รฟท.เปิดเวทีเสวนา’อนาคตหัวลำโพง’ย้ำลดบทบาทไปบางซื่อหวังพัฒนาระบบราง

รฟท.ถกทุกภาคส่วนร่วมแสดงความเห็นต่ออนาคตหัวลำโพง ในเวทีเสวนา “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์ คู่การพัฒนา” โดยมีการเสนอความเห็นหลากหลาย เพื่อรวบรวมให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตัดสินใจต่อไป

15 ธ.ค.2564-นายสรพงศ์ ไพฑูรย์ พงศ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวภายในเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน ในหัวข้อ “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” กล่าวยืนยันว่า ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาบริหารจัดการเดินรถ และการจัดการรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีกลางบางซื่อ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งทุกครั้งที่มีการประชุม ไม่เคยมีการพูดว่าจะปิดหัวลำโพง แต่เป็นเพียงการลดบทบาทเท่านั้น  โดยที่หัวลำโพงจะยังมีการเดินรถขบวนชานเมืองเข้าสูหัวลโพงอยู่ ส่วนรถทางไกลจะสิ้นสุดขบวนที่สถานีกลางบางซื่อ

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคามยืนยันว่าไก้มีการเตรียมพร้อมการจัดการเดินรถ และความพร้อมด้านอื่นมาเป้นระยะเวลา 7 เดือน อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมยืนยันว่าจำนำผลการเสวนาวันนี้ไปประกอบการพิจารณา ก่อนถึงวันที่ 23 ธันวาคมนี้  

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์  รองอธิบดีกรมขนส่งทางราง กล่าวว่าตามแผนการลดบทบาทหัวลำโพง จะลดจำนวน จบวนรถไฟ จาก 128 ขบวน เหลือ 22 ขบวน  เฉพาะขบวนรถไฟชานเมืองเท่านั้น เป็นไปตามแผนแม่บทเพื่อตอบโจทยฺการแก้ไขปัญหาจราจร ซึ่งปัจุจบันมีจุดตัด  7 จุด หากมีรขวบนรถเข้าหัวลำโพง จะมีการปิดเครื่องกันกว่า 800 ครั้ง เมื่อลดลงเหลือ 22 ขบวน จะลดจุดตัดลงไปถึง 84 %  

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง ผู้ช่วยผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ รฟท.กล่าวว่าสถานกลางบางซื่อเปิดให้บริการเชิงวพาณิชย์ เต็มรูปแบบเมื่อ 1 ธ.ค. 64 ที่ผ่านมา ขณะนี้พร้อมแล้วทที่จะรองรับการเดินทางของรถไฟระบบอื่น เช่น รถไฟทางไกลที่จะมาสิ้นสุดที่นี่ และได้เตรียมระบบเดินทางต่อเชื่อมไว้รองรับการเดินทางของประชาชนแล้ว

ด้านนางไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล  กรรมการ รฟท. และรักษาการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด กล่าวว่า เอสอาร์ที ตั้งตามมติ ครม. โดย รฟท.ถือหุ้น 100% เพื่อบริหารจัดการสินทรัพย์ของ รฟท.ที่ไม่ใช่รางรถไฟ และยืนยันว่าพร้อมที่จะเข้าบริหารที่ดินทุกแปลงของการรถไฟเพื่อเกิดรายได้และผลตอบแทนกับการรถไฟ ส่วนพื้นที่หัวลำโพง 120 ไร่ ในอนาคตจะการพัฒนาให้เป็นไปตามแนวทางทีโอดี เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้ใช้บริการและชุมชนโดยรอบ  

ทั้งนี้มีทั้งพัฒนาเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ ปรับทัศนียภาพ เพิ่มพื้นที่สีเขียว  และสร้างพื้นที่เชิงวัฒนธรรม รวมทั้งพื้นที่เชิง แต่พื้นที่หัวลำโพงจะแตกต่าง เพราะมีคุณค่าทางประวัติศา สตร์ วางสถานีหัวลำโพงเป็นพื้นที่เชื่อมต่อการเดินทาง สร้างเป็นศูนย์การเรียนรู้

นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่ง ประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ว่าการรถไฟควรออกมาชี้แจงด้วยตัวเอง เพราะที่ผ่านมากระแสข่าวออกมาสับสนทั้งข่าวการปิดหัวลำโพง และภาพ อาคารสูง เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่ภาพการพัฒนาพื้นที่สถานีหัวลำโพงให้มีลักษณะคล้ายทางเข้าห้างสรรพสินค้าหรู ซึ่งต่างกับการชี้แจงในวันนี้ โดยมองว่าปัญหาจะไม่เกิดหากมีการชี้แจง และต้องเป็นข้อเท็จจริง  

โดยระบุว่าไม่เห็นด้วยที่จะงดเดินรถไฟสายยาว เพราะขณะนี้เส้นทางรถไฟความเร็วสูง ทั้ง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังไม่คืบหน้า และต้องเห็นใจประชาชนที่ต้องมีค่าใช้จ่ายการเดินทางที่สูงขึ้น การจะหยุดเดินรถเข้าหัวลำโพง ก็ต่อเมื่อมีโครงข่ายรถไฟสายสีแดงครบถ้วนแล้ว เรียกร้องให้พูดความจริง รถไฟไม่ได้ทำให้รถติด อยากขอให้กระทรวงพิจารณาให้รอบคอบ

ด้านนางสาวรสนา โตสิ ตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวว่ากระแสและภาพข่าวที่เกิดขึ้น ทำให้รู้สึกว่าเป็นการด้อยค่าหัวลำโพง ที่เป็นหน้าประวัติศาสตร์แรกของการเปลี่ยนแปลงระบบรางไปสู่ความทันสมัย หากมีการเปลี่ยแปลงหัวลำโพง ก็ควรทำไปเพื่อประโยชน์ที่สนับสนุนการเดินรถ   หน้าที่ของการรถไฟฯ คือการดูแลระบบการเดินทางด้วยรถไฟ ให้มีคุณภาพ สนับสนุนช่วยเหลือประชาชน และควรให้ความสำคัญกับการเดินทางเชื่อมต่อที่สะดวก

ทั้งนี้มองว่าไม่ควรหยุดการเดินรถเข้าหัวลำโพง เพราะมีผลกระทบทั้งในเชิงธุรกิจ และเหมือนเป็นการด้อยค่ารถไฟ และหันไปหนุนรถไฟฟ้า ซึ่งมีราคาแพงกว่า พร้อมคัดค้านการหยุดขายตั๋วจากสถานีหัวเมือง มายังสถานีหัวลำโพง โดยขอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาให้รอบคอบเพราะส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้รถไฟฯ

ขณะที่สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส. พรรคก้าวไกล ระบุว่า ปัญหาที่เกิดเป็นเพราะการบริหารจัดลำดับความสำคัญในการพัฒนาที่ผิดพลาด โดยเฉพาะโครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ซึ่งเป็นโครงการที่ควรเกิดก่อน  เพื่อเชื่อมการเดินทางสู่สถานีกลางบางซื่อ แต่กลับมีการผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินก่อน พร้อมย้ำไม่เห็นด้วยหากจะมีการปิดหัวลำโพง แต่ยอมรับได้หลังการรถไฟชี้แจงว่าป็นเพียงกาลดขบวนรถไฟข้าหัวลำโพง แต่ยังต้องจับตาว่าจะมีการบริหารจัดการอย่างไร

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่าว่ายังไม่เห็นด้วยกับการหยุดเดินรถเข้าหัวลำโพง เพราะจะกระทบกับผู้ใช้บริการ แต่หากในอนาคตมีการเชื่อมต่อการเดินทางที่ครอบคลุม และให้สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟและพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต โดยลดจำนวนขบวนรถที่เข้าสถานีหัวลำโพงค่อยมาคุยกันในภายหลัง  

ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวว่า หากการรถไฟฯจะเปลี่ยนสีผังเมืองของสถานีหัวลำโพงจากสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นที่ดินหน่วยงานราชการไม่สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ให้เป็นสีแดงที่ดินประเภทพาณิชยกรรม นั้นตนจะเดินหน้าไปฟ้องศาลปกครอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ให้จริง! กมธ.ที่ดินฯ ลุยสอบปมที่ดิน 'เขากระโดง' โวลั่นไม่หวั่นภูมิใจไทยเล่นเกมสกัด

นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สส.ภูเก็ต พรรคประชาชน ฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทน

'สุริยะ' ย้ำที่เขากระโดงเป็นของรฟท. ส่วนที่ดินอัลไพน์ ยันไม่ผิดกฎหมาย

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าภายหลังการรถไฟ

สมาพันธ์คนงานรถไฟ จี้มท.1 ทบทวนมติคณะกรรมการที่ให้ยุติการเพิกถอนเอกสารสิทธิพื้นที่เขากระโดง

นายสุวิช ศุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.) ทำหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

'นักกฎหมาย' โต้ยิบ 'กรมที่ดิน' ปมที่ดินเขากระโดง

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีกรมที่ดินชี้แจง 5 ประเด็นเกี่ยวกับที่ดิน 'เขากระโดง' ว่าคำแถลงของกรมที่ดิ

'ทวี' ชี้ ‘เขากระโดง’ คำวินิจฉัยศาลฎีกา 5,083 ไร่ เป็นที่ดินของการรถไฟ ถือสิ้นสุด

เรื่องนี้ไม่ใช่ศาลฎีกาอย่างเดียว กฤษฎีกาก็วินิจฉัยแล้ว ป.ป.ช.ก็วินิจฉัยแล้ว ก็ถือว่าสิ้นสุด ที่สำคัญมีการบังคับคดีและยึดที่คืน