อุตสาหกรรมแจง ชาวไร่อ้อยเข้าใจเหตุจ่ายค่าตัดอ้อยสดล่าช้า

อุตสาหกรรมแจง ชาวไร่อ้อยเข้าใจเหตุจ่ายค่าตัดอ้อยสดล่าช้า ลั่นนำเรื่องหารือนายกฯด่วน ย้ำไม่ผูกพันงบปี 67 ด้านตัวแทนเกษตรกรวอนเร่งพิจารณาให้เงินถึงมือภายในเดือนต.ค.นี้

11 ก.ย. 2566 – น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมผู้บริหารกระทรวง ได้ประชุมร่วมกับตัวแทนสมาคมเกษตรกรชาวไร่อ้อย 38 แห่งจากทั่วประเทศ ว่าชาวไร่อ้อยได้ขอรับทราบแนวทางการแก้ปัญหาอ้อยและน้ำตาลทั้งระบบโดยเฉพาะกรณีเร่งด่วน เรื่องเงินสนับสนุนการตัดอ้อยสด เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (พีเอ็ม 2.5) จำนวน 120 บาทต่อตันที่ล่าช้า และแนวทางการแก้ปัญหาภาวะภัยแล้งที่อาจส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำตาล รวมถึงความชัดเจนของนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม หลังการเปลี่ยนรัฐบาล ซึ่งหลังเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับฟังคำตอบก็แสดงความพอใจ

“โดยเงินสนับสนุนการตัดอ้อยสดรอบปีที่ผ่านมาต้องขอวงเงินจากรัฐบาลใหม่ ใช้งบประมาณ 8,000 ล้านบาท โดยไม่ผูกพันกับงบประมาณใหม่ปี 2567 ซึ่งหลังทราบเรื่องแล้ว ทุกฝ่ายไม่ได้เพิกเฉย และได้นำปัญหาไปปรึกษากับนายกฤษฎา จินะวิจารณะ รมช.คลังแล้ว เพื่อหาแนวทางในการใช้กรอบวงเงิน ก่อนที่จะนำเข้าหารือ กับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งยอมรับว่าอาจจะยังไม่ทันเดือนต.ค.นี้ แต่จะพยายามเร่งให้มีการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะเข้าใจถึงความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อยเป็นอย่างดี”น.ส.พิมพ์ภัทรา กล่าว

นายปารเมศ โพธารากุล ประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ตัวแทนเกษตรกรชาวไร่อ้อย กล่าวว่า ที่ผ่านมาชาวไร่อ้อยมักถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายที่ทำให้เกิดฝุ่นพีเอ็ม 2.5 จากการเผาไร่อ้อย ทั้งที่จากข้อมูลระบุว่า ฝุ่นขนาดเล็กที่เกิดจากอ้อยไฟไหม้มีอยู่เพียงแค่ไม่ถึง 10% ของฝุ่นที่เกิดขึ้น แต่ชาวไร่อ้อยก็ได้เข้าร่วมพันธสัญญาในการตัดอ้อยสดที่มีต้นทุนสูงตามนโยบายภาครัฐ โดยรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล 120 บาทต่อตัน ซึ่งช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างรัฐบาลเดิมสู่รัฐบาลใหม่ ทำให้เงินสนับสนุนดังกล่าวถูกชะลอออกไป จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับเงินดังกล่าว สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยทั้งประเทศที่ลงทุนจ้างตัดอ้อยสดไปแล้ว

“ขณะนี้กำลังจะถึงฤดูการหีบอ้อยใหม่ ประกอบกับภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาจเป็นอุปสรรคต่อเกษตรกร เพราะเกษตรกรต้องเตรียมพร้อมรับมือ ต้องใช้เงินทุน เครื่องจักร แรงงาน จึงอยากขอความอนุเคราะห์จากกระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการเรื่องเงินสนับสนุน การช่วยเหลือการตัดอ้อยสดจำนวน 120 บาทต่อตันของฤดูกาลที่ผ่านมาให้ถึงมือเกษตรกรภายในเดือนต.ค.นี้รวมทั้งขอความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายการจ่ายเงินสนับสนุนในรอบปีใหม่ด้วย”นายปารเมศ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิมพ์ภัทรา' นำทีมบุกญี่ปุ่น ศึกษาโมเดล 'นิคมอุตสาหกรรม Circular' มาปรับใช้กับไทย

“พิมพ์ภัทรา”นำทีมเยือนญี่ปุ่น 21 - 27 กรกฎาคม 2567 ปักหมุดดูงานพัฒนาการจัดตั้ง “นิคมอุตสาหกรรม Circular” พร้อมหารือกับองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization : JETRO) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมของไทย ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน เศรษฐกิจหมุนเวียน และความเป็นกลางทางคาร์บอน

‘พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล’หวังกระทรวงอุตฯเป็นที่พึ่งของทุกคนอย่างแท้จริง

การเข้ามานั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการประจำกระทรวงต่างๆ ในประเทศไทยนั้นต้องผ่านด้านการบริหารงานมาเข้มข้น และยังต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง

'พิมพ์ภัทรา' สั่งการ 'ดีพร้อม' เร่งเยียวยาประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการให้ นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เร่งเยียวยาและฟื้นฟูให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการและพี่น้องประชาชนในพื้นที่จากเหตุเพลิงไหม้ถังเก็บวัตถุดิบสารไพโรไลสีส แก๊สโซลีน

สะสางปัญหา กากแคดเมียม เดิมพันการเมืองครั้งสำคัญ พิมพ์ภัทรา-รมว.อุตสาหกรรม

ปัญหาการพบกากแร่อันตรายแคดเมียม ที่มีการขนย้ายมาจากจังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันมีการยึดอายัดได้ประมาณ 12,500 ตัน หลังพบที่สมุทรสาคร ชลบุรี และกรุงเทพฯ

'พิมพ์ภัทรา' ดึงดีเอสไอ-ปปง. ร่วมสอบปมกากแคดเมียม ชี้หากมีแต่คนใน ก.อุตฯ สังคมจะคาใจ

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการลักลอบขนย้ายกากสารแคดเมียมที่ผิดกฎหมาย ว่า คำสั่งการการประชุมครม. ที่ผ่านมา เป็นการทำงานร่วมกันของทั้ง 6 กระทรวง