‘พิมพ์ภัทรา’ เผยนายก ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมนิคมสระแก้ว ชี้พื้นที่ศักยภาพสูง เหมาะพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ด้าน กนอ. วอนนายกฯ ช่วยเจรจากรมธนารักษ์ลดอัตราค่าเช่า หวังจูงใจนักลงทุนเพิ่มขึ้น จ่อจัดทำ EIA ใหม่ หวังขยายประเภทกิจการหนุนลงทุนหลากหลาย
28 พ.ย. 2566 – นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมนิคมอุตสาหกรรมสระแก้ว อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมาว่า นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่าจังหวัดสระแก้วเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจอย่างมาก และชื่นชมที่ กนอ.จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสระแก้วสำเร็จตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งนิคมอุตสาหกรรมสระแก้ว มีเป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริม พัฒนา และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการแปรรูปสินค้าเกษตรรวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าและกระจายสินค้าที่ครบวงจรสู่อาเซียน
“การดำเนินงานที่ผ่านมายังมีปัญหาอุปสรรคในด้านสิทธิประโยชน์ด้านภาษี อัตราค่าเช่าที่ดินระยะยาวที่สูง และข้อจำกัดด้านอุตสาหกรรมเป้าหมายใน EIA ที่กำหนดไม่ให้มีปล่อง อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีรับทราบถึงปัญหาดังกล่าว และมีนโยบายที่จะช่วยแก้ปัญหาเพื่อให้พื้นที่ที่มีศักยภาพนี้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้มากขึ้นตามนโยบายที่รัฐบาลได้วางไว้”นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว
ด้านนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่านิคมอุตสาหกรรมสระแก้ว ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดดำเนินการในปี 2562 มีพื้นที่ 660 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่สาธารณูปโภค พื้นที่สีเขียว 64 ไร่ มีพื้นที่ขายเช่า 433 ไร่ สามารถขายได้ 26 ไร่ มีผู้ประกอบการเข้ามาลงทุนแล้ว 4 ราย ได้แก่ ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก เสื้อผ้า 3 ราย อุตสาหกรรมทำเบาะรถ ชิ้นส่วนยานยนต์ 1 ราย และที่ยังไม่แจ้งประกอบกิจการ อีก 2 ราย โดยการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสระแก้วมุ่งเน้นกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการนิคมอุตสาหกรรมสระแก้ว (EIA) จึงไม่อนุญาตให้โรงงานที่มีปล่องมาตั้งในนิคมฯ ได้
ส่งผลให้ประเภทอุตสาหกรรมที่สามารถตั้งได้นั้นมีจำกัด ซึ่ง กนอ. มีแนวคิดที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการนิคมอุตสาหกรรมสระแก้วต่อไป เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดดังกล่าว นอกจากนี้ ยังพบว่าหากสามารถเปิดกว้างสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้แก่ทุกประเภทกิจการที่มาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วได้ จะช่วยดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ ที่ดินราคาค่าเช่าสูง เพราะเป็นที่ของกรมธนารักษ์ซึ่งเป็นผู้กำหนดค่าเช่า กนอ.จึงขอให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เจรจากับกรมธนารักษ์ ให้ช่วยพิจารณาลดอัตราค่าเช่า เพื่อจูงใจนักลงทุนในพื้นที่ โดยล่าสุดทราบว่า นายกรัฐมนตรี ได้มีการหารือกับทางกรมธนารักษ์แล้ว คาดว่าจะทราบผลการหารือได้ในเร็วๆ นี้
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำด้วยว่า นิคมอุตสาหกรรมสระแก้ว มีความเหมาะสมที่จะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพราะจะช่วยดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังจะส่งผลให้เศรษฐกิจชายแดนระหว่างไทย-กัมพูชานั้นกลับมาคึกคักขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศกลับมาแน่นแฟ้นมากขึ้น ขณะเดียวกันพื้นที่ดังกล่าวยังสามารถเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าและกระจายสินค้าที่ครบวงจรในกลุ่มประเทศอาเซียนในเขตภูมิภาคลุ่มน้ำโขง CLMVT ได้อีกด้วย เนื่องจากอยู่ใกล้กับด่านศุลกากรอรัญประเทศ (ป่าไร่) และด่านพรมแดนบ้านคลองลึก ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศกัมพูชาได้
“ผมเชื่อว่า หากนิคมอุตสาหกรรมสระแก้วสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้สำเร็จ จะสามารถดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างแน่นอน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่อย่างมาก”นายวีริศ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พิมพ์ภัทรา' โยนถาม 'นายกฯ-หัวหน้ารทสช.' ปมปรับครม.โควตาพรรค ลั่นคนทำงานอยู่ที่ไหนก็ได้
ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว. อุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในโ
'พิมพ์ภัทรา' นำทีมบุกญี่ปุ่น ศึกษาโมเดล 'นิคมอุตสาหกรรม Circular' มาปรับใช้กับไทย
“พิมพ์ภัทรา”นำทีมเยือนญี่ปุ่น 21 - 27 กรกฎาคม 2567 ปักหมุดดูงานพัฒนาการจัดตั้ง “นิคมอุตสาหกรรม Circular” พร้อมหารือกับองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization : JETRO) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมของไทย ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน เศรษฐกิจหมุนเวียน และความเป็นกลางทางคาร์บอน
‘พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล’หวังกระทรวงอุตฯเป็นที่พึ่งของทุกคนอย่างแท้จริง
การเข้ามานั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการประจำกระทรวงต่างๆ ในประเทศไทยนั้นต้องผ่านด้านการบริหารงานมาเข้มข้น และยังต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง
อุตฯ-แรงงานเร่ง เยียวยาชาวบ้าน แทงค์โซลีนไหม้
“อุตฯ-แรงงาน” เร่งเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบแทงค์แก๊สโซลีนเต็มสูบ
'พิมพ์ภัทรา' สั่งการ 'ดีพร้อม' เร่งเยียวยาประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการให้ นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เร่งเยียวยาและฟื้นฟูให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการและพี่น้องประชาชนในพื้นที่จากเหตุเพลิงไหม้ถังเก็บวัตถุดิบสารไพโรไลสีส แก๊สโซลีน
สะสางปัญหา กากแคดเมียม เดิมพันการเมืองครั้งสำคัญ พิมพ์ภัทรา-รมว.อุตสาหกรรม
ปัญหาการพบกากแร่อันตรายแคดเมียม ที่มีการขนย้ายมาจากจังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันมีการยึดอายัดได้ประมาณ 12,500 ตัน หลังพบที่สมุทรสาคร ชลบุรี และกรุงเทพฯ