
สำนักงาน กสทช. ร่วมกับ กฟน. กฟภ. เเละ กทม. ประชุมหารือเพื่อกำหนดแผนบูรณาการการจัดระเบียบสายสื่อสารทั่วประเทศ ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
17 ธ.ค. 2564 นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า ในวันจันทร์ที่ 20 ธ.ค. 2564 สำนักงาน กสทช. จะเชิญผู้แทนของ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมประชุมหารือเพื่อกำหนดแผนบูรณาการการจัดระเบียบสายสื่อสารทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2564 ที่มีมติมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร) เป็นหน่วยงานหลักรับไปประสานความร่วมมือกับสำนักงาน กสทช. บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนบูรณาการการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าในเส้นทางหลักทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด โดยให้มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันเพื่อลดจำนวนการพาดสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าโดยเร่งด่วน รวมทั้งปรับปรุงระบบสายสื่อสารของผู้ประกอบกิจการให้มีสายสื่อสารปลายทางเพียงรายเดียว (single Last Mile)
นายไตรรัตน์ กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. จะเป็นผู้ประสานงานระหว่าง กฟน. กฟภ. และ กทม. กับบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดแผนการจัดระเบียบสายสื่อสารทั่วประเทศ รวมถึงการนำสายสื่อสายลงใต้ดิน ภายในระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยจะรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะๆ
“การจัดระเบียบสายสื่อสารต้องได้รับความร่วมมือจากเจ้าของเสา/ท่อร้อยสาย และเจ้าของสายสื่อสาร มีการตรวจสอบสภาพเสาที่จะนำสายสื่อสารไปพาด ไม่พาดเกินน้ำหนักที่เสาจะรับได้ พาดสายให้เรียบร้อยเป็นระเบียบ ต้องมีการสำรวจตรวจสอบ และจัดการนำสายสื่อสารที่ไม่มีการใช้งาน หมดอายุลงจากเสา ไม่ปล่อยให้ห้อยระโยงระยาง ด้วยการร่วมมือกันจัดการคาดว่าปัญหาสายสื่อสารรกรุงรังจะสามารถแก้ไขได้” นายไตรรัตน์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลเรียก 'ปภ.-กสทช.-โอเปอเรเตอร์' สางปัญหาระบบเตือนภัยประชาชน
'รองนายกฯ ประเสริฐ' เรียก 'ปภ.-กสทช.-โอเปอเรเตอร์' สางปัญหาระบบเตือนภัยประชาชน วางระบบ-ขั้นตอนเคร่งครัด ย้ำให้ประสานงานกันใกล้ชิด แจ้งเตือนภัยฉุกเฉินให้ถึงประชาชนอย่างรวดเร็ว
กองเชียร์อิ๊งค์ โยนผิดให้ กสทช. ฝั่งตรงข้ามสวน ปภ. ก็ส่งหนังสือแจ้งหลังแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวที่เมียนมาส่งผลกระทบไทย ทำให้หลายจังหวัดได้รับความเสียหาย แต่การแจ้งเตือนภัยที่ล่าช้ากลับกลายเป็นประเด็นถกเถียงระหว่าง กสทช. และกรมป้องกันฯ หลังมีการแชร์เอกสารด่วนของรัฐบาล สร้างความสับสนถึงความรับผิดชอบในครั้งนี้
ส่งวิศวกร 130 คน ตรวจสอบอาคาร 700 เคส เร่งช่วยเหลือผู้ติดในตึกถล่ม
ผู้ว่าฯชัชชาติ ลั่นกรุงเทพฯ พร้อมปฏิบัติภารกิจเร่งด่วน หลังแผ่นดินไหว ส่งวิศวกรอาสา 130 คนตรวจสอบอาคารที่ได้รับผลกระทบกว่า 700 เคส และให้รอฟังความปลอดภัยก่อนเปิดอาคาร ด้านการคมนาคมยังดำเนินการตามปกติ ขอประชาชนให้ตั้งสติและไม่ตื่นตระหนก
กทม.-โยธาฯ สั่งปิดตึก 'ทศมินทราธิราช' เร่งตรวจสอบอีก 700 เคส หลังแผ่นดินไหว
กรุงเทพฯ-กรมโยธาธิการและผังเมืองเตรียมพร้อมลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารในกรุงเทพฯ หลังเหตุแผ่นดินไหว สั่งปิดอาคารทศมินทราธิราช โรงพยาบาลราชวิถี เพื่อความปลอดภัย พร้อมเร่งตรวจสอบกว่า 700 เคสจาก Traffy Fondue วันนี้
'ชัชชาติ' ลงนามขอ 'วิศวกร' ช่วยตรวจสอบอาคารกระทบแผ่นดินไหว
ผู้ว่าฯ กทม. ลงนามขอการสนับสนุนจากสมาคมผู้ตรวจสอบอาคารและวิศวกรเอกชน ร่วมตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว