16 ต.ค. 2566 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (รมว.ดีอี) กล่าวว่า ในช่วง ที่ผ่านมา ปัญหา โจรออนไลน์ แก๊งคอลเซนเตอร์ การหลอกลวงออนไลน์ มีความรุนแรงมาก ในระยะเวลาหนึ่งปี เจ็ดเดือน ตั้งแต่ มีนาคม 65 – กันยายน 66 มีจำนวนคดีมากถึง 336,896 คดี เฉลี่ยวันละ 585 คดี ความเสียหายสูงถึง 45,700 ล้านบาท เฉลี่ยวันละ 80 ล้านบาท การทำงานป้องกันปราบปรามแบบเดิม ๆ คงไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้
ตน (รมว. ดีอี) จึงมีนโยบายยกเครื่อง ปรับเปลี่ยนการทำงานครั้งใหญ่ นอกจากการจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์ (Anti-Online Scam Operation Center) การตั้งทีมเฉพาะกิจปราบโจรติดตามเส้นทางการเงิน การดึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียขนาดใหญ่ช่วยงาน ดีอี และ อีกหลายเรื่องเพื่อป้องกันปราบปรามโจรออนไลน์แล้ว ในวันนี้ ก็เป็นดำเนินการอีกเรื่องที่สำคัญ เป็นการบูรณาการ ดึงกำลังของหลายหน่วยงาน ติดดาบ บุคคลากรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการคลัง โดยการพัฒนาความรู้และทักษะ เรื่องอาชญากรรมออนไลน์สมัยใหม่ วิธีการสืบสวนสอบสวน การเก็บ รวบรวม พิสูจน์หลักฐาน และวิธีการทำงานเรื่องโจรออนไลน์ของต่างประเทศ เพื่อร่วมปราบโจรออนไลน์
โดยวันนี้ 16 ต.ค. 2566 เวลา 09:00 น. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว. ดีอี ได้เปิดการอบรม “การเตรียมความพร้อมผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวน” เป็นการอบรมอย่างเข้มข้น ระยะเวลา 5 วัน ก่อนการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. คอมฯ โดยมีบุคคลากรจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หลายกองบัญชาการ เช่น กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และกองบัญชาสืบสวนสอบสวนการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี (ตำรวจไซเบอร์) เป็นต้น รวมทั้ง จาก กรมสอบสวนคดีพิเศษ (dsi) และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ของกระทรวงยุติธรรม และ กรมสรรพากร ของกระทรวงการคลัง เป็นต้น โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมครั้งนี้ ประมาณ 100 คน ซึ่งเมื่ออบรมจบ 5 วันเต็มแล้ว จะต้องมีการทดสอบความรู้ก่อน ถึงจะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พรบ. คอมฯ
สำหรับหัวข้อในการอบรม ประกอบด้วย อาชญากรรมออนไลน์สมัยใหม่ กฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญาที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิธีการสืบสวนสอบสวน การพิสูจน์หลักฐานการสืบสวนทางเทคนิค การตรวจสอบหมายเลข IP Address แหล่งที่มาของการกระทำความผิด การวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูล /พยานหลักฐานข้างต้น (Principles of Computer Forensics and Digital/Electronic Evidence Crime scene, Digital/Electronic Evidence and Chain of Custody) การเก็บ การตรวจพิสูจน์หลักฐานดิจิทัลโดยใช้โปรแกรมเฉพาะทาง การรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ วิธีการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมออนไลน์ของต่างประเทศ เป็นต้น
นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าวว่า รัฐมนตรี ประเสริฐ ให้นโยบาย ดีอี ต้องดึงกำลังของหน่วยงานต่าง ๆ ช่วยงาน เร่งเพิ่มพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. คอมฯ เร่งให้ความรู้และเครื่องมือทันสมัยปราบโจรออนไลน์ สำหรับ ระยะเร่งด่วนใน 2 เดือนนี้ ตั้งเป้าหมายพัฒนา พนักงานเจ้าหน้าที่ให้ได้จำนวน 500 คน ซึ่ง ดีอี จะมีการจัดอบรมและสอบพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. คอมฯ โดยเร็ว จากวันนี้ อีก 3 รุ่น เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการป้องการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ และขอเชิญชวนหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามโจรออนไลน์ หรือ หน่วยงานที่มีความสนใจพัฒนาทักษะความรู้ ด้านอาชญากรรมออนไลน์สมัยใหม่ สามารถติดต่อมาที่ ดีอี ได้ ซึ่งอาจเป็นการอบรมพัฒนาทักษะความรู้ โดยไม่ต้องสอบเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. คอมฯ ก็ได้ ดีอี ยินดีหารือเพื่อจัดหลักสูตรที่เหมาะสมตามความต้องการของหน่วยงานได้
สำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. คอมฯ มีอำนาจหน้าที่ ในการเรียกพยานหลักฐาน สืบสวนสอบสวน ตาม พรบ.คอมฯ อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยข้อมูล การใช้อำนาจในทางมิชอบ มีความผิด โทษจำคุก 3 ปี หรือ ปรับ 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
“การจัดอบรม พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. คอมฯ เป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อให้ บุคคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการคลัง มีความรู้และทักษะสำคัญในการ สืบสวนสอบสวน เก็บรวมรวมพยายหลักฐานทางดิจิทัล ใช้โปรแกรมเฉพาะทางดิจิทัล รู้จักการวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัลสมัยใหม่ รู้วิธีการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ที่เหมาะสม ทั้งของไทยและ วิธีการในต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ของไทย แก้ปัญหาให้คนไทยโดยเร็ว” รัฐมนตรีประเสริฐ กล่าวในตอนท้าย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็ก 41 รายชื่อแต่งตั้งนายพลสีกากี ระดับ รองผบ.ตร.-ผบช. วาระประจำปี 2567
การประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่มีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 21 พ.ย.2567 ได้มีมติเห็นชอบบัญชีรายชื่อแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
'บิ๊กต่าย' สั่งสอบ 'พ.ต.ต.' อาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ กระทำอนาจาร
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เปิดเผยกรณีเพจดังเผยแพร่ข้อมูลระบุว่า มีนักเรียนนายร้อยตำรวจ ถูกอาจารย์ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และสารวัตร (สอบสวน) สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล
เคาะแล้ว! ก.ตร. แต่งตั้ง รองผบ.ตร.-ผบช. 'สยาม บุญสม' ม้ามืดผงาดนครบาล
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ครั้งที่ 10/2567 โดยวาระสำคัญ คือวาระที่ 4 เรื่องที่ 4 การคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ วาระประจำปี 2567 ระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ถึงผู้บัญชาการ (ผบช.) เป็นการใช้ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เป็นครั้งแรก
นายกฯ ถึงไทย ‘บิ๊กต่าย’ เข้ารายงานปมร้อน จัดโผแต่งตั้ง รองผบ.ตร- ผบช. 20 พ.ย.นี้
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้เข้ารายงานนายกฯถึงการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ครั้งที่10/2567 ในวันที่ 20 พ.ย.นี้ เวลา 14.30 น.
ตำรวจกองปราบ หิ้ว ‘เจ๊พัช’ ตบทรัพย์ดิไอคอน ฝากขังศาลทุจริตฯ พร้อมค้านประกัน
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้คุมตัวน.ส.กฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์ หรือ เจ๊พัช ประธานอำนวยการศูนย์ประสานงานส่งเสริมเครือข่าย-ออนไลน์ ผู้ต้องหาในข้อหา กรรโชกทรัพย์ และการเรียกรับสินบน
โผสีกากีป่วน! นักวิ่งโชว์ตัวเจ้าของร้าน มาม่า ผงาดเก้าอี้ใหญ่ สายอดีตนายกฯคุมไซเบอร์
การปรับโผแต่งตั้งนายพลโค้งสุดท้าย เกิดขึ้นภายหลังจากช่วงเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา มีอดีตรัฐมนตรีตัวอยู่พรรคหนึ่งใจอยู่อีกพรรคหนึ่ง นำ 3 ตำรวจที่ครองอาวุโสเพียง 3 ปี เข้าไปพบเจ้าของร้านมาม่าดูตัว ก