5 มิ.ย. 2566 – รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และรองประธานฯ ที่มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ปลายฝน ฝนก็ตกโดยเฉพาะภาคใต้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ สำหรับน้ำท่วมรอการระบายเป็นเรื่องปกติครับ การคาดการณ์ปริมาณฝนในปีไม่ปกติ (เช่น ปีเอญนิญโญ) มีความคลาดเคลื่อนสูง เช่นปีนี้ การพยากรณ์รายฤดูกาล แบบจำลองโดยส่วนใหญ่ชี้ไปในทิศฝนน้อย แต่ในข้อเท็จจริงปริมาณฝนเดือนกันยายน และเดือนตุลาคม มีมากกว่าปกติประมาณ 30% และ 19% ตามลำดับโดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคอีสาน (อย่างไรก็ตามปริมาณฝนสะสมยังคงน้อยกว่าปกติน่ะครับ ยกเว้นภาคอีสาน) ดังนั้นการพยากรณ์ฝนปีนี้จึงพึ่งได้เฉพาะการคาดการณ์ล่วงหน้าเพียง 1 เดือนเท่านั้น เกษตรกร และชาวนาจึงต้องติดตามสถานการณ์ทุกเดือนน่ะครับ
แม้ว่าเดือนกันยายน และตุลาคมจะเกิดฝนตกหนัก และน้ำท่วมในบางพื้นที่เช่นภาคเหนือตอนบน และภาคอีสาน แต่เมื่อวิเคราะห์จากดรรชนีฝน SPEI พบว่าช่วง 3-6 เดือนที่ผ่านมา หลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคกลาง ภาคตะวันออก ยังคงมีสถานฝนแล้ง ยกเว้นบริเวณชายขอบฝั่งตะวันตก และตะวันออกเฉียงเหนือริมแม่น้ำโขง
และเมื่อวิเคราะห์การกระจายของอุณหภูมิช่วงเดือนธันวาคม และเดือนเมษายนตั้งแต่ปี 2563-2567 พบว่าในเดือนธันวาคมจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทุกปี (ความหนาวเย็น) ยกเว้นปี 2566 ซึ่งมีกาาคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงขึ้นเกือบ 2oC นั่นหมายความว่าปีนี้เราจะไม่หนาว ในขณะเดียวกันอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนเมษายนปี 2567 ก็จะสูงกว่าปกติ 1.5oC เราก็จะร้อนสุดๆเหมือนกัน จากปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (โลกร้อน) และสภาพอากาศแปรปรวน (เอ็นนิญโญ) ดังนั้นปลายปีนี้จนถึงต้นปีหน้าเสื้อหนาวอาจจะขายไม่ค่อยดีน่ะครับ พ่อค้า แม่ค้า อย่าสั่งมาตุนเยอะน่ะครับ
ในขณะที่เริ่มเข้าสู่ฤดูการทำนาปรัง ฝนก็ตกได้น้ำ ราคาข้าวดีจูงใจให้ชาวนาทำนากันในหลายพื้นที่ ปริมาณน้ำต้นทุน (เฉพาะในลุ่มเจ้าพระยา) ประมาณ 62% (11,000 ล้านลูกบาศ์กเมตร) น้อยกว่าปี 2565 (78%, 14,000 ล้านลูกบาศ์กเมตร) โดยปีที่แล้วมีการจัดสรรน้ำกว่า 5,800 ล้านลูกบาศ์กเมตรทำนาปรังกว่า 7 ล้านไร่ ในลุ่มเจ้าพระยา แต่ปีนี้ ดูจากข้อมูลกระทรวงเกษตรฯ จะมีการจัดสรรน้ำให้ชาวนาเพียง 2,300 ล้านลูกบาศ์กเมตร ซึ่งจะมีพื้นที่ทำนาได้เพียงไม่เกิน 2 ล้านไร่ จาก 8 ล้านไร่ อะไรจะเกิดขึ้น ? พื้นที่นอกเขตชลประทานกว่า 80% โดยเฉพาะในภาคอีสาน ถ้าไม่มีน้ำต้นทุนของตัวเอง (บ่อ สระ ฝายขนาดเล็ก ระบบสูบน้ำเข้าแปลงนา) ประกอบกับอากาศร้อน และแล้งจัดปีหน้า อัตราการระเหยจะเพิ่มขึ้นกว่า 10% ปัญหาเรื่องไฟป่าในภาคเหนือ ฝุ่น PM2.5 และ คลื่นความร้อนในเมืองจะตามมา
แม้ว่าการพยากรณ์ฝนรายฤดูกาลอาจจะมีความคลาดเคลื่อน แต่ก็มีความจำเป็นต่อชาวนาในการเตรียมปัจจัยการผลิต เพราะต้นทุนการทำนาจะสูงหากไม่มีการวางแผน ข้อมูลล่าสุดจากแบบจำลองหลายชุดบ่งชี้ปริมาณฝนต้นฝนปี 2567 อาจจะน้อยกว่าปกติ ส่งนัยถึงการเข้าสู่ฤดูฝนที่ล่าช้าออกไป ปริมาณน้ำต้นทุนที่ต้องเตรียมไว้สำหรัยช่วงต้นฤดูฝน ? พื้นที่นอกเขตชลประทานกว่า 80% จะต้องเตรียมการรับมือด้วยครับ และที่สำคัญเกษตรกร และชาวนาต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดน่ะครับ เพราะสภาพอากาศ คือชีวิตความเป็นอยู่ของทุกท่าน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สะท้านทรวง! หนาวที่สุดของปีนี้ 12-13 ม.ค. ความหนาวเย็นมาพร้อมลมแรง
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า หนาวสุดท้ายหนาวสะท้านทรวง 12-13 มกราคม
เหนือ-อีสาน อากาศเย็น ส่งท้ายปี ขณะที่ภาคใต้ 8 จังหวัดอ่าวไทยมีฝนเพิ่มขึ้น
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ากรมอุตุนิยมวิทยาระบุสภาพอากาศในวันนี้ถึง วันที่ 30 ธ.ค.67 มวลอากาศเ
เลย หนาวจัดแม่คะนิ่งอวด ยอดภูกระดึง 8.5 องศา
สภาพอากาศจังหวัดเลย ใน 14 อำเภอ ทุกพื้นที่ยังคงหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะยอดภูหรือตามอุทยานต่างๆในจังหวัดเลย จะมีอากาศลดลงหนาวถึงหนาวจัดไปจนถึงปลายปี
ลมหนาวมาเยือน ไทยอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาวันนี้ เตือนใต้ฝนตกหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยา รายการพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำ เคลื่อนผ่านอ่าวไทยตอนล่าง ภาคใต้ตอนล่าง และประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง
เตือนภาคใต้ยังมีฝน 7-11 ธันวา. นายกฯ สั่งเตรียมช่วยเหลือ 12 จังหวัดเสี่ยง
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จากรายงานสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ตั้งแต่วันที่ 7-11 ธันวาคม 2567 ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป
กรมอุตุฯ แจ้ง 'เหนือ-อีสาน-กลาง' อากาศเย็น 'ใต้' เจอฝนตกหนักถึงหนักมาก
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาค