'เวิลด์แบงก์' หั่นจีดีพีไทยปีนี้เหลือ 3.4%

“เวิลด์แบงก์” หั่นจีดีพีไทยปีนี้เหลือ 3.4% ชี้การฟื้นตัวยังตามหลังประเทศอื่นในอาเซียน ส่งออกชะลอ ลุ้นท่องเที่ยว-บริโภคเอกชนช่วยประคอง ห่วงหนี้สาธารณะพุ่งกดดันการลงทุนภาคสาธารณะและเอกชน

3 ต.ค. 2566 – ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ได้เผยแพร่รายงานคาดการณ์เศรษฐกิจประจำเดือน ต.ค. 2566 โดยได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เนื่องจากเศรษฐกิจจีนและอุปสงค์ทั่วโลกชะลอตัว ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงและการค้าที่ซบเซา ซึ่งธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ในปีนี้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกจะขยายตัว 5% ลดลงจากที่เคยคาดการณ์เอาไว้ในเดือนเม.ย.ว่าจะขยายตัว 5.1% ส่วนในปี 2567 เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกจะขยายตัว 4.5% จากที่เคยคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 4.8%
ทั้งนี้ ธนาคารโลกยังได้เตือนถึงหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน รวมถึงระดับหนี้สินของบริษัทที่พุ่งทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในจีน ไทย และเวียดนาม โดยระบุว่า หนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูงนั้นจะจำกัดการลงทุนทั้งภาคสาธารณะและภาคเอกชน โดยหนี้สินที่สูงขึ้นอาจทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ซึ่งจะเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมให้กับกลุ่มธุรกิจภาคเอกชน

สำหรับประเทศไทยนั้น ธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้อยู่ที่ 3.4% จากคาดการณ์เดิมที่ 3.9% โดยเศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวตามหลังประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน และการส่งออกที่ลดน้อยลงได้เพิ่มความท้าทายให้กับเศรษฐกิจไทย

“หลัก ๆ แล้วเศรษฐกิจไทยในปีนี้ได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน แต่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มที่จะหดตัว 2.1% ในแง่ของดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากอุปสงค์ที่ลดลงจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ขณะที่การถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลชุดใหม่ที่ยืดเยื้อจะชะลอการลงทุนภาคสาธารณะและการลงทุนภาคเอกชนของไทย ดังนั้น ธนาคารโลกจึงหั่นคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยสำหรับปี 2567 เหลือโต 3.5% จากที่เคยคาดการณ์เอาไว้เดือนเม.ย.ที่ 3.6%” รายงาน ระบุ

รายงาน ยังระบุอีกว่า การท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มจะชดเชยปัญหาอุปสงค์ต่างประเทศที่อ่อนแอ โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มแตะระดับก่อนเกิดโรคโควิด-19 ระบาดภายในสิ้นปี 2567รวมทั้งยังคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อไทยจะปรับตัวลดลงสู่ 1.5% ในปี 2566 ซึ่งต่ำกว่าเกือบทุกประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ โดยได้แรงหนุนจากราคาพลังงานโลกที่ลดลงและการตรึงราคาสินค้าอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเพิ่มขึ้น จากผลของราคาอาหารโลกพุ่งสูงขึ้น รวมทั้งการอุดหนุนด้านราคาพลังงาน ขณะที่คาดว่าหนี้สาธารณะในปี 2566 จะยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 60% และไทยจะกลับมาเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้ที่ 0.5% ต่อจีดีพีจากที่เคยขาดดุลติดต่อกันมา 2 ปี ในปี 2564 และ 2565

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ต่อตระกูล' วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทย เทียบประเทศอื่นในเอเชีย ในอีก 10 ปีข้างหน้า

นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โพสต์เฟซบุ๊กเผยแพร่บทความเรื่อง "เศรษฐกิจไทย วันนี้ตกต่ำจริง แล้วยังมีอนาคตอยู่ไหม?

โฆษกรัฐบาล ขอบคุณ 'ผู้ว่าแบงก์ชาติ' ยอมรับเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต่อการให้สัมภาษณ์ของนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนนั้น รัฐบาลต้องขอบคุณมากที่ ผู้ว่าฯธปท.

นักวิชาการเตือนเปิดเสรีให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี ต้องรอบคอบ อาจส่งผลเสีย

เปิดเสรีให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี ถือครองคอนโดได้ 75% ต้องรอบคอบ ประเมินผลกระทบกรณี EEC ให้ต่างชาติเช่า 99 ปีมาศึกษาดู ต้องทำความเข้าใจ การบริหารจัดการนโยบายที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในบริบททุนข้ามชาติโลกาภิวัตน์ให้ลึกซื้ง

'กุนซือนายกฯ' เขย่า 'แบงก์ชาติ' หัดร่วมมือรัฐบาลแก้เศรษฐกิจ

'พิชัย' ลั่นเตือนแล้วเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกย่ำแย่ ชี้นโยบายการเงินไม่สนับสนุน ขณะที่งบประมาณยังใช้ไม่ได้ จี้ 'แบงก์ชาติ' หนุนแก้เศรษฐกิจเหมือนธนาคารกลางประเทศอื่น