“จุลพันธ์” การันตีรัฐบาลปักหมุกสางหนี้ทั้งระบบ งัดทุกกลไกช่วยเหลือเต็มพิกัด รับห่วงเกิด Moral Hazard แจงเร่ง พิจารณารายละเอียดพักหนี้สหกรณ์เกษตร เดินหน้าช่วยเหลือกลุ่มเอสเอ็มอี พร้อมคาด 2 สัปดาห์ลุยจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท
20 พ.ย. 2566 – นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.การคลัง เปิดเผยถึงกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.การคลัง เตรียมแถลงใหญ่ถึงมาตรการแก้ไขหนี้ทั้งระบบในช่วงปลายเดือน พ.ย. 2566 ว่า ยังไม่ทราบในรายละเอียดทั้งหมด จึงอยากให้รอความชัดเจนก่อน แต่เบื้องต้นยืนยันว่ารัฐบาลจะใช้กลไกตามอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลในการช่วยเหลือและแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของประชาชน ซึ่งจะมีการตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน การดำเนินการของรัฐบาลในครั้งนี้จะเป็นคนละส่วนกับโครงการพักหนี้เกษตรกร ซึ่งเป็นเพียงการช่วยเหลือในเบื้องต้นเท่านั้น แต่ครั้งนี้รัฐบาลจะใช้กลไกในการแก้ไขโครงสร้างหนี้สินอย่างจริงจังและครอบคลุมทั้งระบบ ส่วนรายละเอียดทั้งหมดอยากให้รอฟังจากนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ทั้งนี้ ยอมรับว่ามีความเป็นห่วงว่าแนวทางการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลอาจจะทำให้ลูกหนี้ที่ดีจงใจผิดนัดชำระหนี้ (Moral Hazard) แต่ในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจปัจจุบัน โดยเฉพาะแรงกดดันทางเศรษฐศาสตร์ต่อประชาชน โดยเฉพาะคนตัวเล็กมันสูงมาก จึงเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องยกเอาแรงกดดันเหล่านี้ออกจากประชาชนกลุ่มนี้ เพื่อให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เป็นการต่อลมหายใจ ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่าการพักหนี้ครั้งนี้ จะไม่เหมือน 13 ครั้งที่ผ่านมา ที่เป็นเพียงแค่การประวิงเวลา เพราะรัฐบาลมีกลไกประกอบหลายอย่างในการเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งรัฐบาลหวังว่าการพักหนี้ในครั้งนี้ประกอบกับกลไกอื่น ๆ ที่รัฐลงไปจะสามารถทำให้ประชาชนพลิกฟื้นชีวิตกลับมาได้อย่างแข็งแรง
สำหรับกรณีที่กรมส่งเสริมสหกรณ์เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบโครงการพักชำระหนี้ให้ครอบคลุมในส่วนของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศนั้น เบื้องต้นได้ส่งเรื่องให้คณะทำงานเรื่องการพักหนี้เรียบร้อย และส่วนงานกำลังดูในรายละเอียดอยู่ เพราะต้องยอมรับว่าหนี้สหกรณ์ค่อนข้างซับซ้อน และสหกรณ์มีหลายประเภท จึงต้องมาดูว่านิยามในการให้ความช่วยเหลือครั้งนี้จะรวมถึงสหกรณ์อะไรบ้าง เพราะหากรวมไปถึงสหกรณ์ออมทรัพย์ต่าง ๆ ด้วย สเกลการให้ความช่วยเหลือจะใหญ่มาก
“เท่าที่ทราบเบื้องต้นข้อมูลที่มีการส่งเข้ามาเป็นกลุ่มค่อนข้างจำเพาะ แต่เมื่อเป็นกลุ่มจำเพาะก็ต้องมาดูในรายละเอียดว่าเป็นกลุ่มสหกรณ์ใดที่ส่งมา คงไม่ใช่สหกรณ์ทั้งหมด และจะต้องมีเกณฑ์ชี้วัดที่ชัดเจนว่า ทำไมสหกรณ์นี้จึงสามารถเข้าสู่กระบวนการให้ความช่วยเหลือได้ ส่วนสหกรณ์อื่น ๆ ถึงจะไม่เข้า เราจะต้องดำเนินการโดยมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน สามารถตอบสังคมได้ว่าทำไม! ตรงนี้กำลังให้ส่วนงานราชการดูเอกสารที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ส่งมา เบื้องต้นเป็นอาจจะเฉพาะสหกรณ์เกษตร ซึ่งเราจะยึดตามข้อมูลที่ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ส่งเข้ามาเป็นหลัก” นายจุลพันธ์ กล่าว
นายจุลพันธ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้น เป็นโจทย์ที่ได้รับมอบหมายมาเช่นกัน โดยหากมุ่งเน้นการช่วยเหลือไปที่กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รหัส 21 (กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19) ก็จะพุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มเอสเอ็มอีที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ซึ่งอาจทำให้กลุ่มเอสเอ็มอีอื่น ๆ ที่อยู่นอกกรอบไม่ได้รับความช่วยเหลือไปด้วย ดังนั้นตอนนี้จึงพยายามหารือและพิจารณาว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งระบบ แต่ก็ต้องอยู่ภายในกรอบภาระที่รัฐบาลรับไหว เพราะต้องยอมรับว่ามูลหนี้ของเอสเอ็มอีต่อรายค่อนข้างสูงไม่ใช่หลักแสนบาทแบบหนี้เกษตรกร ดังนั้นรัฐบาลต้องมีการหากลไกเข้าไปช่วยเสริมและสนับสนุน ซึ่งยืนยันว่าอาจจะไม่ใช่การพักหนี้ และการเข้าไปช่วยเหลือแล้วก็ต้องไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับกลุ่มอื่น ๆ ที่รัฐบาลจะต้องดูแล และต้องไม่ให้เกิดปัญหา Moral Hazard
อย่างไรก็ดี ในส่วนของความคืบหน้ามาตรการให้เงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท ภายใต้โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 วงเงิน 5.6 หมื่นล้านบาทนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมดำเนินการจ่ายเงินให้ชาวนาไม่เกิน 2 สัปดาห์จากนี้ โดยยืนยันว่า ธ.ก.ส. ไม่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องแต่อย่างใด แต่ต้องมีการนำเรื่องเข้าเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการธนาคาร ธ.ก.ส. ในช่วงปลายเดือนนี้ก่อน ซึ่งเป็นการใช้จ่ายภายในกรอบวงเงินที่รัฐต้องชดเชยค่าใช้จ่ายหรือสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งมีเพียงพอดำเนินการ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จับตา นายกฯอิ๊งค์ นั่งบอร์ดกระตุ้นเศรษฐกิจวันนี้ เคาะแก้หนี้ - แจกเงินหมื่นรอบใหม่
"คลัง" เตรียมชงบอร์ดนโยบายฯ เคาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแพ็กเกจใหญ่ 19 พ.ย.นี้ เดินหน้า "แก้หนี้-อุ้มอสังหาฯ-มาตรการภาษี-ดิจิทัลวอลเล็ต" ปูพรมกระตุ้นตั้งแต่ปลายปีนี้- จนถึงปีหน้า
คกก.นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ นัดประชุมครั้งแรก 19 พ.ย. ถกแจกเงินดิจิทัลรอบใหม่
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังหารือกับ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และหน่วยงานเศรษฐกิจว่า ในวงหารือได้เคาะวันประชุมคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
'จุลพันธ์' ตาใส! ยังไม่รู้ 'กิตติรัตน์' นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการสรรหาประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ บอ
'จุลพันธ์' ปัดตอบ 'พ.ร.บ.กาสิโน' คลอดปีนี้หรือไม่ แต่ผ่านสภาฉลุยแน่ ยันพรรคร่วมรัฐบาลไม่ขัดแย้ง แค่เห็นต่าง
ที่ทําเนียบรัฐบาล นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าในการยกร่างพ
จับตาแจกเงินหมื่นเฟส3 กกร.มอบปกขาวแก้ศก.
แจกยาว! จับตาดิจิทัลวอลเล็ตมีเฟส 3! “จุลพันธ์” รับมีสิทธิ์สูงทยอยจ่ายเงินหมื่นเป็นล็อต
'จุลพันธ์' ฟุ้งปิดจ็อบ 'เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์' เตรียมเข็นเข้าครม.ปีนี้
“จุลพันธ์” ฟุ้งปิดจ็อบปั้นกฎหมายตั้ง entertainment complex เตรียมเข็นเข้า ครม. ภายในปีนี้ ลุยกางตัวเลขหนุนเศรษฐกิจกระหึ่ม อัปรายได้ต่อหัวนักท่องเที่ยว-เพิ่มการจ้างงาน-ดันตัวเลขนักท่องเที่ยวกระฉูด แจงกรณีพรรคร่วมไม่เห็นด้วย ถือเป็นเรื่องปกติ โยนสภาเป็นคนพิจารณาสุดท้าย