‘เศรษฐา’ย้ำต้องบริหารจัดการน้ำรอบด้าน พร้อมตั้งเป้าให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์สันดาปสุดท้ายของโลก ด้าน ส.อ.ท. เปิด 8 ข้อเสนอนายก เร่งสรุปแอคชั่นแพลนใน 1-2 สัปดาห์ ก่อนพัฒนาแผนทำงานร่วมกัน
8 ต.ค. 2566 – นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังเข้าพบนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อหารือและนำเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า ส.อ.ท.ได้นำเสนอข้อเสนอแนะแก่นายกรัฐมนตรี ที่ประกอบด้วยข้อเสนอแนะ 8 ข้อหลัก จาก 70 ข้อ โดยมุ่งเน้นการพัฒนา 3 ด้าน คือ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน การขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ(จีดีพี) ให้เติบโตมากขึ้น และความยั่งยืน ทั้งเรื่องการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG
“นายเศรษฐายังเน้นย้ำถึงปัญหาภัยแล้งที่จะหนักหน่วง โดยเฉพาะช่วง เม.ย. 2567 ต้องบริหารจัดการน้ำรอบด้าน การเพิ่มเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ให้ดูแลค่ายรถญี่ปุ่นที่ยังผลิตรถยนต์สันดาปภายใน หรือ ไอซีอี ในฐานะผู้มีพระคุณของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เพื่อเป็นฐานผลิตสุดท้ายของโลก หรือ ลาสต์แมนสแตนดิ้ง อีก 15 ปีข้างหน้า เพราะไทยเป็นซัพพลายหลักของโลก จ้างงานถึง 6 แสนคน”นายเกรียงไกร กล่าว
โดย 8 แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อส่งเสริม อีสออฟดูอิ้งบิสซิเนสและเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ 2.การพัฒนาบุคลากร เพิ่มผลิตภาพแรงงาน และแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานทั้งระบบ 3.การบริหารจัดการด้านพลังงานทั้งระบบรองรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน 4.การส่งเสริมการส่งออก การค้า และสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5.การยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม และดิจิทัล 6.การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรนํ้า และการมุ่งสู่เป้าหมายเน็ตซีโร่ 7.การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 8.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรม
โดย 8 แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ได้แก่ 1. การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อส่งเสริมและเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้การปฏิรูปกฎหมายเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมกับบูรณาการในการออกกฎหมาย กฎระเบียบ และแนวทางปฏิบัติระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้เกิดความชัดเจนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมศูนย์บริการและขอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐ 2. การพัฒนาบุคลากร เพิ่มผลิตภาพแรงงาน และแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานทั้งระบบ โดยการปรับอัตราค่าจ้างขั้นตํ่าควรเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ค่าจ้างไตรภาคี พิจารณาสอดคล้องกับปัจจัยทางเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ และเพิ่มผลิตภาพแรงงาน พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน
3.การบริหารจัดการด้านพลังงานทั้งระบบรองรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เพื่อเร่งพิจารณาทบทวนแผนพลังงานชาติ (NEP) ฉบับใหม่ และลดภาระต้นทุนพลังงาน และค่าไฟฟ้า รวมถึงเร่งจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาพลังงาน (กรอ. พลังงาน 4. การส่งเสริมการส่งออก การค้า และสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเร่งสร้างกลไกและแผนในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่มีศักยภาพ รวมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้มีความต่อเนื่องและครอบคลุม Ecosystem ของอุตสาหกรรม พร้อมกับเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA)
5.การยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และดิจิทัล โดยสนับสนุนการลงทุนพัฒนาไปสู่ Digital Transformation 4.0 เพื่อยกระดับขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมการผลิต และขับเคลื่อนการสร้างผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม โดยออกมาตรการส่งเสริมภาคเอกชนให้เกิดการซื้อสินค้าในบัญชีนวัตกรรม เพื่อขยายตลาดเข้าสู่ตลาดภาคเอกชน 6. การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรนํ้า โดยบูรณาการการบริหารจัดการนํ้าอย่างยั่งยืน เตรียมความพร้อมในการรับมือมาตรการ Climate Change
7.การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และออกมาตรการการเงิน เสริมสภาพคล่อง เช่น มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่า , มาตรการค้าประกันสินเชื่อ , มาตรการพักดอกลดต้น เป็นต้น พร้อมปรับอัตราภาษีสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี เพื่อช่วยลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการ และในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว ลด 5% จากอัตราเดิม และ 8. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรม แก้ไขปัญหาความแออัด ณ บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง และเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขนส่งสินค้า พร้อมยกระดับด่านชายแดนเป็นจุดผ่านแดนถาวร นายเกรียงไกร
“จากการทำหนังสือยื่นเสนอนายเศรษฐา และประชุมร่วมกันนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเพียงสั้น ๆ ว่า ได้ขอให้ ส.อ.ท. ทำแอคชั่นแพลนเพื่อย่อยข้อเสนอทั้ง 8 ข้อ จากนั้นจะให้ทีมงานร่วมหารือกับ ส.อ.ท. ในแต่ละข้อเสนอเพื่อแก้ไขและผลักดันร่วมกันต่อไป โดยเราจะเร่งทำแผนให้เร็วที่สุดโดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ และต้องมีควาทกระชับ รอบคอบ โดยจะแบ่งเป็นแผนที่จะต้องทำในระยะ 3-6 เดือน แผนระยะกลางช่วง 1 ปี และแผนระยะยาวเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นอกจากนี้ยังโอเคกับการขอฟื้นคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน หรือ กรอ. “นายเกรียงไกร กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นับถอยหลัง 2567 5 ฉากร้อนการเมืองไทย
นับถอยหลังต่อจากนี้ ก็เหลือเวลาอีกแค่ 2 สัปดาห์ ก็เข้าสู่ช่วง “นับถอยหลังอำลา 2567 ต้อนรับปีใหม่ 2568” กันแล้ว
3 นายกฯ 'อิ๊งค์-ทักษิณ-เศรษฐา' ร่วมเปิดงานสัมมนาพรรคเพื่อไทย
พรรคเพื่อไทยจัดสัมนาภายใต้โครงการ เสริมศักยภาพ สส. และบุคลากรทางการเมือง มีน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯในฐานะหัวหน้าพรรค นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกฯ รวมถึงแกนนำ
หัวลำโพงคึกคัก! 'อิ๊งค์' นำทีม พท. สัมมนาหัวหิน ตื่นเต้นขึ้นรถไฟรอบ 20 ปี
’แพทองธาร‘ นำทีม ’เพื่อไทย’ ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษ มุ่งหน้าสัมมนาหัวหิน ‘เศรษฐา-โอ๊ค-เอม’ ร่วมด้วย ตื่นเต้นนั่งรถไฟรอบ 20 ปี
'เพื่อไทย' ไม่ฟังเสียงต้าน! ดันทุรังเข็น 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยตั้งแต่รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน
'อิ๊งค์' คุย กกร. ชื่นมื่น! ปลื้มอวย 'พ่อนายกฯ' แก้เศรษฐกิจเก่งสุด
นายกฯ คุย ‘กกร.’ รับข้อเสนอแก้เศรษฐกิจ จับมือเอกชนหารายได้ใหม่เข้าประเทศ ด้าน ‘สนั่น’ เชื่อมั่นรัฐบาลอิ๊งค์ พร้อมช่วยดันจีดีพีโต ชมเปาะ 'ทักษิณ' เก่งสุด
กรมชลประทานคุมเข้มบริหารจัดการน้ำรับมือฤดูมรสุมภาคใต้
นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานประชุมเตรียมความพร้อมแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 16 เพื่อเตรียมความพร้อมวางแผนรับมือในพื้นที่ภาคใต้ใกล้เข้าสู่ฤดูฝน