‘สุรพงษ์’ ลงพื้นที่ใช้บัตร EMV คิดค่าโดยสารเดินทางเชื่อมต่อ รถไฟฟ้า ‘สายสีแดง-สีม่วง’ราคาสูงสุดเพียง 20 บาท ย้ำช่วยลดภาระค่าครองชีพในการเดินทางแก่ประชาชน ด้าน ‘รฟม.’ชี้พก EMV ใบเดียว ใช้บริการรถไฟฟ้าจ่ายค่าแรกเข้าครั้งเดียว
30 พ.ย.2566-นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่สถานีบางซ่อนจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ว่าตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ได้มีมติอนุมัติให้กระทรวงคมนาคม ดำเนินมาตรการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางแก่ประชาชน ซึ่งในระยะแรกได้เริ่มดำเนินการในส่วนของรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วง สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – สถานีรังสิต และ ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์–สถานีตลิ่งชัน และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม หรือ MRT สายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่ – เตาปูน สูงสุดสายละ 20 บาท
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า วันนี้ 30 พ.ย.นี้ ถือเป็นวันแรกที่เริ่มคิดค่าโดยสารกับผู้ที่เดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่สถานีบางซ่อน และชำระค่าโดยสารผ่านทางบัตร EMV (Europay, MasterCard, VISA) หรือบัตรเครดิต และบัตรเดบิตที่เข้าร่วมในอัตรารวมกันสูงสุดไม่เกิน 20 บาทต่อเที่ยว เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับพี่น้องประชาชน
อย่างไส่วนรก็ตามส่วนกรณีที่มีการระบุว่ามาตรการรถไฟฟ้า 20 บาท ทำให้สายสีแดง และสายสีม่วงขาดทุนนั้น มองว่าการบริการสาธารณะเป้าหมายไม่ใช่กำไรอยู่แล้ว โดยกำไรมองได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งทางตรงดูจากผลประกอบการ แต่ทางอ้อม จะได้กำไรทางด้านเศรษฐกิจ ประชาชนลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และนำเงินไปใช้จ่ายในด้านอื่นได้มากขึ้น ขณะเดียวกันฝากถึงประชาชนผู้ใช้บริการทุกคน หากใช้บริการแล้วติดขัดในเรื่องใดสามารถแจ้งมาได้ที่ รฟม. และ รฟท. ยินดีรับฟัง และพร้อมปรับปรุง เพราะรัฐบาลมีนโยบาย และเป้าหมายหลักคือ ช่วยประชาชนลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ”นาย สุรพงษ์ กล่าว
สำหรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง กับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จะต้องเปลี่ยนสถานีที่สถานีบางซ่อน เท่านั้น ผู้โดยสารที่เดินทางข้ามสายระหว่างระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง กับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จะต้องเดินทางข้ามระบบภายใน 30 นาที และใช้บัตรใบเดียวกัน หากเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด จะคิดตามอัตราค่าโดยสารสูงสุดคือ 42 บาท
ทั้งนี้ผู้โดยสารควรมีเงินสำรองภายในบัตรไม่ต่ำกว่า 40 บาท เพื่อรองรับการเรียกเก็บอัตราค่าโดยสารผ่านบัตรEMV จากทางธนาคาร โดยหากการเดินทางเข้าเงื่อนไขตามนโยบายอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 20 บาท ธนาคารจะดำเนินการ Cash Back กลับเข้าบัตรให้ภายใน 3 วัน
“การดำเนินนโยบายดังกล่าวจะช่วยลดภาระค่าครองชีพในการเดินทางแก่ประชาชนได้เป็นอย่างมาก จากเดิมจะเสียค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดถึงสายละ 42 บาท อีกทั้งต้องเสียค่าแรกเข้าเมื่อมีการเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าสายใหม่ แต่เมื่อมีการเชื่อมต่อการเดินทางของรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายเข้าด้วยกัน จะคิดค่าโดยสารรวมกันสูงสุดที่ 20 บาทเท่านั้น จากราคาดังกล่าว นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับพี่น้องประชาชน ยังเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะให้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย”นายสุรพงษ์ กล่าว
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า เนื่องจากคนจำนวนมากพกบัตรเครดิตวีซ่า (VISA) หรือมาสเตอร์การ์ด ที่มีสัญลักษณ์ Contactless Payment อยู่แล้ว ซึ่งสามารถใช้เป็นบัตร EMV Contactless ในการแตะเข้า-ออก ระบบรถไฟฟ้า MRT ได้ทันที ทำให้มีความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้บริการเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าไม่จำเป็นจะต้องพกบัตรโดยสารหลายใบอีกต่อไป โดยบัตร EMV นี้ สามารถใช้แตะเข้าระบบรถไฟฟ้าเพื่อเดินทางได้ทันที ทั้งยังได้รับสิทธิตามมาตรการแบ่งเบาภาระค่าโดยสารรถไฟฟ้าต่างๆ ของภาครัฐอย่างเต็มที่ ไม่เพียงเฉพาะสิทธิจ่ายค่าโดยสารร่วม รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง – รถไฟชานเมือง สายสีแดง ในราคา 20 บาท
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่าในระยะ 1 เดือนกว่าๆ ที่รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ได้เริ่มให้บริการด้วยอัตราค่าโดยสาร สูงสุดไม่เกิน 20 บาท ทำให้มีจำนวนผู้โดยสารในวันทำงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4,274 คน-เที่ยวต่อวัน คิดเป็น 6.07% และในวันหยุดเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4,789 คน-เที่ยวต่อวัน คิดเป็น 13.33% และ รฟม. คาดการณ์ว่าจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จะเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้จากปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนไปใช้อัตราค่าโดยสารร่วมระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และรถไฟชานเมือง สายสีแดง สูงสุดไม่เกิน 20 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน นี้เป็นต้นไป รวมถึงการที่รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู (MRT สายสีชมพู) จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ และผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนถ่ายระบบได้โดยสะดวกที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ในอนาคตอันใกล้นี้
ทั้งนี้ รฟม. ได้พัฒนาระบบรับการชำระค่าโดยสารด้วยบัตร EMV Contactless ไว้รองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า MRT ทุกสาย กับระบบขนส่งอื่นๆ อย่างครบครันแล้ว เนื่องจากผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าไม่จำเป็นจะต้องพกบัตรโดยสารหลายใบอีกต่อไป จึงมีความมั่นใจว่า หากมีแนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสารแบบใหม่ในอนาคต รฟม. จะสามารถให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สามารถ' หนุนซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืน คุมค่าโดยสาร
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า เอาเลย ! ซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืน
รฟฟท. เผยความสำเร็จนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ครบ 8 เดือน มีผู้ใช้บริการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เผยความสำเร็จของนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ครบ 8 เดือน มีผู้ใช้บริการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
‘คมนาคม‘ ปลื้มรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ฟีดแบคดี เร่งเชื่อมฟีดเดอร์สายสีแดงสถานีรังสิตเพิ่ม
‘คมนาคม’ โชว์นโยบายรถไฟฟ้า 20 ตลอดสาย ดันยอดผู้โดยสารพุ่ง สั่งเพิ่มฟีดเดอร์อีก 4 เส้นทาง เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดงสถานีรังสิต รองรับความต้องการในการเดินทาง พร้อมเพิ่มรถสาธารณะ-จุดจอดรถ ให้เพียงพอต่อประชาชน
'สุริยะ' สั่งเร่ง พ.ร.บ.ตั๋วร่วม คาดใช้ปี 68 รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวัน