ส.อ.ท. หวั่นปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกระทบต้นทุนผลิต กดดันราคาสินค้า-เงินเฟ้อสูงแนะรัฐปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามทักษะฝีมือ
30 พ.ย. 2566 – นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าผลการสำรวจโพลส.อ.ท. ครั้งที่ 35 ในเดือนพ.ย.2566 ภายใต้หัวข้อ “ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างไรให้ลูกจ้างและนายจ้างอยู่รอด” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. 66.7% มีความกังวลถึงกรณีที่หากภาครัฐมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรอบใหม่ในอัตราที่สูงเกินไป จะสร้างแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ต้องมีการปรับขึ้นราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ
ส่วนผู้ประกอบการ 63.6% กังวลว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราที่สูงเกินไป จะต้องแบกรับภาระในการปรับขึ้นค่าจ้างให้กับแรงงานเดิมตามฐานอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ผู้ประกอบการอีก 57.9% กังวลว่าจะกดดันขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลกลดลง
ทั้งนี้ ผลจากผลสำรวจยังพบว่าภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ 33% มีต้นทุนแรงงานอยู่ที่ 11-20% รองลงมามีผู้บริหารส.อ.ท. 25.3% มีต้นทุนแรงงาน 21-30% ส่วนผู้บริหาร 17.6% มีต้นทุนแรงงาน 31-40% และผู้บริหาร 12.6% มีต้นทุนแรงงานมากกว่า 40% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด
ดังนั้น ผู้บริหาร ส.อ.ท. 45.3% จึงเสนอให้ภาครัฐพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรอบใหม่ โดยยึดหลักการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะฝีมือ (Pay by Skill) เพื่อจูงใจให้เกิดการพัฒนาทักษะแรงงาน ส่วนผู้บริหาร ส.อ.ท. 35.6% เสนอให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามสภาพเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัด โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และผู้บริหาร 17.2% มีความเห็นให้ชะลอการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำออกไปก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม ควรมีมาตรการส่งเสริมกลไกการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะฝีมือ โดยเฉพาะการเร่งรัดให้มีการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ครบทุกสาขาอาชีพ และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการส่งพนักงานเข้าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
นอกจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรอบใหม่แล้ว ผู้บริหาร ส.อ.ท. เห็นว่า ภาครัฐควรจะต้องแก้ไขปัญหาปากท้องของแรงงานในระยะยาวควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะการดูแลลดค่าครองชีพให้กับประชาชน เช่น ลดค่าโดยสารสาธารณะ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เป็นต้น รวมทั้งมีการกำกับดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและควบคุมให้มีการปรับราคาสินค้าขึ้น-ลงตามต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งจะทำให้แรงงานมีเงินเหลือใช้จ่ายมากขึ้นและยังช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับตลาดอีกทางหนึ่งด้วย
“ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่มองว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า ภาคอุตสาหกรรมยังมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาการใช้แรงงานในภาคการผลิตอยู่ แต่จะเริ่มมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยการนำเครื่องจักรมาใช้ทดแทนการใช้แรงงานคนมากขึ้น ในอัตราส่วนไม่เกิน 20% ของการใช้แรงงานคนปัจจุบัน”นายมนตรี กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สถาบันอาหาร - ส.อ.ท. - สภาหอการค้าฯ ชี้ส่งออกอาหารไทยครึ่งปีแรก 67 โต 9.9% มูลค่า 8.5 แสนล้านบาท
สถาบันอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เผยการส่งออกสินค้าอาหารของไทย 6 เดือนแรกปี 2567 มีมูลค่า 852,432 ล้านบาท
ส.อ.ท.โอดดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ลดต่ำอีกระลอก
ส.อ.ท.โอดดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ลดต่ำอีกระลอก งวดพ.ค. อยู่ที่ระดับ 88.5 รับอานิสงส์เศรษฐกิจไทยยังผันผวน กำลังซื้อเปราะบางจากหนี้ครัวเรือน-หนี้เสีย ผนวกราคาน้ำมันแพงดันต้นทุนสูง คาดการณ์ไตรมาสหน้าไม่ฟื้นหวังรัฐเข้าช่วย ผุดมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน
ดีเดย์! 1 พ.ค. ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ-เงินบำนาญขั้นต่ำ
นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 พฤศจิกายน 2566)
มพช. แจงปมของบ ส.อ.ท. ทำวิจัย
ดร.สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานคณะกรรมการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน (มพช.) พร้อมด้วยคุณพรอรัญ สุวรรณพลาย กรรมการและเหรัญญิก มพช.
เอกชนวอนรัฐ ตรึงราคาน้ามัน ชงลดดอกเบี้ย
ส.อ.ท.โอดหนี้ครัวเรือนฉุดดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ปรับตัวลดลง ปัจจัยต่างประเทศยังซ้ำ