สมอ. คุมเข้มมาตรฐานหน้ากากอนามัย คาดกลางปี 65 ประกาศเป็นสินค้าควบคุม ทุกยี่ห้อต้องมี มอก. แนะผู้บริโภคดูเครื่องหมายยืนยันก่อนซื้อ
15 ธ.ค. 2564 นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่า ตามที่มีหน่วยงานแถลงข่าวผลการทดสอบหน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2564 โดยทดสอบหน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว จำนวน 41 ยี่ห้อ พบว่าไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน มอก. 2424-2562 จำนวน 35 ยี่ห้อ และทดสอบหน้ากาก N95 จำนวน 19 ยี่ห้อ พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มอก.2480-2562 จำนวน 6 ยี่ห้อ และเรียกร้องให้ สมอ. กำหนดให้หน้ากากอนามัยเป็นสินค้าควบคุมหรือเป็นมาตรฐานบังคับ เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าและคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้า นั้น สมอ. อยู่ในขั้นตอนการประกาศให้หน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว มอก.2424-2562 เป็นสินค้าควบคุม
โดยเสนอร่างกฎกระทรวงต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในกลางปี 2565 ปัจจุบัน สมอ. กำหนดมาตรฐานหน้ากากอนามัยและที่เกี่ยวข้อง เป็นมาตรฐานทั่วไป หรือมาตรฐานภาคสมัครใจ จำนวน 7 มาตรฐาน ดังนี้ 1. มอก. 2424-2562 หน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว 2. มอก.2480-2562 หน้ากาก N 95 3. มอก. 3189-2564 หน้ากากใช้ครั้งเดียวชนิด N99 ลดความเสี่ยงการติดเชื้อทางการแพทย์ 4. มอก. 3190-2564 หน้ากากใช้ครั้งเดียวชนิด N100 ลดความเสี่ยงการติดเชื้อทางการแพทย์ 5. มอก. 3199-2564 หน้ากากผ้า 6. มอก. 2199-2547 อุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจ : ชนิดกรองอนุภาค และ7. มอก. 2382-2551 อุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจ : ชนิดกรองอนุภาคดูดซับก๊าซและไอในขณะเดียวกัน
โดยมีผู้ประกอบการสมัครใจยื่นขอรับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. 2424-2562 หน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว และได้รับใบอนุญาตแล้ว จำนวน 9 ราย และมีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. 2480-2562 หน้ากาก N 95 แล้ว จำนวน 1 ราย ทั้งนี้ สมอ. ได้ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ในจำนวน 41 ยี่ห้อนั้น มีผู้ประกอบการ 4 ราย ที่ได้รับอนุญาตจาก สมอ. ได้แก่ บริษัท ทีพีซีเอส จำกัด (มหาชน) บริษัท เคเอส โกลเด้น จำกัด บริษัท เอ็น.เอ็น.สกายเทรด จำกัด และบริษัท เฮลท์เวย์ ซัพพลาย จำกัด มีผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
อย่างไรก็ตาม สมอ. จึงได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เนื่องจากหน้ากากอนามัยมาตรฐาน มอก. นั้น มี 3 ระดับการป้องกัน ดังนี้ ระดับ 1 ใช้งานทั่วไป ระดับ 2 ใช้งานด้านการแพทย์ทั่วไป และระดับ 3 ใช้งานทางการแพทย์ในทางศัลยกรรม ซึ่งแต่ละระดับมีความเข้มข้นในการทดสอบต่างกัน และต้องตรวจสอบวันเดือนปีที่ผลิตหน้ากากอนามัยล็อตที่ถูกสุ่มตรวจด้วย ซึ่งอาจจะมีความเป็นไปได้ที่ผลิตขึ้นก่อนได้รับใบอนุญาตตามมาตรฐาน มอก.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘พิมพ์ภัทรา’ ตั้งเป้าปี 67 กำหนดมาตรฐาน สมอ. 1,000 เรื่อง
‘พิมพ์ภัทรา’ ตั้งเป้าปี 67 กำหนดมาตรฐาน สมอ. 1,000 เรื่อง เร่งสกัดสินค้าด้อยคุณภาพ พร้อมเสริมศักยภาพภาคอุตสาหกรรม
'รัดเกล้า' ชวนคนไทยภาคภูมิใจ ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ
'รัดเกล้า'ชวนคนไทยภาคภูมิใจ ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ มาไกลเกินครึ่งทาง พร้อมเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานโลกแห่งแรกในอาเซียนของคนไทย ในปี 2569
สมอ.ถก 8 สถาบันเครือข่ายอุตสาหกรรม ร่วมกำหนดมาตรฐานปี 67
สมอ.เด้งรับลูก'พิมพ์ภัทรา' เรียก 8 สถาบันเครือข่ายอุตสาหกรรม ร่วมกำหนดมาตรฐานปี 67 พร้อมเร่งผุดแผนทำงานไม่ต่ำกว่า 100 เรื่อง ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
'พิมพ์ภัทรา' สั่ง สมอ. ออก 600 มาตรฐานยกระดับอุตฯ EV หุ่นยนต์ และ AI
“พิมพ์ภัทรา” สั่ง สมอ. ออก 600 มาตรฐานยกระดับภาคอุตสาหกรรม ดันกลุ่มที่มีศักยภาพ ทั้ง EV หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และ AI พร้อมถกแผนรับมือน้ำท่วม ผนึกรัฐ-เอกชนออกมาตรการช่วยเหลือ
เตือน ‘ไข้หวัดใหญ่- RSV’ กำลังระบาด ‘หมอยง’ แนะฉีดวัคซีน ใส่หน้ากากอนามัย
การป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับไข้หวัดใหญ่ และ RSV ก็คงหนีไม่พ้นวิธีการป้องกันเช่นเดียวกันกับการป้องกันโควิด 19 ไม่ว่าจะเป็นการล้างมือ ดูแลสุขอนามัย ใส่หน้ากากอนามัยในที่มีคนหนาแน่น ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ หรือมีอาการทางเดินหายใจ ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค