อจ.เศรษฐศาสตร์ ออกแถลงการณ์จี้ รัฐบาลทบทวนแจกเงินดิจิทัล ชี้ได้ไม่คุ้มเสีย

5 ต.ค. 2566 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่  3 ต.ค. ที่ผ่านมา มีการออกเป็นแถลงการณ์อาจารย์เศรษฐศาสตร์ ที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท

โดยมีเนื้อหาใจความว่า

อาจารย์เศรษฐศาสตร์ ที่มีความเห็นสอดคล้องกันได้ร่วมกันลงชื่อออกแถลงการณ์​ที่จะขอให้รัฐบาลทบทวน ‘นโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาท’ ด้วยความรอบคอบอีกสักครั้ง เพราะเป็นนโยบายที่ ได้ไม่คุ้มเสีย’ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1) เศรษฐกิจไทยกำลังค่อย ๆฟื้นตัวตามศักยภาพ คาดว่าปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.6 และ 3.8 ในปีหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ด้าสำคัญ ที่ค่อย ๆฟื้นตัวจากวิกฤตโรคระบาดและเงินเฟ้อรุนแรงในช่วงปี 2562-2565 จึงไม่มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อกระตุ้น การบริโภคภายในประเทศ เพราะที่ผ่านมาการบริโภคภายในประเทศยังคงขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกัยการส่งออก

นอกจากนี้ การกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศยังอาจจะสร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อให้สูงขึ้นมาอีก หลังจากที่เงินเฟ้อได้ลดลงจากร้อยละ6.1 มาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.9 ในปีนี้ ท่ามกลางราดาพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะหลัง การกระตุ้นการบริโภคจะทำให้เงินเฟ้อดาดการณ์ (inflation expectation) สูงขึ้น และอาจนำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ยในที่สุด

2) เงินงบประมาณของรัฐมีค่าเสียโอกาสเสมอ ด่าเสียโอกาสของเงินจำนวนประมาณ 560,000 ล้านบาท คือเงินงบประมาณที่รัฐจะใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในการสร้างdigital infrastructure หรือในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่จะสร้างศักยภาพในการเจริญเติบโตในระยะยาว แทนการใช้เงินเพื่อการกระตุ้นการบริโภคระยะสั้น ๆ ซึ่งไม่สมเหตุสมผลต่อการสร้างภาระหนี้สาธารณะให้แก่คนรุ่นต่อไป

3) การกระตุ้นเศรษฐกิจให้ GDP ขยายตัวโดยรัฐแจกเงิน จำนวน 560,000 ล้านบาทเข้าไปในระบบอาจจะเป็นการคาดหวังที่เกินจริง เพราะปัจจุบัน มีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ตัวทวีคูณทางการคลัง (fiscal multiplier) มีค่าลดลงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้จ่ายของรัฐที่เป็นเงินโอนหรือการแจกเงิน เมื่อเทียบกับตัวทวีคูณของการใช้จ่ายของรัฐโดยตรง

นอกจากนี้ งานวิจัยบางชิ้นยังแสดงให้เห็นว่าตัวทวีคูณ ทางการคลังของการใช้จ่ายประเภทเงินโอนมีค่าน้อยกว่า 1 ด้วยซ้ำ การที่รัฐบอกว่านโยบายนี้จะทำให้เงินหมุนหลายรอบ จะเป็นการเปลี่ยนมือจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งนั้น หมายถึงอัตราหมุนเวียนของเงิน (velocity of money) แต่ผลกระทบของการใช้จ่ายภาครัฐที่จะมีต่อ GDP ต้องดูจากตัวทวีคูณทางการ คลัง (fiscal mutiplier) ที่ปัจจุบันมีค่าต่ำมาก

4) เราอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2565 เพราะเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก การก่อหนี้จำนวนมาก ไม่ว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตรหรือกู้เงินจากรัฐวิสาหกิจหรือกู้สถาบันการเงินของภาครัฐ ก็ล้วนแต่จะเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทั้งสิ้นเมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ หนี้สาธารณะของรัฐที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 10.1 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 61.6 ของ GDP จะต้องมีภาระ จ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นเมื่อมีการ rollover ซึ่งจะมีผลต่อเงินงบประมาณในแต่ละปีนี่ยังไม่นับค่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมาจากการแจกเงิน digital 10,000 บาทนี้

5)ในช่วงที่โลกเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอย รัฐบาลแทบทุกประเทศต่างก็จำเป็นที่จะต้องมีการขาดดุลการคลังและสร้างหนี้จำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ และรายจ่ายทางด้านสาธารณสุข แต่หลังจากวิกฤตโรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอยผ่านไป หลายประเทศได้แสดงเจตนารมย์ที่จะลดการขาดดุลภาครัฐ และหนี้สาธารณะลง (fiscal consolidation) เพื่อสร้าง ‘ที่ว่างทางการคลัง (fiscal space) ไว้รองรับวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต นโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาทนี้ ดูจะสวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศ ไทยที่มีอัตราส่วนรายรับจากภาษีต่อ GDP เพียงร้อยละ 13.7 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าประเทศอื่นๆ

6) สำหรับประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยเช่นประเทศไทย การเตรียมตัวทางด้านการคลังเป็นสิ่งจำเป็น ขณะที่จำนวนคนในวัยทำงานลดลงและภาระการใช้จ่ายทางด้นสวัสดิการและสาธารณสุขเพิ่มขึ้น ควรใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและรักษาวินัยและเสถียรภาพทางด้านการคลังอย่างเคร่งครัด

ด้วยเหตุผลต่างๆข้างต้น จึงขอให้รัฐบาลทบทวน ‘นโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาทแก่ผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป เพราะผลประโยชน์ที่ได้จะน้อยกว่าตันทุนที่เสียไป นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้มีการแจกเงินเพื่อกระตุ้นการบริโภคในระยะสั้นๆโดยไม่คำนึงถึงวินัยและเสถียรภาพการคลังในระยะยาว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แขวนงบดิจิทัลวอลเล็ต! กมธ.งบ 68 ข้องใจไม่มีเอกสารแจงรายละเอียด

ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 โดยมีนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะรองประธาน

กิ้งกือยังตกท่อ! 'แกนนำคณะก้าวหน้า' ชี้ช่องฟ้องศาลปกครอง ห้ามแจกเงินดิจิทัล

นายชำนาญ จันทร์เรือง แกนนำคณะก้าวหน้า และนักวิชาการด้านกฎหมายและการเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การที่จะนำคดีเกี่ยวกับเงินดิจิตัล 10,000 บาท ไปศาลปกครอง

'พิชัย' นั่ง 'ปธ.กมธ.งบ68' จ่อขยับไทม์ไลน์ ส.ค. ถกวาระ 2-3

ถก กมธ.งบ68 นัดแรก เลือก 'พิชัย' นั่งประธาน แย้มขยับไทม์ไลน์เข้าสภาวาระ2-3 ภายในเดือน ส.ค. บอกไม่รู้ฝ่ายค้านจ่อยื่นศาลปกครองยับยั้งดิจิทัลวอลเล็ต

ฝ่ายค้านมีมติไม่รับหลักการ 'งบ 68' วาระแรก ร่าย 3 เหตุผล

ฝ่ายค้านมีมติไม่รับหลักการงบ 68 วาระแรก เหตุรัฐบาลเบียดบังงบ ดัน 'ดิจิทัลวอลเล็ต' เกินไป ชี้ยังให้โอกาสปรับถึงวาระสาม ขืนดื้อดึงขู่ร้องศาลสั่งระงับ 'ปกรณ์วุฒิ' มั่นในไม่มี สส.ก้าวไกล โหวตสวน

เปิดงบปี 68 'ดิจิทัลวอลเล็ต' 1.5 แสนล้าน ซุกงบกลาง อ้างกระตุ้นเศรษฐกิจ

การเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 วาระแรก ระหว่างวันที่ 19-21 มิ.ย.2567 วงเงิน 3.75 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี2567

เลขาฯป.ป.ช. ยันเกาะติด 'ดิจิทัลวอลเล็ต' รัฐบาลทำตามข้อเสนอครบถ้วนหรือไม่

นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวถึงนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล ที่ ป.ป.ช.ได้ส่งข้อเสนอแนะพร้อมความเห็นไปยัง ครม.