เตรียมเฮ ลุ้น 14 ต.ค.นี้ ใช้รถไฟฟ้า ’สีม่วง-สีแดง’ค่าโดยสาร20 บาท

‘คมนาคม’เตรียมชง ครม.  10 ต.ค.นี้ เคาะไฟเขียวค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ประเดิม 2 เส้นทาง ’สีม่วง-สีแดง’ลุ้นเริ่มเปิดใช้วันแรก 14 ต.ค. 66 เป็นต้นไป ลุยหารือเอกชน ครอบคลุมทุกสี-ทุกเส้นทางในโครงข่าย กทม.-ปริมณฑล

4 ต.ค.2566-แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันอังคารที่ 10 ต.ค. 2566 นี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท หรือ 20 บาทตลอดสาย โดยจะนำร่อง 2 โครงการ คือ 1.รถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ และ 2.รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ทั้งนี้ หากจะใช้บริการสายสีม่วงข้ามระบบไปยังสายสีแดง เบื้องต้นจะสามารถใช้ได้กับผู้ถือบัตรโดยสาร EMV เท่านั้น

สำหรับนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั่น รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปแล้วเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2566 เช่นเดียวกับรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่ผ่านการเห็นชอบจากบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แล้วเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2566 ที่ผ่านมา

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า หากเมื่อ ครม.มีมติอนุมัติปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 2 สาย อัตราสูงสุดไม่เกิน 20 บาทในวันที่ 10 ต.ค.นี้แล้วนั้น เบื้องต้นมีการกำหนดวันที่ประกาศใช้นโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายในวันเสาร์ที่ 14 ต.ค. 2566 เป็นต้นไป ซึ่งก่อนหน้านี้ รฟม. แจ้งว่า รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง คาดการณ์ว่าจะเริ่มใช้ 20 บาทตลอดสายได้ในวันที่ 1 ธ.ค. 2566 และจะทดลองใช้ เพื่อประเมินผลการดำเนินการในระยะเวลา 1 ปี

ขณะที่การดำเนินการนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายในเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่นๆ นั้น ขณะนี้ กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อเจรจาร่วมกับภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำหนดเป้าหมายไว้ว่า จะสามารถเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าทุกสี ทุกเส้นทางในราคา 20 บาทตลอดสายภายใน 2 ปีนับจากนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น เป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่ใช้ในการหาเสียงการเลือกตั้งครั้งล่าสุด (2566) ที่ผ่านมา โดบระบุว่า “รถไฟฟ้า กทม.” 20 บาทตลอดสาย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้โดยสาร เนื่องจากถือว่าการเดินทางเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำเนินชีวิตและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี

อย่างไรก็ตามดังนั้น ภาครัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามาดูแลในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อช่วยให้ประชาชนประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย และทำให้ชีวิตของประชาชนสะดวกสบายขึ้น โดยการเดินทางด้วยระบบราง ในขณะนี้ ถือเป็นการเดินทางที่ประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมได้ดีที่สุดอย่างหนึ่ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดร.สามารถ : เก็บค่าผ่านทางเข้าย่านธุรกิจ หาเงินซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืน

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “เก็บค่าผ่านทางเข้าย่านธุรกิจ หาเงินซื้อ