“จุลพันธ์” ยันเองไม่มีปรับลดกรอบวงเงินดิจิทัลวอลเล็ต จาก 5.6 แสนล้านบาท เหลือ 4 แสนล้านบาท เปิดช่องกรองคนรวยพ้นโครงการ
14 ต.ค. 2566 – นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เปิดเผยว่า กระแสข่าวว่าจะมีการปรับลดวงเงินโครงการจาก 5.6 แสนล้านบาท เหลือ 4 แสนล้านบาท และ ปรับกลุ่มผู้ได้รับสิทธิ์ได้รับเงินดิจิทัลเป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสเท่านั้น เรื่องนี้ไม่ถูกต้องทั้งสิ้น ยังไม่มีการหารือในชั้นคณะอนุกรรมการ และไม่มีข้อสรุปใด ๆ ทั้งสิ้น
“ประเด็นลดวงเงินเหลือ 4 แสนล้านบาท ผมไม่เคยพูดไปเอาตัวเลขมาจากไหน นโยบายนี้เป็นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ใช้นโยบายดูแลกลุ่มผู้ยากไร้ นโยบายสงเคราะห์ แต่เป็นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้ทั่วถึง แต่เมื่อมีเสียงคัดค้าน ข้อเสนอแนะ ก็พร้อมรับฟัง เช่น มาตรการสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่ เพราะจะเป็นการนำเงินดิจิทัลไปทดแทนวงเงินใช้จ่ายปกติเท่านั้น ก็ต้องเอาประเด็นนี้มาพิจารณา” นายจุลพันธ์ กล่าว
รมช.คลัง กล่าวอีกว่า หากมีการแบ่งว่าใครควรได้รับสิทธิ์ จะพิจารณาอย่างไร ว่าใครรวยใครจน พิจารณาจากการยื่นภาษีกรมสรรพากร หรือพิจารณาจากเงินฝากในบัญชี ซึ่งก็ต้องระมัดระวังเรื่องกฎหมายพีดีพีเอ หรือ พิจารณาจากการถือครองที่ดิน สุดท้ายทั้งหมดคงต้องมีกลไกทางวิทยาศาสตร์ บอกว่าใครรวยจริง คณะอนุกรรมการในชุดต่าง ๆ ต้องไปพิจารณา แล้วกลับมาเสนออีกครั้งในสัปดาห์หน้า
สำหรับกระบวนการได้สิทธิ์ดิจิทัลวอลเล็ต ยืนยันว่าไม่ใช่ลงทะเบียน แต่ต้องมีกระบวนการพิสูจน์ตัวตนเพราะเป็นไปตามระเบียบและกฎหมายของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะเป็นการใช้เงินดิจิทัลเทียบเงินบาท จากข้อมูลในมาตรการต่าง ๆ ที่ผ่านมา มีประชาชน ยืนยันตัวตนแล้วกว่า 40 ล้านคน ยังเหลืออีก 10 กว่าล้านคน ต้องยืนยันตัวตนเพิ่มเติม เป็นการยืนยันรับสิทธิ์ ไม่ใช่การพิสูจน์สิทธิ์
“ต้องใช้บัตรประชาชนในการยืนยันสิทธิ์ และต้องมีบัญชีเงินฝากส่วนตัวผูกบัญชีไว้ ซึ่งกระบวนการยืนยันตัวตน จะต้องทำให้เสร็จก่อนที่จะมีการโหลดแอพพลิเคชั่นดิจิทัล วอลเล็ต ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ คณะทำงานต้องไปทำรายละเอียดมา” นายจุลพันธ์ กล่าว
นายจุลพันธ์ กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมรับฟังข้อเสนอให้ปรับลดวงเงิน แต่กลไกต้องอยู่ในกรอบเหมาะสม และไม่กระทบเศรษฐกิจโดยรวม แต่ละสัปดาห์ก็แบ่งงานกันไปทำชัดเจน เพื่อสามารถมาทำโครงการได้โดยไม่ให้มีผลกระทบน้อยสุด ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะใช้น้อยกว่า 5.6 แสนล้านบาท
เบื้องต้น จากข้อมูลปัจจุบันพบว่า 1.ประชาชนที่ได้สิทธิ์ อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี จะเหลืออยู่ราว 54.8 ล้านคน จาก 56 ล้านคน 2. การพิจารณาอยู่ใครจำเป็นไม่จำเป็น ไม่มีใครตอบได้ ต้องฟังเสียง นักวิชาการ ประชาชน และรอคณะอนุกรรมการ ไปพิจารณาดูว่าคนกลุ่มไหน ไม่ควรต้องได้สิทธิ์ และให้คำตอบมาก่อน และ 3.กระบวนการครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่ได้สิทธิ์จะใช้สิทธิ์กันครบ
อย่างไรก็ดี รัฐบาลพร้อมรับฟังข้อเสนอ และปฏิบัติตามแนวทางที่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และ กลุ่มนักวิชาการ ท้วงติงความเหมาะสมโครงการ และยืนยันว่าจะยึดมั่นกรอบวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด ที่ผ่านมาก็เป็นรัฐบาลที่ทำงบประมาณแบบสมดุลได้ แต่ถ้าถามว่าโตต่ำกว่าศักยภาพมาโดยตลอด ถ้าขยายตัวในระดับ 2% ต่อปี ประชาชนก็ไม่พึงพอใจ
“ถ้าบอกเศรษฐกิจดีแล้ว วันนี้ คงไม่มีนายกรัฐมนตรี ชื่อ นายเศรษฐา ทวีสิน ประชาชนคงไม่เลือกเข้ามาแก้ปัญหา ซึ่งกระบวนการทำให้เศรษฐกิจโต ก็มีไม่กี่อย่าง กลไกหนึ่งคือการกระตุ้นบริโภคภาคเอกชน” นายจุลพันธ์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นิพนธ์' ซัดรัฐบาลแจกเงินหมื่น เฟส 2 หวังผลการเมือง ไม่ใช่กระตุ้นเศรษฐกิจ
นายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย-อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตนายก อบจ. พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ เฟส 2 ของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีการแจกเงินสด 10,000 บาท ให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่ลงทะเบียนในระบบและยืนยันตัวตนแล้ว รวมกว่า 4 ล้านคน
ป้า 67 ป่วยหลายโรค หาบเร่ขายของเลี้ยงชีพ หวังได้เงินหมื่น เฟส 2 หวั่นตกหล่น บัตรคนจนก็ไม่มี
บุรีรัมย์ ป้า 67 ป่วยความดัน มีก้อนเนื้อที่คอ แต่ต้องหาบเร่ขายของเลี้ยงชีพและลูกพิการ หวังได้เงินหมื่น เฟสสอง มาแบ่งเบา
รัฐบาลเคาะแจกเงินหมื่น เฟส 2 ให้คนอายุ 60 ปีขึ้นไป ก่อนวันตรุษจีนปี 68
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งที่ 1/2567 โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การคลัง
จับตา นายกฯอิ๊งค์ นั่งบอร์ดกระตุ้นเศรษฐกิจวันนี้ เคาะแก้หนี้ - แจกเงินหมื่นรอบใหม่
"คลัง" เตรียมชงบอร์ดนโยบายฯ เคาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแพ็กเกจใหญ่ 19 พ.ย.นี้ เดินหน้า "แก้หนี้-อุ้มอสังหาฯ-มาตรการภาษี-ดิจิทัลวอลเล็ต" ปูพรมกระตุ้นตั้งแต่ปลายปีนี้- จนถึงปีหน้า