“บสย.” ผนึก SET เข็นโครงการ SME Platform พัฒนาและสนับสนุนสตาร์ทอัพ-เอสเอ็มอี กาง 3 มิติช่วยเหลือ พร้อมประเมินมีเอสเอ็มอีที่มีโอกาสขยายกิจการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) ประมาณ 30% หรือราว 240,000 ราย
12 ก.ย. 2566 – นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวภายหลังร่วมลงนามบนทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในโครงการ SME Platform เพื่อพัฒนาและสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้นและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ว่า โครงการดังกล่าวเพื่อเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการทั้งภาคการเงิน การผลิต เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดย 2 หน่วยงานจะร่วมมือกันเชื่อมโยงบทบาทการทำงานของตลาดเงินและตลาดทุน ในการส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี ผ่านโครงการ SME Platform รองรับการเติบโตของภาคธุรกิจเพื่อเตรียมสร้างความพร้อมสู่การระดมทุนในตลาดทุน
ทั้งนี้ บสย. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะร่วมกันบ่มเพาะเติมความรู้ด้านการเงินการลงทุนให้แก่สตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่แหล่งทุนและการระดมทุน ผ่านหลักสูตร e-Learning และ Scaling Up Platform หลักสูตรการอบรมเชิงลึก การจัดระบบงาน จับคู่ธุรกิจและให้คำปรึกษาธุรกิจ รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศน์ที่ช่วยส่งเสริมการเติบโตผ่านช่องทางตลาดหลักทรัพย์ Live Exchange และผ่าน บสย. Business School ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน บสย. F.A. Center
สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ บสย. จะให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ ใน 3 มิติ คือ 1. มิติการเข้าถึงแหล่งทุนจากสถาบันการเงินผ่านกลไกผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อภายใต้โครงการ SMEs เข้มแข็ง (PGS10) 2. ด้านการบ่มเพาะผู้ประกอบการให้มีความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) ผ่าน บสย. F.A. Center และ Live Platform ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET และ 3.มิติการบริหารหนี้ ช่วยเอสเอ็มอีแก้หนี้อย่างยั่งยืน โดยการค้ำประกันสินเชื่อเป็นกลไกที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Value) ให้กับ SMEs ซึ่งมีมูลค่าต่อ GDP 30-35% และรักษาการจ้างงานกว่า 70%
“ความร่วมมือครั้งนี้ จะเปิดโอกาสให้ขยายความช่วยเหลือโดยใช้ศักยภาพและกลไกของทั้ง 2 หน่วยงานเชื่อมโยงช่วยเหลือให้เอสเอ็มอีได้เข้าถึงแหล่งทุน จากทั้งตลาดเงิน และการระดมทุนผ่านตลาดทุน โดย บสย. มีฐานลูกค้าค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอีมากกว่า 8 แสนราย ซึ่งมีเอสเอ็มอีที่มีโอกาสขยายกิจการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) ประมาณ 30% หรือราว 240,000 ราย โดยภายใต้โครงการนี้ คาดว่าจะช่วยเชื่อมโยงให้เอสเอ็มอี ได้รวมตัวกันและ scale up ขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) เพื่อให้บริษัทเหล่านี้พัฒนาและเติบโตไปเป็นบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ใน SET ต่อไป” นายสิทธิกร กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลชู บสย.เยียวยาเอสเอ็มอีใต้
'ศศิกานต์' เผย มาตรการ บสย. เยียวยาช่วยเหลือพี่น้องชาวใต้ พักค่าธรรมเนียม-พักหนี้ 6 เดือน ช่วย SMEs ฟื้นฟูกิจการ
‘บสย.’ ขึงเป้าค้ำประกัน 1.15 แสนล. ลุยหารือคลังอ้อนเดินเครื่อง PGS 11
“บสย.” กางผลงานปี 2566 อนุมัติค้ำประกัน พุ่ง 1.14 แสนล้านบาท อุ้มเอสเอ็มอีรายใหม่เข้าถึงสินเชื่อเฉียดแสนราย สร้างสินเชื่อในระบบ 1.24 แสนล้านบาท พร้อมขึงเป้าผลงานปี 2567 ปักธงค้ำประกัน 1.15 แสนล้านบาท แจงหารือคลังจ่อลุย PGS11
เริ่มแล้ววันนี้! บสย. ผนึก ออมสิน ช่วย SMEs รายย่อยแก้หนี้นอกระบบ
เริ่มแล้ววันนี้ ! บสย. ผนึก ธนาคารออมสิน พร้อมขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล แก้หนี้นอกระบบ ช่วยผู้ค้ารายย่อยอาชีพอิสระกลุ่มหนี้นอกระบบ วงเงินค้ำสูงสุด 200,000 บาทต่อราย ระยะเวลาค้ำสูงสุด10 ปี ยกเว้นค่าธรรมเนียม 2 ปีแรก
'บสย.' เตรียมผุดมาตรการแฮร์คัต ลดต้นเงินกู้ให้ลูกหนี้เอสเอ็มอี
“บสย.” เตรียมผุดมาตรการแฮร์คัต ลดต้นเงินกู้ให้ลูกหนี้เอสเอ็มอีกลุ่มสีฟ้า 15% หวังผ่อนน้อย เบาแรง ปิดหนี้ได้เร็ว คาดเปิดลงทะเบียนได้ช่วง ม.ค.-เม.ย. 2567 พร้อมเดินหน้าถกคลังขอ 1 แสนล้านบาท ตั้งโครงการ PGS11 กางผลงาน 11 เดือนปี 2566 ลุยอนุมัติวงเงินค้ำประกันแล้ว 1.07 แสนล้านบาท