'คลัง' ลุ้นจีดีพีปี 67 โตแตะ 3.2% เตรียมแผนแก้หนี้นอกระบบ

”คลัง“ลุ้นจีดีพีปี 67 โตแตะ 3.2% หวังมาตรการรัฐหนุนสุดแรง พร้อมจับตาปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน เงินเฟ้อ ภัยพิบัติ ปักธง 28 พ.ย. แจงมาตรการแก้หนี้นอกระบบ

28 พ.ย. 2566 – นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รมช.การคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ ”อนาคตเศรษฐกิจประเทศไทย 2567“ ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) หรือสภาพัฒน์ ประมาณการไว้ที่ 3.2% แต่ทั้งนี้ ยังไม่รวมมาตรการอื่นๆที่ภาครัฐพยายามทยอยออกมา ขณะที่เศรษฐกิจไทยในปีนี้ เบื้องต้น ประเมินไว้ที่ 2.7% แต่หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2566 ที่ออกมาล่าสุดนั้น คงจะต้องพิจารณาปรับประมาณการใหม่อีกครั้ง

“จีดีพีปีหน้าที่ 3.2% ยังไม่รวมมาตรการที่จะออกมา โดยนายกรัฐมนตรีระบุอยากให้เติบโตได้ 5% เป็นสิ่งที่ต้องมาคิดและทำเพิ่มเติม ว่าจะมีมาตรการอะไรบ้าง หลายมาตรการอยู่ระหว่างการออกแบบ ต้องดูประสิทธิภาพของมาตรการจะมีผลต่อเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน และต้องดูเครื่องจักรอื่นๆ ทั้งการใช้จ่ายภาครัฐจากงบประมาณปี 2567 ที่ออกมาล่าช้า คาดว่าจะได้เม.ย.-ต้นพ.ค. ต้องมาติดตามการเร่งการใช้จ่ายด้วย” นายกฤษฎา กล่าว

สำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า คาดว่าจะมาจากการท่องเที่ยว แม้ปัจจุบันยอมรับว่า ฟื้นตัวช้า และอาจปรับลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจจีนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ขณะที่ปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวมาไทย 27-28 ล้านคน และปี 2567 ที่ 34 ล้านคน ส่วนเสถียรภาพภายในประเทศ ยืนยันว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ดี เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ซึ่งในปี 2567 คาดว่าเงินเฟ้อของไทยจะอยู่ที่ 1.5% ส่วนราคาน้ำมันดิบที่ 80-90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยมองว่าหากราคาพลังงานมีแนวโน้มในระดับปัจจุบันหรืออ่อนตัวลง แรงกดดันต่อเงินเฟ้อน่าจะลดลงด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ แต่ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลต่อเงินเฟ้อ ทั้งภูมิอากาศ ภัยพิบัติ ซึ่งจะมีผลสืบเนื่องต่ออุปทาน ราคาสินค้าเกษตร รวมถึงยังต้องติดตามเงินเฟ้อจากมาตรการกระตุ้นการบริโภค ด้านเสถียรภาพด้านการคลัง ยืนยันเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของระบบการเงินแข็งแกร่ง สิ้นไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 19.9% สูงกว่าที่เกณฑ์ขั้นต่ำกำหนดที่ต้องดำรงไม่น้อยกว่า 8.5% ส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีปัจจุบันอยู่ที่ 62% ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลัง ไม่น่าห่วง

”ต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอนมาก โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงจากความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์แม้แต่เอเชียแปซิฟิก เศรษฐกิจโลกยังเติบโตไม่สม่ำเสมอ ดอกเบี้ยยังสูง ทำให้ตลาดการเงิน การเคลื่อนย้ายเงินทุนผันผวนสูง ขณะที่ในประเทศยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงการผลิต ความเสี่ยงเชิงโครงสร้าง เช่น โครงสร้างประชากร เข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ 20% ของประชากรเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งจะนำไปสู่การขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะเกษตรและบริการ ภาคเกษตรอายุเฉลี่ยเกิน 50 ปี และเมื่อจำนวนแรงงานลดลง ฐานรายได้จึงเป็นประเด็นในเรื่องการจัดเก็บรายได้ลดลง“ นายกฤษฎา กล่าว

ขณะที่การลงทุน พบว่า การลงทุนภาครัฐของไทยอยู่ในระดับต่ำกว่า 25% ต่อจีดีพีมานานกว่า 20 ปี เป็นความเสี่ยงโครงสร้างของไทย

สำหรับการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนนั้น ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 90% ต่อจีดีพี ทำให้การใช้จ่ายครัวเรือนไม่สะดวก ทั้งการออม การลงทุน การจับจ่ายใช้สอย ดังนั้น ในวันที่ 28 พ.ย. นี้ รัฐบาลจะออกมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ และในวันที่ 12 ธ.ค. จะมีมาตรการสำหรับในระบบออกมาด้วย ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้หนี้นอกระบบของไทยปรับลดลง โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้หนี้ครัวเรือนเหลือไม่เกิน 80% ต่อจีดีพี

อย่างไรก็ดี ในส่วนนโยบายตั้ง AMC แก้หนี้ครัวเรือนนั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งทุกอย่างจะต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจะร่วมกันดำเนินการ ซึ่งต้องรอติดตาม โดยคาดว่าจะได้เห็นความชัดเจนในเร็วๆนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไม่ไหวแล้ว 'เศรษฐา' จ่อเรียกประชุม ครม.เศรษฐกิจ นัดพิเศษ หลังรู้จีดีพีไทยโตต่ำสุดในอาเซียน

“เศรษฐา” เรียกประชุม ครม.เศรษฐกิจ นัดพิเศษ 27 พ.ค.นี้ หลังจีดีพีไทยไตรมาสแรกโตต่ำสุดในอาเซียน

'พีระพันธุ์' ต่อสายคุย 'กฤษฎา' ยืนยันลาออก

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีนายกฤษฎา จีนะวิจาร

'กฤษฎา' แจงลาออก รมช.คลัง ซัดขุนคลังคนใหม่ไม่ให้เกียรติ ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้

หนังสือขอลาออกจากตำแหน่งรมช.คลังของ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ที่ส่งถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 8 พ.ค.67 มีเนื้อหาระบุว่า ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกระผมให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2567 นั้น กระผมขอเรียนว่า กระผมมีความประสงค์ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง