ทอท. โชว์กำไร 8,790 ล้านบาท โกยรายได้พุ่ง 48,140 ล้านบาท เร่งเครื่องพัฒนาสนามบิน 6 แห่งทั่วประเทศ เดินหน้ายกระดับการบริการสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย รองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก
22 พ.ย.2566 – นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.เปิดเผยถึง ภาพรวมของผลการดำเนินงานด้านปริมาณการจราจรทางอากาศของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ ทอท. ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.) ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.) ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) และท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นเนื่องจากโควิด-19คลี่คลาย
ทั้งนี้ประกอบกับอุตสาหกรรมการบินและภาคการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว โดยมีจำนวนเที่ยวบินรวม 639,891 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 62.22 %เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 321,053 เที่ยวบิน และเที่ยวบินภายในประเทศ 318,838 เที่ยวบิน มีผู้โดยสารรวมทั้งหมด 100.06 ล้านคน เพิ่มขึ้น 114.31 %เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 53.91 ล้านคน และผู้โดยสารภายในประเทศ 46.15 ล้านคน
สำหรับปีงบประมาณ 2566 (สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566) ทอท.มีกำไรสุทธิจำนวน 8,790.87 ล้านบาท มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 11,087.86 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการขายหรือการให้บริการ 48,140.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 190.71%จากปีงบประมาณ 2565 ประกอบด้วย รายได้เกี่ยวกับกิจการการบินจำนวน 22,265.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 205.43%
ทั้งนี้เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสาร และรายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบินจำนวน 25,875.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 179.13%จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์จากธุรกิจร้านค้าปลอดอากร ธุรกิจการบริหารกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ธุรกิจจัดส่งอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจบริการภาคพื้นและซ่อมบำรุง ค่าใช้จ่ายรวมสำหรับปีงบประมาณ 2566
มีจำนวน 34,248.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.81%เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน ค่าจ้างภายนอก ค่าสาธารณูปโภค และค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา
นายกีรติ กล่าวว่า ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ทอท.มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 195,611.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 30 กันยายน 2565 จำนวน 11,798.17 ล้านบาท หรือ 6.42% และมีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 83,432.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 30 กันยายน 2565 จำนวน 2,138.58 ล้านบาท หรือ 2.63%
นายกีรติ กล่าวต่อว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ได้มอบนโยบายให้อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว หลังรัฐบาลมีนโยบายมาตรการ VISA Free ให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีน คาซัคสถาน สาธารณรัฐอินเดียและไต้หวัน กระตุ้นเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ
นอกจากนี้ให้ ทอท.เพิ่มศักยภาพของท่าอากาศยานและการขนส่งทางอากาศ โดยมีนโยบายเร่งด่วนภายใน 1 ปี ให้ดำเนินการเพิ่มตารางการบิน (Slot) รองรับนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มมากขึ้น และการบริหารจัดการพื้นที่ภายในท่าอากาศยานเป็นสิ่งสำคัญจะต้องมีความพร้อมในทุกด้านของการให้บริการ เพื่อให้ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการได้รับการบริการที่รวดเร็ว และการเดินทางที่สะดวกสบาย ไม่เกิดปัญหาความแออัดอย่างที่ผ่านมา เพื่อรองรับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบิน และการท่องเที่ยวซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ในส่วนของโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ทสภ.เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทางวิ่ง
ให้รองรับเพิ่มจาก 68 เที่ยวบินต่อชั่วโมง เป็น 94 เที่ยวบินต่อชั่วโมง คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2567 ซึ่งในส่วนของงานก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก (East Expansion) เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะเพิ่มขีดความสามารถของ ทสภ. อีก 15 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงแบบ โดยคาดว่า
จะดำเนินการก่อสร้างในปี 2567 แล้วเสร็จในปี 2570 มั่นใจว่าเมื่อโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะเป็นการแก้ปัญหาความแออัดผู้โดยสารได้ตรงจุด
นายกีรติ กล่าวว่าได้เร่งดำเนินการพัฒนาท่าอากาศยานเพื่อรองรับการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวของประเทศตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทสภ. ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1: SAT-1) พร้อมทั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติเชื่อมต่อระหว่างอาคาร SAT-1 กับอาคารผู้โดยสารหลัก โดยปัจจุบันโครงการดังกล่าวดำเนินการแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการแล้วเมื่อเดือนกันยายน 2566
ทำให้ ทสภ.สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปี
นอกจากนี้ ทสภ.อยู่ระหว่างดำเนินโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทางวิ่งให้รองรับเพิ่มจาก 68 เที่ยวบินต่อชั่วโมง เป็น 94 เที่ยวบินต่อชั่วโมง คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2567 ซึ่งในส่วนของงานก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก (East Expansion) จะดำเนินการก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออกของอาคารเดิมเพื่อเพิ่มพื้นที่การให้บริการ โดยเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะเพิ่มขีดความสามารถของ ทสภ. อีก 15 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงแบบ โดยคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้าง
ในปี 2567 แล้วเสร็จในปี 2570
สำหรับโครงการพัฒนา ทดม. ระยะที่ 3 จะก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ และปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร อาคาร 1 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจาก 30 ล้านคนต่อปี เป็น 50 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบ คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างในปี 2568 แล้วเสร็จในปี 2573 และโครงการพัฒนา ทชม. ระยะที่ 1 จะก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ และปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเดิมเป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจาก 8 ล้านคนต่อปี เป็น 16.5 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบ คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างในปี 2568 แล้วเสร็จในปี 2571
ทั้งนี้ในส่วนของโครงการพัฒนา ทชร. ระยะที่ 1 จะดำเนินการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ เพื่อเพิ่ม
ขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจาก 3 ล้านคนต่อปี เป็น 6 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำ TOR จ้างผู้ออกแบบ เพื่อดำเนินการออกแบบในปี 2567 โดยคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างในปี 2569 แล้วเสร็จในปี 2572 และโครงการพัฒนา ทภก. ระยะที่ 2 จะก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจาก 12.5 ล้านคนต่อปี เป็น 18 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำ TOR จ้างผู้ออกแบบเพื่อดำเนินการออกแบบในปี 2567 โดยคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างในปี 2569 แล้วเสร็จในปี 2572 ทั้งนี้ ในส่วนของ ทหญ. อยู่ระหว่างทบทวนแผนแม่บทให้สอดคล้องกับปริมาณการจราจรทางอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้ ทอท.ในฐานะผู้บริหารท่าอากาศยานหลัก 6 แห่งของประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของท่าอากาศยานในความรับผิดชอบ และท่าอากาศยานในอนาคต เพื่อเตรียมรองรับผู้โดยสารและนักเดินทางจากทั่วทุกมุมโลกให้ได้รับความสะดวกสบาย และสัมผัสประสบการณ์การเดินทางที่น่าประทับใจ อันจะนำมาสู่การฟื้นฟูทางด้านอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บีเจซี เผยผลประกอบการไตรมาส 3/67 ดันรายได้รวมเติบโตทะลุ 41,774 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงานปกติเติบโตกว่า 14.2%
บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี เปิดเผยรายได้รวมในไตรมาส 3/67 เท่ากับ 41,774 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 603 ล้านบาทจากปีก่อน กำไรจากการดำเนินงานปกติอยู่ที่ 2,825 ล้านบาท
ผลประกอบการ SCGD 9 เดือนแรกปี 67 คว้ากำไร 730 ล้านบาท เพิ่ม 15% จากปีก่อน แม้ฝ่ามรสุมรอบด้าน ไตรมาส 3 ยังกำไร 189 ล้านบาท
ผลประกอบการ SCGD 9 เดือนแรกปี 67 กำไรสุทธิ 730 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% จากปีก่อนที่ 637 ล้านบาท ส่วนไตรมาส 3 เผชิญความท้าทายรอบด้าน
ระทึก! สาวโปแลนด์ ขู่บึ้มเครื่องบินกลางอากาศ ทสภ. งัดแผนเผชิญเหตุ
ศูนย์วิทยุสุวรรณภูมิภาคพื้นดิน รับแจ้งจากกัปตันเครื่องบิน เที่ยวบิน VZ 961 ของสายการบินไทยเวียตเจ็ทแอร์ มีผู้โดยสารขู่วางระเบิด ระหว่างบินบนอากาศ
บีเจซี เผยผลประกอบการไตรมาส 2/67 ดันรายได้รวมเติบโตทะลุ 43,085 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงานเติบโตกว่า 15%
บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี เปิดเผยรายได้รวมในไตรมาส 2/67 เท่ากับ 43,085 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 257 ล้านบาทจากปีก่อน
บจ. มีผลประกอบการในไตรมาส 2 ดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและธุรกิจน้ำมัน
บริษัทจดทะเบียน (บจ.) รายงานผลการดำเนินงานงวดหกเดือนแรกปี 2567 มีรายได้และกำไรสุทธิเติบโต ขับเคลื่อนจากการท่องเที่ยวที่สร้างมูลค่าเพิ่มไปสู่ธุรกิจภาคบริการ อุปโภคบริโภค อีกทั้งกลุ่มธุรกิจน้ำมันได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น