กระทรวงดิจิทัลฯ ชี้ Digital ID สำคัญต่อธุรกิจ และชีวิตประจำวัน เดินหน้าขับเคลื่อนการพิสูจน์ตัวตนผ่าน 8 มาตราการหลัก พร้อมกำหนดแนวทางในการเก็บเงินปลาย (Cash on Delivery) สำหรับธุรกิจออนไลน์
13 พ.ย. 2566 - นางสาววงศ์อะเคื้อ บุญศล โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอี) กล่าวว่า จากการประชุมหารือเพื่อผลักดันการดำเนินงานในระดับนโยบายที่สำคัญเกี่ยวการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คณะที่ปรึกษารัฐมนตรี ดีอี และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ภายใต้บทบาทของการกำกับดูแลและการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ สำหรับกลุ่มธุรกิจบริการดิจิทัล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการรองรับการขยายตัวของกิจกรรมที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมในยุคดิจิทัล ที่ประชุมได้สรุปประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งผลักดัน 2 เรื่อง ได้แก่ การดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID และ การประกาศใช้ข้อเสนอแนะมาตรฐานว่าด้วยบริการเก็บเงินปลายทางสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Cash on Delivery (COD)
สำหรับการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Digital ID (การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล) ดีอี มีนโยบายในการขับเคลื่อน และผลักดันการดำเนินงานภายใต้ “กรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศ ในระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ” ที่มีมติ ครม. (6 ธันวาคม 2565) มอบหมายให้กระทรวงดีอี และกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการขยายการใช้งานทั้งในบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลเพิ่มมากขึ้น รวมถึงผลักดันให้เกิดการยกระดับเป็นงานที่มีความสำคัญ เช่น การเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้าน ภายใต้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อกำหนดแผนการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมในระยะต่อไป ภายใน 2 ปี
ทั้งนี้ การดำเนินงานได้มีการกำหนด 8 กลยุทธ์หลักที่สำคัญ ภายใต้กรอบการขับเคลื่อนฯ ที่ครอบคลุมในประเด็น ดังนี้
1. การมี Digital ID ที่ครอบคลุมบุคคล นิติบุคล และบุคคลต่างชาติ เพื่อรองรับการยืนยันตัวตนการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การมอบอำนาจและการให้ความยินยอมทางอิเล็กทรอนิกส์
2. ประชาชนสามารถเลือกใช้ Digital ID ในระดับความเชื่อมั่นที่มีความเหมาะสม เพื่อการเข้าถึงบริการทางออนไลน์ของภาครัฐและเอกชน
3. กระทรวงมหาดไทย จะเป็นหน่วยงานหลักในการให้ข้อมูลและบริการ สนับสนุนการพิสูจน์ตัวตน โดยมุ่งเน้นกระบวนการกำกับดูแลให้มีมาตรฐานและความน่าเชื่อถือ
4. การใช้ Digital ID ในการทำธุรกรรมของนิติบุคคลเป็นการใช้ Digital ID บุคคลธรรมดาของผู้มีอำนาจของนิติบุคคลนั้น ร่วมกับการมอบอำนาจ (หากจำเป็น)
5. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) จะเป็นหน่วยงานหลักในการให้ข้อมูลของฝั่งนิติบุคคล เพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมของนิติบุคคล ผ่าน Digital ID
6. ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐผ่านระบบ Digital ID ที่น่าเชื่อถือ และใช้งานได้อย่างวงกว้าง โดยไม่ต้องลงทะเบียนพิสูจน์ตัวตนซ้ำซ้อน
7. ETDA จะพัฒนามาตรฐานกลางที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการมีมาตรฐานที่สอดคล้องกัน และเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ โดยให้หน่วยงานในแต่ละภาคส่วน นำไปประยุกต์ใช้
8. ETDA จะพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับบริการ Digital ID ระหว่างรัฐและเอกชน
ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ Digital ID อย่างแพร่หลายผ่านหลายบริการที่สำคัญ เช่น ThaID (11.4 ล้านคน), เป๋าตัง (37.3 ล้านคน), NDID (15.66 ล้าน Account) และ Mobile ID (85,000 คน)
ในส่วนของการประกาศใช้ข้อเสนอแนะมาตรฐานว่าด้วยบริการเก็บเงินปลายทางสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Cash on Delivery : COD)
สำหรับผู้ให้บริการขนส่งสินค้า และบุคคลที่สามที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ให้บริการขนส่งสินค้าและผู้ส่งสินค้า เช่น ผู้ให้บริการจองขนส่งออนไลน์ (shipping aggregator) ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์ (online marketplace) นั้น ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีผู้บริโภคถูกหลอกลวงให้ชำระค่าสินค้าที่ไม่ได้สั่งหรือได้รับสินค้าไม่ตรงตามที่สั่ง โดยมีประเด็นที่เป็นข้อกำหนดของบริการเก็บเงินปลายทาง ดังนี้
1. การพิสูจน์ตัวตนผู้ส่งสินค้า
2. การกำหนดระยะเวลาการถือเงินค่าสินค้า
3. การบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการส่งสินค้า
4. การให้ข้อมูลผู้บริโภค
5. การเฝ้าติดตามพฤติกรรมการส่งพัสดุของผู้ส่งสินค้า
“ประโยชน์ของ COD สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถสืบทราบข้อมูลของผู้กระทำความผิดได้ทันท่วงที ส่วนผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้เสียหายมีโอกาสได้เงินคืนจากการถือเงินค่าสินค้าของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าและผู้รับโอนเงินทุกทอด ขณะเดียวกัน ยังป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อผู้บริโภคเมื่อผู้ให้บริการขนส่งสินค้าตรวจพบพฤติกรรมการส่งสินค้าที่ต้องสงสัยด้วย” นางสาววงศ์อะเคื้อ กล่าว
สำหรับการดำเนินงานในระยะถัดไป คือ การนำมาตรฐานไปปฏิบัติ ร่วมกับผู้ให้บริการขนส่ง พร้อมส่งเสริมการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ให้บริการที่ให้บริการได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เตือนภัย 'มิจฉาชีพ' ใช้สื่อโซเชียล หลอกลงทุน – ปล่อยกู้ แถมแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ลวงเหยื่อ
AOC 1441 เตือนภัย “มิจฉาชีพ” ใช้สื่อโซเชียล หลอกลงทุน – ปล่อยกู้ แถมแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ลวงเหยื่อ สูญเงินกว่า 8 ล้านบาท
'โจรออนไลน์' อ้างหน่วยงาน กฟภ. หลอกติดตั้งแอปฯ ดูดเงิน
AOC 1441 เตือนภัย “โจรออนไลน์” อ้างหน่วยงาน กฟภ. หลอกติดตั้งแอปฯ ดูดเงิน เสียหายกว่า 4 ล้านบาท
AOC 1441 เตือน 'โจรออนไลน์' หลอกโอนเงินรวมเกือบ 20 ล้านบาท
AOC 1441 เตือนภัย “โจรออนไลน์” หลอกโอนเงินรวมเกือบ 20 ลบ. เผยยอดอายัดบัญชีแล้วกว่า 4,500 ลบ.
ดีอี เผย อายัดบัญชีมิจฉาชีพกว่า 4,055 ล้านบาท
AOC 1441 เตือนภัยออนไลน์ พบ 5 เคสถูกหลอกโอนเงินรวมกว่า 10 ล้านบาท เผยปัจจุบันอายัดบัญชีแล้วกว่า 4,055 ล้านบาท
ดีอี เตือนระวัง 'มิจฉาชีพ' ใช้กลลวง หลอกให้โอนเงินเพื่อรับรางวัล หลอกให้รัก
AOC 1441 เปิดเผย 5 เคสตัวอย่าง หลอกให้โอนเงินเพื่อรับรางวัล หลอกให้รัก หลอกให้ซื้อตุ๊กตาลาบูบู้ (Labubu) สูญเงินเกือบ 4 แสนบาท
'ดีอี' เตือนมิจฉาชีพออนไลน์ ใช้มุกเก่าลวงเหยื่อ เสียหายกว่า 25 ล้าน
มิจฯ ออนไลน์ ผู้มาก่อนกาล ร้อยเล่ห์ มุกเก่า ลวงเงินเหยื่อ AOC 1441 เผย 5 เคส รายสัปดาห์ รับแจ้งเหตุผู้เสียหายสูญเงินรวมร่วม 25 ลบ.