'เครือซีพี' เตรียมยกระดับตัวเองเป็น Tech Company

“เครือซีพี” เดินหน้าสู่เป้าหมายการเป็น Tech Company ผนึกกำลังองค์กรชั้นนำระดับโลก MIT – Plug and Play พร้อมหน่วยงานเทคโนโลยีจากจีน-สิงคโปร์ ตั้งเครือข่ายองค์กรพันธมิตรด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี “CPG Open Innovation Ecosystem Partner”

17 ธ.ค. 2564 เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) จัดงาน “CPG Open Innovation Ecosystem Partner Day” เพื่อเปิดตัวความร่วมมือครั้งสำคัญด้านงานวิจัยและนวัตกรรมระหว่าง เครือซีพีและพันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งจากทั่วโลกในฐานะ“เครือข่ายองค์กรพันธมิตรในระบบนิเวศนวัตกรรม” หรือ “Innovation Ecosystem Partner” ประกอบด้วย โครงการความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology Industrial Liaison Program – MIT ILP) Plug and Play Tech Center ผู้นำด้านเทคเวนเจอร์จากซิลิคอนวัลเลย์, Enterprise Singapore หน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านนวัตกรรมและสตาร์ทอัพของสิงคโปร์, สำนักงานนวัตกรรมและความร่วมมือ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Science Innovation Cooperation Center Bangkok), มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส (University of California, Davis) และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

โดยตัวแทนจากแต่ละหน่วยงานในเครือข่ายพันธมิตรฯ Innovation Ecosystem Partner และผู้บริหารจากซีพีเอฟ ซีพีออลล์ สถาบันปัญญาภิวัฒน์ ทรูดิจิทัลพาร์ค ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ แนวคิด และองค์ความรู้ด้านงานวิจัยและนวัตกรรมที่หลากหลายร่วมกัน โดยมี ดร.จอห์น เจียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวต้อนรับพร้อมร่วมเสนอมุมมองของเครือซีพีในการสร้างระบบนิเวศทางนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) โดยได้รับความสนใจจากผู้บริหารและพนักงานในกลุ่มธุรกิจของเครือซีพี เข้าร่วมงานที่ทรูดิจิทัลพาร์ค และผ่านการประชุมออนไลน์อย่างคับคั่ง ทั้งนี้ความร่วมมือกับหน่วยงานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากทั่วโลกดังกล่าวนับเป็นการตอกย้ำวิสัยทัศน์ความมุ่งมั่นของเครือซีพีที่จะพาธุรกิจในเครือฯ ก้าวเข้าสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี

ดร.จอห์น เจียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สอดคล้องกับนโยบายของเครือฯ ตามวิสัยทัศน์ของประธานคณะผู้บริหาร นายศุภชัย เจียรวนนท์ ที่จะนำพาเครือฯซีพีเข้าสู่การเป็นองค์กรด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพราะธุรกิจจากนี้จะต้องปรับตัวสู่รูปแบบที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น และต้องมีการนำงานวิจัยวิทยาศาสตร์มาสร้างนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ฉะนั้นจึงต้องยกระดับศักยภาพของเครือซีพีในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตเคียงคู่สังคมในหมุดหมายที่จะเป็น “ผู้นำด้านเทคโนโลยี” โดยขณะนี้เครือซีพีและบริษัทในเครือฯให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยี Biotech, Foodtech, Cleantech, AI, Robotics & Automation, E-Commerce, Data Analytic, Data Security, Cloud Technology, และ Digital Media รวมถึงการให้ความสำคัญด้านการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนลงทุนในการพัฒนาบุคลากร ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป

“การร่วมมือกับพันธมิตรที่แข็งแกร่งระดับโลกทั้ง MIT, Plug and Play Tech Center, Enterprise Singapore และอีกหลายองค์กรที่อยู่ใน Innovation Ecosystem จะทำให้เครือซีพีบรรลุศักยภาพพอที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้งในด้านการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนากับเครือข่ายองค์กรชั้นนำระดับโลกที่สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาเทคโนโลยีให้เข้ากับธุรกิจของเครือฯ รวมไปถึงการมีตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมเพื่อเตรียมความพร้อมด้าน Digital Transformation ซึ่งจะทำให้เครือซีพีสามารถไปถึงเป้าหมายในการเป็น Tech Company”ดร.จอห์น เจียงกล่าว

ด้านนาย Shawn Dehpanah รองกรรมการผู้จัดการภูมิภาคเอเชียแปฟิก Plug and Play กล่าวว่า Plug and Play มีความยินดีอย่างมากที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับองค์กรชั้นนำในด้านอุตสาหกรรมอาหาร ค้าปลีก การสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของธุรกิจที่ต้องปรับตัวอย่างมากกับการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ร่วมมือร่วมกับเครือซีพีในการค้นคว้าและวิจัยเพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพธุรกิจให้แก่กลุ่มธุรกิจในเครือฯ และหวังอย่างยิ่งว่าความร่วมมือกับเครือซีพีในการขยายแพลตฟอร์มนวัตกรรมขององค์กรจะเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จที่สำคัญในการนำพาองค์กรไทยก้าวสู่ผู้นำแห่งเทคโนโลยีผ่านการปรับใช้ และเรียนรู้วิธีการทำงานกับสตาร์ทอัพได้

ด้าน Dr.Todd Glickman, Senior Director of Corporate Relations จากโครงการความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม (ILP) ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ MIT กล่าวว่า เครือซีพีเป็นองค์กรเอกชนชั้นนำของไทยที่มีความหลากหลายทั้งในด้านของอุตสาหกรรม การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี ซึ่งคณาจารย์และนักวิจัยของ MIT ที่มีประสบการณ์ความร่วมมือในการทำวิจัยร่วมกับกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่กว่า 240 โครงการทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการเข้ามาร่วมมือกับเครือซีพีในครั้งนี้ โดยความร่วมมือระหว่างซีพีกับ MIT ในครั้งนี้จะเน้นที่การร่วมกันศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ในด้านของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำมาปรับประยุกต์ใช้ในธุรกิจของเครือฯ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักวิจัยจาก MIT และพนักงานของเครือซีพี ที่จะร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและประเทศต่อไป

นางสาว Charlene Young จาก Enterprise Singapore หน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านนวัตกรรมและสตาร์ทอัพของสิงคโปร์ กล่าวว่า นับเป็นความภาคภูมิใจของ Enterprise Singapore ที่มีโอกาสร่วมมือกับเครือซีพี ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำธุรกิจหลากหลายและมีชื่อเสียงระดับโลก ในการร่วมกันพัฒนานวัตกรรมและผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างศักยภาพให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีของโลกในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘อิ๊งค์’ โชว์30บ. เวทีผู้นำเอเปก

นายกฯ อิ๊งค์โชว์ผลงาน 30 บาทรักษาทุกที่ บนเวทีผู้นำภาคเอกชนเอเปก พร้อมชวนลงทุนด้านธุรกิจดูแลสุขภาพในไทย มั่นใจหลังให้นโยบาย “บีโอไอ”

นายกฯอิ๊งค์ โชว์ 30 บาทรักษาทุกโรค บนเวทีสุดยอดผู้นำภาคเอกชนเอเปก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อ 15 พ.ย. 2567 เวลา 16.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงลิมา ซึ่งช้ากว่ากรุงเทพฯ 12 ชม.) ณ the Grand National Theater of Peru กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมน

'แพทองธาร' หารือทวิภาคี 'สี จิ้นผิง' จีนยันสนับสนุนไทยในเวทีระดับโลกทุกมิติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อ 15 พ.ย. 2567 เวลา 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงลิมา ประเทศเปรู ซึ่งช้ากว่าไทย 12 ชั่วโมง) โรงแรม Delfines Hotel

'บาส หัสณัฐ' ปลื้มแฟนจีนแห่ต้อนรับสุดอบอุ่น เผยเตรียมลุยคอนเสิร์ตเดี่ยว

มีโอกาสได้ไปร่วมโชว์ในงาน "Trance Music Festival" ที่กุ้ยหลิน ประเทศจีน เมื่อวันก่อน ทำเอานักแสดงหนุ่มหน้าใส "บาส-หัสณัฐ พินิวัตร์" เจ้าของฉายา "บาสเด็กอ้วนที่แท้จริง" ปลื้มสุดๆ เพราะมีแฟนๆชาวจีนมาให้กำลังใจล้นหลาม งานนี้เจ้าตัวเลยมาเล่าถึงการทำงานที่จีน พร้อมทั้งอัปเดตคอนเสิร์ตเดี่ยวที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนธันวาคมนี้

เอาแน่ 'คมนาคม' เร่งศึกษาค่าธรรมเนียมรถติด

“คมนาคม” เดินเครื่องศึกษามาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด เปิดโมเดล 4 ประเทศ “อังกฤษ-สิงคโปร์-สวีเดน-อิตาลี” พบช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดอย่างเป็นรูปธรรม ด้าน สนข. เร่งศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ ชี้ช่วยดึงดูดประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เชื่อมระบบฟีดเดอร์-ขนส่งหลัก หนุนนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย