'พิมพ์ภัทรา' สั่งการ กนอ. ติดตามสถานการณ์น้ำใน 68 นิคมฯ

‘พิมพ์ภัทรา’ สั่งการ กนอ. ติดตามสถานการณ์น้ำใน 68 นิคมฯใกล้ชิด ต้องไม่กระทบจากน้ำท่วม-น้ำแล้ง ด้าน กนอ.เด้งรับวางแผนรับมือ

5 ต.ค. 2566 – น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าได้สั่งการให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กำชับไปยังนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 68 แห่งทั่วประเทศติดตามและเฝ้าระวังการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เช่น นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) และนิคมอุตสาหกรรมนครหลวง ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ำและติดแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ หากเกิดน้ำทะเลหนุนร่วมกับปริมาณฝนในพื้นที่มาก อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบายน้ำได้ช้า รวมทั้งยังอยู่ใกล้กับชุมชน ซึ่งขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมส่งผลกระทบไปแล้วหลายจังหวัด เช่น ตาก สุโขทัย กาฬสินธุ์ ยโสธร อุบลราชธานี และปราจีนบุรี

“กระทรวงอุตสาหกรรมขอให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ทั้งสถานการณ์น้ำท่วม-น้ำแล้ง โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง ภายหลังนายกรัฐมนตรีได้ประชุมติดตามสถานการณ์การบริหารจัดการน้ำโดยให้ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ต้องไม่ได้รับผลกระทบหรือได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด ถือเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลนี้ในการกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะหากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ น้ำท่วม หรือสถานการณ์ภัยแล้ง อาจจะส่งผลให้นักลงทุนเกิดความลังเลจนทำให้การลงทุนหยุดชะงักได้”น.ส.พิมพ์ภัทรา กล่าว

นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ กนอ. เร่งสำรวจความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม-น้ำแล้งในทุกนิคมอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่คาดการณ์ว่าอาจได้รับผลกระทบจากเอลนีโญ เพื่อลดผลกระทบจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเบื้องต้นได้รับรายงานว่าสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่อีอีซีนั้น กนอ. มีมาตรการเตรียมรับมือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ด้านนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า ขณะนี้ ได้สั่งการทุกนิคมอุตสาหกรรมดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการปัญหาน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมอย่างเคร่งครัด คือ 1.ติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด 2.คาดการณ์ปริมาณฝนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 3.ตรวจสอบและซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ รวมถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองที่มีอยู่ให้ใช้งานได้ 100% 4.พร่องน้ำภายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมให้อยู่ในระดับต่ำสุด เพื่อเป็นพื้นที่แก้มลิงรองรับน้ำ

5.ประสานจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่สำรองจากภายนอก ทั้งแบบใช้น้ำมันและแบบใช้ไฟฟ้า เข้ามาสนับสนุนทันทีที่มีการร้องขอ พร้อมให้ทุกนิคมอุตสาหกรรมช่วยเหลือชุมชนในการขุดลอกคูคลอง กำจัดวัชพืช 6.สื่อสารให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง ทราบถึงสถานการณ์ล่าสุดอย่างต่อเนื่อง 7.กำหนดให้ทุกนิคมอุตสาหกรรมซ้อมแผนฉุกเฉินรองรับอุทกภัยเป็นประจำ และ 8.กรณีที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดอุทกภัย ให้รีบรายงานผู้ว่าการ กนอ. และผู้บริหาร กนอ. ทราบอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะยุติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศปช. อัปเดตสถานการณ์น้ำทั่วไทย ภาคกลางแนวโน้มดี คืบหน้าเยียวยา-ฟื้นฟูพื้นที่อุทกภัย

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. และ ศปช. ส่วนหน้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า จากปริมาณฝนที่ยังตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงนี้

'ศปช. ส่วนหน้า' เตือนเชียงใหม่รับน้ำอีกรอบ ประกาศพื้นที่เสี่ยง 7 โซน

'ศปช. ส่วนหน้า' เตือนเชียงใหม่เตรียมรับน้ำอีกรอบ ประกาศพื้นที่เสี่ยง 7 โซน ด้าน ปภ. ระดมกำลังเสริมเข้าพื้นที่ เชียงรายน้ำลดเร่งฟื้นฟู

เชียงใหม่ยังวิกฤต! มวลน้ำป่าทะลักลงแม่ปิงค่ำนี้ เพิ่มสูงส่อทุบสถิติใหม่

สถานการณ์น้ำท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ยังคงวิกฤตต่อเนื่อง แม้ระดับน้ำปิงที่จุด p1 จะขึ้นสูงสุดช่วงตีสองที่ผ่านมา 4.81 เมตร

'เขื่อนเจ้าพระยา' ระบายน้ำเพิ่มอีก 2 พันลบ.ม. ท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ 3 จังหวัด

หลังจากที่เขื่อนเจ้าพระยาได้ระบายน้ำในอัตรา 1,899 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ติดต่อกัน 6 วัน และได้มีการปรับเพิ่มระบายน้ำแบบขั้นบันได