สยามเทคโนโพลเผยผลสำรวจเรื่องดิจิทัล วอลเล็ต 53.89%ชี้คนยากจน-ชายขอบเข้าไม่ถึง เสียงส่วนใหญ่ 40.78% หนุนให้เดินหน้าต่อไม่ต้องปรับปรุง!
19 ต.ค.2566 - ผศ.ดร.พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม และ ประธานคณะกรรมการ สำนักวิจัย สยามเทคโนโพล กล่าวว่า คณะทำงานของสำนักวิจัย สยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ได้เสนอผลสำรวจ เรื่อง เสียงประชาชนต่อเงินดิจิทัล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 16 ปีขึ้นไปในย่านฝั่งธนบุรีและต่างจังหวัด จำนวน 1,210 ตัวอย่าง ในการวิเคราะห์ทางสถิติ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 12 - 17 ตุลาคม พ.ศ.2566 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95
โดยเมื่อถาม ถึง กลุ่มคนได้ประโยชน์จากนโยบายแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาล พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 51.27 ระบุ ประชาชนชาวบ้านทุกระดับรายได้ตามเกณฑ์อายุที่กำหนด รองลงมาคือร้อยละ 48.28 ระบุ ชาวบ้านผู้มีรายได้น้อย ร้อยละ 43.22 ระบุ รัฐบาลได้คะแนนนิยมจากประชาชน ร้อยละ 38.70 ระบุ ร้านค้าโชว์ห่วย ร้านขายของชำ ร้อยละ 34.99 ระบุ กลุ่มทุนขนาดใหญ่ ของกินของใช้ ร้อยละ 34.72 ระบุ เศรษฐกิจชุมชน และร้อยละ 29.75 ระบุ ธุรกิจด้านเทคโนโลยี ออกแบบ เงินดิจิทัล
ที่น่าพิจารณาคือ ข้อกังวลของประชาชนต่อผลกระทบจาก มาตรการแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาล พบว่า ร้อยละ 53.89 ระบุประชาชนผู้ยากไร้ ห่างไกล เทคโนโลยี ชายแดน ชายขอบ เข้าถึงเงินดิจิทัลยาก ร้อยละ 43.04 ระบุ การทุจริตเชิงนโยบายคนเฉพาะกลุ่มได้ประโยชน์ ร้อยละ 41.95 ระบุ เกิดภาวะเงินเฟ้อ ข้าวของราคาแพง หน่วยงานรัฐ ควบคุมไม่ได้ ร้อยละ 40.69 ระบุประชาชน เสียวินัย การเงิน ขาดความรับผิดชอบ ร้อยละ 37.52 ระบุการสวมสิทธิ์ กลุ่มประชาชนที่เข้าถึง เทคโนโลยี ได้ยาก ร้อยละ 33.27 ระบุ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวมได้รับความเสียหาย ร้อยละ 32.19 ระบุ คนเสียภาษี ผู้จ่ายภาษี ได้รับผลกระทบ และร้อยละ 27.22 ระบุ ประเทศไทยสูญเสียโอกาส พัฒนาที่ยั่งยืน
ที่น่าสนใจคือ ความคิดเห็นของประชาชนต่อ คำถามที่ว่า รัฐบาลควรทบทวนปรับปรุง หรือ เดินหน้าต่อ นโยบายแจกเงินดิจิทัล ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 40.78 ระบุเดินหน้าต่อ ไม่ต้องปรับปรุงอะไร ในขณะที่ร้อยละ 32.82 ระบุ เดินหน้าต่อ แต่ควรปรับปรุง และร้อยละ 26.40 ไม่มีความเห็น
ด้าน ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ที่ปรึกษาและอาจารย์หลักสูตรความปลอดภัยทางไซเบอร์และในฐานะศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์ชทาวน์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ กล่าวสนับสนุนนโยบายแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาลในแง่ของการกระจายทรัพยากรครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงแต่มีข้อเท็จจริงที่น่าพิจารณาคือ ประชากรชายขอบตามแนวชายแดนใน 31 จังหวัดและพื้นที่อับเทคโนโลยีอย่างน้อย 6 ล้านคนมูลค่าไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาทที่ควรได้รับการออกแบบให้ครอบคลุมประชาชนกลุ่มนี้
“แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ จุดอ่อนที่นำไปสู่ช่องโหว่ ภัยคุกคาม ต่อนโยบายแจกเงินดิจิทัล โดยพบว่าจุดอ่อนที่สุดในโลกไซเบอร์คือตัวอุปกรณ์และความตระหนักรู้ด้านเทคโนโลยีและความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่จำกัดของประชาชนชาวบ้านทั่วไป อุปกรณ์มือถือคุณภาพต่ำที่ไม่มีการป้องกันระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์เพียงพอ ทำให้อุปกรณ์ของประชาชนหลายสิบล้านเครื่องอาจจะถูกยึดครอง (Hijack)โดยขบวนการมิจฉาชีพในโลกไซเบอร์ ด้วยการฝังเฟิร์มแวร์และอื่น ๆ สามารถยึดครองอุปกรณ์หลายสิบล้านเครื่องของประชาชนได้อาจส่งผลทำให้เกิดภัยคุกคามต่อระบบกระเป๋าเงินดิจิทัลของรัฐบาลจนไม่สามารถทำงานบริการต่อประชาชนได้ที่เรียกกันว่า DDOS โดยภายในตัวบล็อกเชน (Blockchain) มีความปลอดภัยสูงอาจจะโจมตียากแต่ก็โจมตีได้เพราะบล็อกเชนไม่สามารถเป็นอยู่โดยอิสระเมื่อมีการเชื่อมต่อย่อมมีช่องโหว่และภัยคุกคามเกิดขึ้นได้” ผศ.ดร.นพดล กล่าว
ที่ปรึกษาและอาจารย์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม กล่าวต่อว่า แนวทางป้องกันแก้ไขคือ การใช้บัตรประชาชนใบเดียวในการใช้จ่ายเงินดิจิทัลของรัฐบาล มีผลดีอย่างน้อย 2 มิติคือ มิติด้านโอกาสของรัฐบาลจะทราบข้อเท็จจริงการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนนำข้อมูลมาออกแบบเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศได้ และมิติความปลอดภัยทางไซเบอร์จะเกิดขึ้นเพราะมีการถ่ายโอนความเสี่ยง (Risk Transfer) จากอุปกรณ์คุณภาพต่ำของประชาชนทั่วไปไปยังหน่วยงานรัฐ องค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ สถาบันการเงิน การธนาคารและผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูงกว่า รัฐบาลก็จะบรรลุเป้าหมายการลดความเดือดร้อนของประชาชน เพิ่มคะแนนนิยม และความมั่นคงของชาติ ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองควบคู่ไปด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เด็ดปีก 'มังกรเทาดำ' ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยึดทรัพย์ 152 ล้าน
ตำรวจภาค 2 เด็ดปีก 'มังกรเทาดำ' ทลายเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์เปิดบริษัทฟอกเงิน ยึดทรัพย์คฤหาสน์-รถหรู 152 ล้านบาท
‘จุลพันธ์’ แย้มรายละเอียดดิจิทัลวอลเล็ต เข้า ครม. เมื่อผูกกับเม็ดเงินเสร็จ
รมช.การคลัง เผยรายละเอียดดิจิทัลวอลเล็ตเข้า ครม. เมื่อผูกกับเม็ดเงินแล้วเสร็จ ยันมีความคืบหน้าในหลายด้าน
'ก้าวไกล' ชิงเปิดตัวพรรคใหม่ สกัด สส.งูเห่า จับตา 'เศรษฐา' ส่อรอด
'จตุพร' อ่านเกมก้าวไกลชิงตั้งพรรคใหม่ สกัด สส. แตกแถว หวั่นถูกเงินทุนล่อไปอยู่ฝ่ายรัฐบาล วิเคราะห์โดนอำนาจวาง 3 กับดักทำลายให้สิ้นซาก ปลุก ปชช. ขอเงินสดแทนเงินหมื่นดิจิทัล
แชร์สนั่น! เตือนผู้ค้ารายย่อย ระวังเข้าร่วมดิจิทัลวอลเล็ต จะกลายเป็นเหยื่อบนผืนทราย
นายปฏิพล อภิญญาณกุล นักเขียนชื่อดัง โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Padipon Apinyankul ว่า ระวัง .. "เหยื่อบนผืนทราย" พ่อค้า แม่ค้า ร้านค้ารายย่อย ที่จะร่วมโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต พึงระวัง
นายกฯ ปลื้มทะลุ 18 ล้านคน แห่ลงทะเบียนรับเงินหมื่น แย้มรอฟังข่าวดีจาก พณ.
นายกฯ พอใจประชาชนตื่นตัวลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ตวันแรก เตรียมหารือป้องกันแอปปลอมระบาด- ข้อมูลรั่วไหล-แลกเงินสด แย้มรอฟังข่าวดีจากกระทรวงพาณิชย์
ระวังโจรออนไลน์! ยืนยันตัวตน 'ดิจิทัลวอลเล็ต' ผ่านแอปทางรัฐ-จุดวอล์กอินรัฐ
รัฐบาลย้ำเตือน ปชช. ลงทะเบียนยืนยันตัวตนเข้าร่วมโครงการ 'ดิจิทัลวอลเล็ต' ผ่านแอปทางรัฐ และจุดเปิดให้บริการ 5,207 แห่งเท่านั้น อย่าหลงเชื่อโจรออนไลน์