12 ก.ย. 2566 – พลังงานกำลังเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่าน ทั้งจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และตัวเร่งของการเปลี่ยนแปลงจากสภาพภูมิอากาศโลก (Climate Change) ที่ทำให้โหมดของพลังงานทั่วโลกมุ่งไปสู่พลังงานสะอาด เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลที่มีผลต่อภาวะโลกร้อน ซึ่งการขับเคลื่อนพลังงานไปสู่อนาคตจะเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ หัวใจสำคัญอยู่ที่ “บุคลากร” ที่ต้องมีศักยภาพ มีความสามารถเพียงพอในการรับมือกับความซับซ้อนของธุรกิจพลังงานที่อยู่ระหว่างรอยต่อจากพลังงานยุคดั้งเดิมไปสู่ยุคใหม่
โครงการ SPARK Accelerator Management Trainee Program ของบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. จึงเข้ามาตอบโจทย์ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานแห่งอนาคต ด้วยการเฟ้นหาบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ ผ่านการเปิดรับสมัครพนักงานภายในและภายนอกองค์กรเข้าคัดเลือกเพื่อร่วมโครงการ เรียนรู้การดำเนินธุรกิจของบริษัท ผ่านการหมุนเวียนงาน (Job Rotation) การสอนงาน (Mentoring) จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสายงาน การฝึกอบรมในหลักสูตรการพัฒนาผู้นำ (Leadership) และหลักสูตรทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (Business)
“ผมเป็น 1 ใน 13 คนที่มาสมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าวในรุ่นแรก ที่เป็นโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพในการก้าวสู่การเป็นผู้บริหาร เพื่อการจัดการด้านพลังงานแห่งอนาคต จากอดีตกับสายงานด้าน Engineering ผมได้ไปศึกษาต่อด้านไฟแนนซ์ และกลับมาเริ่มงานกับ GPSC จนได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้จัดการการเงิน หรือ Finance Manager ของ AEPL” ณรงค์ชัย กือเย็น ผู้จัดการการเงิน บริษัท Avaada Energy Private Limited (AEPL) หนึ่งในบริษัทในกลุ่มอวาด้า ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจพลังงานหมุนเวียนชั้นนำในประเทศอินเดีย กล่าวถึงเส้นทางการทำงานของเขา
ณรงค์ชัย หรือแชมป์ ในวัย 29 ปี เล่าต่อว่า การมาทำงานที่ AEPL ที่อินเดียถือเป็นการได้รับความไว้วางใจจาก GPSC ในการคัดเลือกเข้ามาร่วมการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศของบริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล ซินเนอร์ยี่ จำกัด หรือ GRSC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ GPSC ที่ร่วมมือกับบริษัท อวาด้า เวนเจอร์ ไพรเวท จำกัด หรือ AVPL เพื่อลงทุนใน AEPL
“การได้รับคัดเลือกมาปฏิบัติงานในอินเดีย ต้องปรับตัวให้เข้ากับทีมงานกว่า 500 คนที่มีความแตกต่างในหลายๆ ด้าน ผมอยู่ที่นี่มา 2 ปีกว่า ถือเป็นโอกาสที่ดีที่หาไม่ได้ง่ายๆ ในการทำงานร่วมกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรขนาดใหญ่ระดับประเทศทั้งที่ไทยและอินเดีย โดยเฉพาะการเป็นคนกลางในการประสานงานระหว่างสององค์กรที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างมาก” ณรงค์ชัย กล่าว
ณรงค์ชัย ย้ำว่า ทักษะทางสังคมมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการบุคคลทั้งปัจจุบันและอนาคตของเจเนอเรชันใหม่ ที่ต้องประกอบด้วย ความสามารถในการปรับตัว การสื่อสาร การบริหารเวลา การคิดเชิงวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ ความเข้าใจในเทคโนโลยีดิจิทัล ความเป็นผู้นำ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การเข้าอกเข้าใจผู้อื่น และที่สำคัญคือ การล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ได้ไว ดังนั้นเป้าหมายการทำงานของคนรุ่นใหม่ไม่ใช่เพียงการทำงานในบริษัทหรือองค์กรที่ให้ค่าตอบแทนสูงเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการให้บริษัทช่วยสนับสนุนเพิ่มเติมด้านทักษะ สร้างคุณค่าในการทำงาน มีความยืดหยุ่น มีอิสระ และตอบโจทย์การทำงานอย่างสมดุลกับการใช้ชีวิต
ดังนั้น วันนี้เราไม่ใช่เพียงแค่พนักงานของบริษัทที่ผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ให้มองว่าวันนี้เรากำลังอยู่ในอุตสาหกรรมที่เป็นพลังงานสะอาด ที่จะมีส่วนทำให้ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ และทำให้สิ่งแวดล้อมของโลกดีขึ้น นับเป็นประโยชน์ให้กับทั้งตัวเอง สังคม และประเทศไปพร้อมๆ กัน และเขายังชี้ให้เห็นว่า การทำงานของคนรุ่นใหม่ต้องเข้าใจว่า เมื่ออายุน้อยกว่า ประสบการณ์ย่อมน้อยกว่าไปด้วย จึงจำเป็นต้องใส่พลังทุ่มเทและตั้งใจมากขึ้น รวมถึงการไปสอบถามข้อมูลกับคนที่ประสบการณ์มากกว่า เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกิดกับคนรอบข้างและได้รับผลที่ดีที่สุดออกมา
ณรงค์ชัย ยังบอกอีกว่า เคล็ดลับการทำงานของผมคือการเรียนรู้จากหน้างาน และจากประสบการณ์ที่ได้ทำงานกับผู้บริหารที่หลากหลาย ซึ่ง GPSC เป็นองค์กรที่มีทิศทางชัดเจน ทำให้เราเห็นเป้าหมายชัดว่าจะพัฒนาตนเองอย่างไร จะเดินไปทางไหน มีเป้าหมายร่วมกันทั้งองค์กร ผมถือว่าปัญหาเป็นความท้าทายสำหรับผม ซึ่งเป้าหมายของ GPSC ในการเข้าลงทุนใน AEPL ในครั้งนี้เพื่อสนับสนุนการขยายการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และแสวงหาโอกาสเพิ่มเติมในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง การมุ่งสู่ Net Zero Emissions ภายในปี 2603 และก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุด 1 ใน 3 อันดับแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงนับเป็นความท้าทายสำหรับคนรุ่นใหม่ในการร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายครั้งนี้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
GPSC แข็งแกร่งรับการสนับสนุนเงินกู้ระยะยาว จาก 3 แบงค์รัฐ-เอกชน มูลค่า 7 พัน ลบ. รุกพลังงานสะอาด ตอบโจทย์ Net Zero รองรับแผนพัฒนาพลังงานชาติ
GPSC ลงนามในสัญญาเงินกู้กับธนาคารทีเอ็มบีธนชาต ธนาคารเกียรตินาคินภัทร และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย วงเงินรวม 7,000 ลบ. มุ่งธุรกิจพัฒนาพลังงานหมุนเวียนทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงาน สอดรับกลยุทธ์องค์กรจากบทบาทในการ Decarbonization ให้กับกลุ่ม ปตท. เดินหน้ามุ่งสู่แผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
GPSC ร่วมกับ กนอ. มาบตาพุด เก็บขยะชายหาดระยอง สร้างจิตสำนึกรักษาความสะอาดในวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล จ.ระยอง ปี 67
นายพีรพล อำไพวิทย์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสกลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม
GPSC ร่วมกับกลุ่ม ปตท. มอบถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ จัดถุงยาสามัญ - น้ำดื่ม ส่งกำลังใจให้ประชาชนพ้นวิกฤต
นายทิติพงษ์ จุลพรศิริดี (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน และนางปริญดา มาอิ่มใจ (ที่ 4 จากขวา)
'กีฬาบริดจ์'ได้'ธ.กรุงเทพ-GPSC'หนุน ตามนโยบายส่งเสริมกีฬา ให้เป็น'Soft Power'ของรัฐฯ
"ธ.กรุงเทพ-GPSC" ร่วมหนุน "ส.กีฬาบริดจ์" ตามนโยบายส่งเสริมการกีฬาให้เป็น Soft Power ของรัฐบาล "ชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์" นายกสมาคมกีฬาบริดจ์ไทย วางแผนเชิงรุก ลุยหน้าพัฒนาและเพิ่มประชากรนักกีฬาบริดจ์ ในทุกกลุ่มอายุ ให้เกิน 1 ล้านคนให้ได้ ระบุ ที่ผ่านมา นักกีฬาบริดจ์ทีมชาติไทย ทำผลงานและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศได้ประจักษ์ชัดเจน คว้าเหรียญทั้งในซีเกมส์และเอเชียนเกมส์ มาอย่างต่อเนื่อง แต่แปลกใจทำไม ศึกซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ที่ไทย กำลังจะเป็นเจ้าภาพในปีหน้า "กีฬาบริดจ์" กลับยังไม่ได้รับการบรรจุเข้าชิงเหรียญทอง แต่อย่างใด
GPSC ส่งมอบโครงการ Light for a Better Life ให้กับสถานพยาบาล 18 แห่ง ในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
นายศิริเมธ ลี้ภากรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. ส่งมอบโครงการ Light for a Better Life
GPSC - Meranti ร่วมศึกษาการใช้พลังงานสะอาด เสริมด้วยไฮโดรเจนสีเขียว ป้อนโรงงานผลิตเหล็ก มุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซ CO2
GPSC - Meranti ลงนามร่วมศึกษาพัฒนาโครงการพลังงานสะอาด ป้อนโรงงานผลิตเหล็ก คาดใช้ไฟฟ้า 150 เมกะวัตต์ มุ่งเน้นทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และการใช้พลังงานไฮโดรเจนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเหล็กคุณภาพสูง