‘รมว.แรงงาน’ ถกสภาอุตฯ การันตีไม่ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำพรวด 400 บาท

15 ก.ย. 2566 – นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประเด็นด้านแรงงาน และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำว่า ในวันแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาไม่ได้กำหนดอย่างชัดเจนว่าจะปรับขึ้น

อย่างไรตามที่ได้มีการหาเสียง ในฐานะกระทรวงที่ดูแลเรื่องดังกล่าว จึงเร่งหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ทั้งลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ เพื่อหาแนวทางให้ชัดเจนขึ้น และเพื่อให้ทุกฝ่ายต้องยอมรับได้ ทั้งนี้ คาดว่าภายในเดือน พ.ย. 2566 จะมีข้อสรุป 

ทั้งนี้หากจะต้องปรับขึ้นต้องติดตามตัวเลขเงินเฟ้อของไทยกับธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ณ ขณะนั้นตัวเลขเงินเฟ้อจะอยู่ที่กี่เปอร์เซ็นต์ โดยค่าแรงขั้นต่ำจะต้องปรับขึ้นให้สูงกว่าเงินเฟ้อ เมื่อพิจารณาตามความเหมาะสมเเล้ว จะประกาศเป็นของขวัญปีใหม่ปี 2567 ให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานช่วงใกล้สิ้นปีนี้ 

“ นโยบายค่าแรง 400 บาทต่อวัน ยืนยันว่าจะไม่ปรับฐานเป็นค่าแรงขั้นต่ำ  เพราะจะกระทบนายจ้าง และภาค SMEs ลดลง แต่จะพิจารณาตามทักษะความสามารถ  (pay by skill) ให้กลุ่มแรงงานที่พัฒนาทักษะสูงด้วย โดยจะหารือ 3 ฝ่ายอีกครั้ง เพื่อลงรายละเอียดว่าจะเป็นแรงงานในภาคส่วนใด อย่างไร”นายพิพัฒน์ กล่าว

นอกจากประเด็นการปรับขึ้นค่าเเรง ยังได้หารือถึงการผลิตบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน การแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานจากการเข้าสู่สังคมสูงวัย และการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว และการผลิตและพัฒนากำลังคน รวมถึงเตรียมผลักดันแรงงานเป็นกระทรวงเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการบูรณาการระหว่างภาครัฐ-เอกชน ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านเรงงานให้เห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น 

ด้านนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าขอชื่นชมรัฐบาลที่เมื่อเข้ามาทำงานแล้วมีนโยบายเร่งด่วน ช่วยเหลือปากท้องประชาชนได้ทันทีทั้งค่าไฟฟ้าและค่าน้ำมัน ส่วนการหารือคุณพิพัฒน์ในวันนี้ ส.อ.ท. มีข้อเสนอหลายเรื่อง โดยเน้นอุตสาหกรรมที่ต้องการเพิ่มทักษะให้มีประสิทธิภาพ และหาทักษะใหม่เพื่อหารองรับอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนประเด็นค่าแรงขั้นต่ำนั้น รัฐบาลต้องมองถึงอัตราเงินเฟ้อ แต่สำหรับค่าแรงงานที่พัฒนาทักษะแล้ว ปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้างอยู่ที่ 600-800 บาท/วัน ตรงนี้ภาคเอกชนเห็นด้วย 

“ ค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันอยู่ที่อัตราเริ่มต้น 328 บาท สูงสุด 354 บาท หากมีการปรับขึ้นค่าแรงเป็น 400 บาท จากฐานต่ำสุด ภาคเอกชนมองว่าจะเป็นการปรับขึ้นค่าแรงสูงถึง 19-20% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่สูงมาก ทำให้ต้นทุนกลุ่มอุตสาหกรรมแรงงานเข้มข้นถูกกระชากอย่างรุนเรง กระทบธุรกิจ SMEs ให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น และอาจถึงขั้นปิดกิจการได้ จึงไม่ควรปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท/วัน และยังไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ถูกต้อง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน

เคาะ 'รองปลัดคลัง-อธิบดี กสร.' นั่งบอร์ดไตรภาคี ลุยขึ้นค่าแรง 400 ของขวัญปีใหม่

'กระทรวงแรงงาน' เตรียมเสนอชื่อ 'ตัวแทน กสร.-รองปลัดคลัง' นั่งบอร์ดไตรภาคี ขง ครม. 19 พ.ย. เดินหน้าขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่

‘พิพัฒน์’ คาดชงชื่อกรรมการค่าจ้างเข้า ครม.อังคารนี้ มั่นใจขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่ 2568 ให้ผู้ใช้แรงงาน ทันแน่นอน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน

'พิพัฒน์' รมว.แรงงาน ห่วงทายาทพนักงานกวาดถนนเทศบาลนครอ้อมน้อย ประสบเหตุถูกรถกระบะชนเสียชีวิต 2 ราย มอบประกันสังคม จ่ายเงินทดแทนกรณีตายในงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยและแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมมอบหมายให้ นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ