ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือน ก.ค. หดตัว

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ก.ค.66 มูลค่า 585.66 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 0.38% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 806.76 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 24.26% รวม 7 เดือน ไม่รวมทองคำ เพิ่ม 7.76% รวมทองคำ ลด 16.47% แนะผู้ส่งออกปรับรูปแบบการขาย รับตลาดชะลอตัว เน้นทำสินค้าไม่เจาะจงเพศ ใช้งานได้หลากหลาย เสนอขายสินค้าบนมือถือ จับตาเศรษฐกิจโลก น้ำมันขึ้น ฉุดกำลังซื้อ

12 ก.ย. 2566 – นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ เดือนก.ค.2566 มีมูลค่า 585.66 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.38% ซึ่งถือว่าทรงตัว เมื่อเทียบกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ค้าที่หลายประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว หากรวมทองคำ มีมูลค่า 806.76 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 24.26% และรวม 7 เดือน ของปี 2566 (ม.ค.-ก.ค.) การส่งออก ไม่รวมทองคำ มีมูลค่า 4,784.45 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 7.76% และรวมทองคำ มูลค่า 8,168.41 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 16.47%

สำหรับตลาดส่งออกสำคัญ พบว่า มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง โดยฮ่องกง เพิ่ม 163.58% ญี่ปุ่น เพิ่ม 8.59% อิตาลี เพิ่ม 42.11% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพิ่ม 23.14% สิงคโปร์ เพิ่ม 67.62% ส่วนสหรัฐฯ ลด 11.06% เยอรมนี ลด 48.49% สหราชอาณาจักร ลด 11.88% สวิตเซอร์แลนด์ ลด 7.75% อินเดีย ลด 61.72%

ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญ มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง โดยเครื่องประดับทอง เพิ่ม 31.18% เครื่องประดับแพลทินัม เพิ่ม 23.74% พลอยก้อน เพิ่ม 37.05% พลอยเนื้อแข็งเจียระไน เพิ่ม 94.12% พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เพิ่ม 147.06% เพชรก้อน เพิ่ม 10.85% ส่วนเพชรเจียระไน ลด 30.89% เครื่องประดับเงิน ลด 16.60% เครื่องประดับเทียม ลด 12.53% เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า ลด 19.30% และทองคำ ลด 36.63%

นายสุเมธกล่าวว่า แม้สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในช่วง 7 เดือน จะยังขยายตัวได้จากปัจจัยบวกหลายประการ ทั้งจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของตลาดที่สำคัญ โดยเฉพาะภาคบริการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่แรงหนุนเริ่มมีการแผ่วตัวลงจากตลาดสำคัญหลายแห่งที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่พฤติกรรมการบริโภคสินค้าในปัจจุบัน ผู้ขายต้องลดอุปสรรคต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการซื้อสินค้าและบริการ เพื่อให้มีความลื่นไหล และรองรับการปรับเปลี่ยนตามกระแสได้อย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการควรตอบรับด้วยการสร้างรูปแบบสินค้าให้ปราศจากข้อจำกัดมากขึ้น อย่างเช่นสินค้าที่มีคอนเซ็ปต์ไม่จำกัดเพศ สามารถสวมใส่ได้ไม่ว่าจะเป็นเพศใด เพื่อตอบสนองกระแสการเปิดรับความมีเอกลักษณ์สร้างตัวตนในทุกรูปแบบ หรือเครื่องประดับที่มีการใช้งานได้หลากหลาย รวมไปถึงการออกแบบช่องทางการนำเสนอสินค้าบนสื่อออนไลน์ให้เหมาะกับทุกอุปกรณ์ โดยเฉพาะการแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมใช้มากที่สุด เพราะสินค้าที่เข้าใจและเข้าถึงผู้บริโภค จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุด

ทั้งนี้ สิ่งที่จะต้องจับตาต่อไป เพราะมีผลต่อกำลังซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ คือ ภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวลงชัดเจน สะท้อนให้เห็นภาวะชะลอตัวจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่ยังรุมเร้าหลายประเทศทั่วโลก ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของสถาบันการเงินทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป หรือปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ในจีน รวมถึงการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและกำลังซื้อของประชาชนในประเทศต่าง ๆ  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

GIT ร่วมกับภาครัฐและเอกชน "ปลุกยักษ์" จัดเทศกาล BANGKOK JEWELRY WEEK 2024 by GIT” ฟื้นเศรษฐกิจถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับ บางรัก สัมพันธวงศ์ พระนคร

เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วกับ “เทศกาล BANGKOK JEWELRY WEEK 2024 by GIT” งานพัฒนาต่อยอดเครื่องประดับเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนเก่าแก่เชิงสร้างสรรค์บนถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับในกรุงเทพมหานคร

GIT ดันผู้ประกอบการหน้าใหม่ขยายตลาดโกอินเตอร์ ในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 70

12 กันยายน 2567 สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GITดันผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขยายตลาดออกร้านในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์

DITP และ GIT เตรียมจัด “บางกอกเจมส์” ครั้งที่ 70 สุดอลังการ ตอกย้ำจุดเด่นไทยในฐานะศูนย์กลางอัญมณีและเครื่องประดับโลก

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT พร้อมคณะอำนวยการจัดงานทั้งภาครัฐและเอกชน

“Enchanted Hues – Unlocking the Secret of Primary Colors Theory”

24 เมษายน 2567: GIT จัดการแถลงข่าวโครงการประกวดการออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 18 “Enchanted Hues – Unlocking the Secrets of Primary Colors Theory”

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับฟื้นตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือน ต.ค.66 มูลค่า 748.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 8.73% ฟื้นตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน หากรวมทองคำมีมูลค่า 1,576.92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 30.69% เหตุส่งออกทองคำไปเก็งกำไร ยอด 10 เดือน ไม่รวมทองคำ เพิ่ม 9.05% รวมทองคำ ลด 6.76% คาดแนวโน้มส่งออกยังดีต่อเนื่อง หลังเข้าสู่เทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ เผยผู้ผลิตไทยสุดเจ๋ง ทำสินค้าตอบโจทย์สายมูเตลู ดันออเดอร์พุ่ง