตรียมเปิดใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 6 (M6) สายบางปะอิน-นครราชสีมา ช่วงอ.ปากช่อง -อ.สีคิ้ว-อ.ขามทะเลสอ-ทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา ระยะทาง 77.493 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่องจราจร เริ่มเปิดบริการตั้งแต่เวลา 00.01 ของวันที่ 28 ธ.ค.66 เป็นต้นไป และเปิดตลอดไป ไม่เฉพาะวันหยนุดเทศกาลปีใหม่ ส่วนเปิดบริการโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 81 (M81) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ช่วงตั้งแต่ตอน 13 บริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางด่านนครปฐมฝั่งตะวันตก จนถึงตอน 23 บริเวณด่านกาญจนบุรี ระยะทาง 50 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่อง จะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 00.01 ของวันที่ 28 ธ.ค.66 จนถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 3 ม.ค. 67 รวม 7 วัน

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ด้านโครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งทางราง เช่น โครงการรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสายโครงการตั๋วร่วม Feeder เข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วง และพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การขนส่งทางราง อีกทั้งศึกษาการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง (Feeder) เพื่อเข้าถึง Feeder จำนวน 26 เส้นทาง เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง – สีแดง (เพิ่มเติม) ผลการศึกษาใกล้แล้วเสร็จ ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จะสำรวจเส้นทางร่วมกัน คาดว่า จะสำรวจเส้นทางร่วมกันประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ธ.ค. 2566 และภายหลังประมวลเส้นทางชัดเจนแล้ว ขบ. จะพิจารณานำไปประกาศฯเพื่อเสนอเป็นเส้นทางสำหรับการให้บริการต่อไป

นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งทางอากาศ เช่น การเตรียมความพร้อมการกลับเข้า Category 1 ขององค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA), การก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานดอนเมือง, การพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 และการเตรียมความพร้อมการตรวจขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ส่วนโครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งทางน้ำ เช่น การพัฒนา Smart Pier ในแม่น้ำเจ้าพระยาโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมบัง ระยะที่ 3 และการศึกษาท่าเรือสำราญ (Cruise Terminal) เป็นต้น นอกจากนี้ ในด้านมาตรฐานความปลอดภัยระบบลิฟต์นั้น ให้ยกระดับการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยระบบลิฟต์ ระบบบันไดเลื่อนและทางเลื่อนอัตโนมัติในสถานีขนส่งผู้โดยสารและท่าอากาศยานของกระทรวงคมนาคม

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 20-21 พ.ย. 2566 กระทรวงคมนาคมเตรียมประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โดยจะมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ทั้งส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจเข้าร่วม เพื่อนำเสนอโครงการต่างๆ ของกระทรวงคมนาคมทั้ง 4 มิติ คือ ทางบก ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ เพื่อแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งนำเสนอผลงานของรัฐบาล 99 วันแรกภายหลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งนำเสนอสิ่งที่จะดำเนินการในปีต่อๆ ไป

ด้านนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ทล.ได้รับยนโยบายของกระทรวงคมนาคม โดยได้เร่งรัดโครงการทางพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 (M82) ช่วงบ้านแพ้ว-ปากท่อ ระยะทาง 47 กม. วงเงิน53,219 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้างงานโยธา งานระบบ 52,913 ล้านบาท (รวมค่าบริหารโครงการและควบคุมงาน) และค่ากรรมสิทธิ์ที่ดิน 306 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณปี 68 เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมของโครงการ คาดเริ่มก่อสร้างในปี 70 เสร็จปี 74 มีจุดเริ่มต้น จากจุดสิ้นสุดของ M82 ช่วงบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว สิ้นสุดที่ ต.วังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี รูปแบบการก่อสร้างเป็นทางยกระดับ ขนาด 6 ช่องจราจร ทั้งนี้ช่วงบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งโครงการ M82 สายบางขุนเทียน-ปากท่อ ระยะทาง 82 กม.

นอกจากนี้เร่งรัดโครงการมอเตอร์เวย์ หมายเลข 8 (M8) ระยะทาง 109 กม. วงเงิน 71,995.20 ล้านบาท แบ่งก่อสร้างเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 1.ช่วงนครปฐม-ปากท่อ ระยะทาง 61 กม. วงเงิน 43,227.16 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธา 29,156 ล้านบาทโดยจะใช้เงินกู้และงบประมาณควบคู่กัน ค่าเวนคืน 12,287.87 ล้านบาท และ ค่าก่อสร้างงานระบบ (O&M) 1,783.29 ล้านบาท

ทั้งนี้โดยมี จุดเริ่มต้นมี 2 แห่ง คือ แห่งแรก เชื่อมต่อกับ M81 บางใหญ่-กาญจนบุรี บริเวณ กม.9+855 เส้นทางที่ใช้เชื่อมรถเข้า-ออก จากโครงข่ายหลักมอเตอร์เวย์บริเวณชุมทางต่างระดับนครชัยศรี และ จุดที่สอง เชื่อมต่อ ทล.338 ถนนบรมราชนนี กม.31+419 บริเวณทางแยกต่างระดับนครชัยศรี และ จุดสิ้นสุดที่ปากท่อ กม.70+855 สามารถเชื่อมต่อ ทล.4 ถนนเพชรเกษม บริเวณ กม.125+000 บริเวณทางแยกต่างระดับปากท่อ และ เชื่อมต่อ ทล.35 ถนนพระราม 2 กม.81+500 รูปแบบเป็นมอเตอร์เวย์ ขนาด 4 ช่องจราจร

ทั้งนี้ ในปัจจุบันเตรียมเสนอ ครม. ขออนุมัติดำเนินโครงการโดยใช้แหล่งเงินกู้ก่อสร้างงานโยธาปี 67 ขณะเดียวกันเตรียมเสนออนุมัติรูปแบบการใช้เอกชนร่วมลงทุน ก่อสร้างงานระบบ O&M ในปี 67 คาดก่อสร้างปี 69 เสร็จปี 72 และ 2.ช่วงปากท่อ-ชะอำ 48 กม. วงเงิน 28,768.04 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธา 24,017.08 ล้านบาทโดยจะใช้เงินกู้และงบประมาณควบคู่กัน ค่าเวนคืน 3,807.77 ล้านบาท และ ค่าก่อสร้างงาน O&M จำนวน 943.19 ล้านบาท ทล. อยู่ระหว่างทบทวนแนวเส้นทางและผลกระทบด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ตามที่ประชาชนในพื้นที่มีข้อร้องเรียน คาดว่าจะใช้เวลาทบทวน 1 ปี หลังจากนั้นมีแผนจะสร้างปี 76 เสร็จปี 80

สำหรับโครงการสำคัญที่กระทรวงคมนาคมเร่งเปิดประมูลในปี 67 จำนวน 14 โครงการ มูลค่า 5.7 แสนล้านบาทประกอบด้วย

1.รถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 29,748 ล้านบาท ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร คาดเริ่มก่อสร้างในเดือนเมษายน 2567

2.สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี งานโยธา ฝั่งตะวันตก และงานระบบ วงเงินลงทุนประมาณ 1.4 แสนล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม 2567

3.ขยายช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 4027 ช่วง บ.พารา-บ.เมืองใหม่ ค่าก่อสร้าง 510 ล้านบาท ระยะทาง 4.55 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2567

4.ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center)ศรีราชา บน M7 ช่วงชลบุรี-พัทยา เริ่มก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2567 วงเงิน 1,615 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2567

5.Service Area บางละมุง บน M7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุดวงเงิน 766 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2567

6.ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา (M7) วงเงิน4,508 เริ่มก่อสร้างเดือนกันยายน 2567

7.ทางแยกต่างระดับที่จุดตัด ทล. 402 กับ ทล 4027 และ ทล. 4025 วงเงินกว่า 2,000 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างเดือนกันยายน 2567

8.สายสีแดงช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ เริ่มก่อสร้างเดือนกันยายน 2567 วงเงิน 6,468 ล้านบาท

9.สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา เริ่มก่อสร้างเดือนกันยายน 2567 วงเงิน 10,670 ล้านบาท

10.รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 37,527 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างเดือนกันยายน 2567

11.สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 4,694 ล้านบาท

12.ทางพิเศษ กะทู้-ป่าตอง วงเงิน 14,670 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างเดือนกันยายน 2567 13.ทางพิเศษสา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุริยะ' ย้ำที่เขากระโดงเป็นของรฟท. ส่วนที่ดินอัลไพน์ ยันไม่ผิดกฎหมาย

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าภายหลังการรถไฟ

'สุริยะ' ลั่น รฟท.ไม่ยอมเสียที่ดินให้ใคร ขอให้จบในชั้นเจ้าหน้าที่ อย่าขยายประเด็นการเมือง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์กรณีกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)และกรมที่ดิน

'สุริยะ' ย้ำศึกษาเก็บภาษีรถติด​ ขอเวลา​ 6 เดือน - 1 ปี

“สุริยะ" ชี้​ ยังเป็นแค่ผลการศึกษาเก็บภาษีรถติด​ ขอเวลา​ 6 เดือน-1 ปี​ ตั้งธงเก็บแค่รถเก๋ง 40-50 ต่อวัน​ เฉพาะเส้นมีรถไฟฟ้า ส่วน​รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย​ต้องทำให้เสร็จก่อน​ลั่น ปีหน้า​ เกิดแน่​

'สุริยะ' เดินหน้าแก้สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม​ 3 สนามบิน​ อ้างต่างฝ่ายต่างผิดสัญญา​

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ​ จึงรุ่งเรืองกิจ​ รองนายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม​ กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขสัญญารถ

จับตา 22 ต.ค.นี้ชง ครม. เคาะตั้งประธานบอร์ด รฟม.

“คมนาคม” ชง ครม. เคาะตั้ง “มนตรี เดชาสกุลสม” นั่งเก้าอี้ประธานบอร์ด รฟม. พร้อมกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 4 ราย เดินหน้าต่ออายุมาตรการรถไฟฟ้า 20 บาท ขณะที่ “รฟม.” พร้อมชงบอร์ดชุดใหม่อนุมัติขยายสีม่วง 20 บาทต่ออีก 1 ปีทันที

โอละพ่อ! 'สุริยะ' ยืนยัน​เพื่อไทยไม่ได้สนับสนุน 'วัฒนา​ ช่างเหลา' ลงชิง อบจ.ขอนแก่น

ที่ทำเนียบ​ นายสุริยะ​ จึง​รุ่งเรือง​กิจ​ รองนายก​รัฐมนตรี​และ​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​คมนาคม​ ในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย​ กล่าวถึง​กร