ดัชนีเชื่อมั่นเอสเอ็มอี Q3 ฟื้นผู้ประกอบการปรับตัว-ลุ้นมาตรการรัฐช่วย

“ธพว.” ชี้ดัชนีเชื่อมั่นเอสเอ็มอี ไตรมาส 3/66 ขยับเพิ่ม หลังผู้ประกอบการเร่งปรับแผนการตลาด หนุนยอดขายต่อเนื่อง พร้อมคาดหวังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลช่วยเสริม อุตสาหกรรมก่อสร้าง-ท่องเที่ยว ฉลุย เหตุทำสัญญาโครงการก่อสร้างเพิ่ม-แนวโน้มเดิมทางและใช้จ่ายมากขึ้น

2 ต.ค. 2566 – นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เผยว่า ศูนย์วิจัยและข้อมูล ธพว. ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำผลสำรวจความเชื่อมั่นเอสเอ็มอีต่อเศรษฐกิจและธุรกิจ ไตรมาส 3/2566 และคาดการณ์อนาคต จากการสำรวจผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวนกว่า 500 ตัวอย่างทั่วประเทศ ครอบคลุมทุกประเภทอุตสาหกรรม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและธุรกิจของเอสเอ็มอีในไตรมาส 3/2566 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จาก 65.90 มาอยู่ที่ 66.40 เนื่องจากผู้ประกอบการมีการปรับตัวด้านแผนการตลาดต่อเนื่อง ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น รวมถึงมีความคาดหวังต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง

ส่วนแนวโน้มความเชื่อมั่น 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและธุรกิจเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน จาก 65.61 มาอยู่ที่ระดับ 66.79 เพราะได้รับอานิสงส์เข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวสิ้นปี (ไฮซีซั่น) ร้านค้า ภาคเอกชนต่าง ๆ มักจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย ประชาชนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และคาดจำนวนนักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามามากขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและธุรกิจ แยกตามประเภทอุตสาหกรรม พบว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในภาคบริการ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมก่อสร้าง มีความเชื่อมั่นสูงกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากได้ทำสัญญาโครงการก่อสร้างใหม่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นสูงรองลงมา เนื่องจากมีการเดินทางและจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ทำให้ระดับความเชื่อมั่นในภาพรวมยังคงสูง

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยฯ ได้สำรวจปัญหาด้านแรงงานในผู้ประกอบการเอสเอ็มอี พบว่า 76.94% มีความกังวลด้านภาระต้นทุนแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ รองลงมา 23.73% ขาดแคลนแรงงานทักษะหลากหลายที่สามารถหมุนเวียนงานได้ ขณะที่ 21.29% ขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล และ 17.96% ต้องลดจำนวนแรงงาน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ ส่วนทักษะที่ต้องการเสริมให้แรงงานได้เรียนรู้เพิ่มเติม มากที่สุดถึง 59.42% คือ การตลาดและขายผ่านช่องทางออนไลน์ ตามด้วย 54.77% ทักษะเฉพาะทางตามสาขาอาชีพ 35.48% การตลาดและขายหน้าร้าน และ 29.71% ทักษะภาษาต่างประเทศ

“จากผลสำรวจดังกล่าว ดัชนีเชื่อมั่นที่ปรับขึ้นเพียงเล็กน้อย สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทั้งต่อความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะปัญหาต้นทุนธุรกิจ และทักษะแรงงาน ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในการลงทุนอยู่ในระดับต่ำ ในการนี้ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งระยะยาวด้านการบริหารจัดการต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการ ดังนั้น SME D Bank จัดเตรียมบริการด้านการเงินควบคู่การพัฒนาช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีลดต้นทุนพร้อมกับเพิ่มศักยภาพธุรกิจไปพร้อมกัน” นางสาวนารถนารี กล่าว

อย่างไรก็ดี ด้านการเงินมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME Refinance วงเงิน 5,000 ล้านบาท สามารถนำไปใช้วางแผนบริหารจัดการธุรกิจได้ล่วงหน้า และลดต้นทุนการเงิน จุดเด่นดอกเบี้ยต่ำ และเป็นอัตราคงที่ ปีแรก 2.99% ต่อปี และช่วง 3 ปีแรก เฉลี่ยอยู่ที่ 3.50% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุดถึง 15 ปี แถมปลอดชำระเงินต้นสูงสุดถึง 12 เดือน เปิดรับคำขอกู้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 ธ.ค. 2566 อีกทั้ง จัดโปรโมชั่นพิเศษ สำหรับผู้ประกอบกา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

SME D Bank เปิด พักชำระหนี้เงินต้น 1 ปี แถมลดดอกเบี้ย 1% ช่วยแก้หนี้ SME

SME D Bank แก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนตามนโยบายรัฐบาลให้แก่เอสเอ็มอีไทยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (รหัส 21) ภายใต้มาตรการ “3 ลดปลดหนี้” บรรเทาภาระการเงิน สร้างโอกาสเริ่มต้นใหม่ไปต่อได้ ทั้งพักชำระหนี้เงินต้น 1 ปี ลดดอกเบี้ยให้ 1% และยกดอกเบี้ยค้างให้ทั้งหมด แจ้งความประสงค์ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มิ.ย. 68

SME D Bank ประกาศคงอัตราดอกเบี้ย

นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%

'ธพว.' โชว์ 6 เดือนเติมทุนเอสเอ็มอี 3.2 หมื่นล้าน

“ธพว.” กางผลงาน 6 เดือน อัดสินเชื่อเติมทุนอุ้มเอสเอ็มอีแล้ว 3.2 หมื่นล้านบาท กำไรพุ่ง 309 ล้านบาท เดินเครื่องบริหารหนี้เสีย กด NPL ลดพรวด 20.88% เหลือ 10.51% มั่นใจสิ้นปีกดเหลือไม่เกิน 9.50% ตามเป้า พร้อมปักหมุดปีนี้พาเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน 7 หมื่นล้านบาท