'ธปท.' จ่อหั่นจีดีพี-เงินเฟ้อปี 66 หลังรายได้ท่องเที่ยววืด ส่งออกยังโคม่า

“ธปท.” จ่อหั่นจีดีพี-เงินเฟ้อปี 2566 หลังรายได้ภาคท่องเที่ยววืด ส่งออกยังโคม่า พร้อมส่งสัญญาณถอนคันเร่งนโยบายการเงิน ชี้ดอกเบี้ยต้องเข้าสู่จุดสมดุลระยะยาว หลังบริบทเศรษฐกิจเปลี่ยน ด้าน “ฟิชท์ เรตติ้ง” ห่วงจัดตั้งรัฐบาลผสมทำงบปี 2567 ซับซ้อน-ล่าช้า

6 ก.ย. 2566 – นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในหัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจการเงินไทย” ว่า ธปท. จะมีการปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจ (จีดีพี) และอัตราเงินเฟ้อลดลง เพราะภาพรวมออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ยังคงฟื้นตัว โดยเฉพาะจีดีพีในไตรมาส 2/2566 ที่ขยายตัว 1.8% ซึ่งออกมาต่ำกว่าที่คาด จากรายได้ต่อหัวของนักท่องเที่ยวที่ออกมาน้อยกว่าคาด แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้จะขยายตัวได้ใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ที่ 29 ล้านคน เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาน้อยลง ซึ่งจีนเป็นชาติที่ใช้จ่ายค่อนข้างสูง รวมถึงภาคการส่งออกที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมิน

ขณะที่ภาพรวมการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2/2565 ขยายตัว 7.8% ถือว่าโตแรงมาก และครึ่งแรกของปี 2566 การบริโภคภาคเอกชนโตสูงสุดในรอบ 20 ปี ส่วนหนึ่งมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมา โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ซึ่งมีส่วนสำคัญในการจ้างงาน คิดเป็น 1 ใน 5 ของการจ้างงานทั้งหมด และท่องเที่ยวมีสัดส่วนถึง 12% ของจีดีพี

สำหรับทิศทางนโยบายการเงินหลังจากนี้ จึงต้องปรับไปตามบริบทของเศรษฐกิจ เป็นแลนด์ดิ้ง ธปท. ต้องการให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับภาพระยะยาว และสอดคล้องกับความสมดุลของเศรษฐกิจในระยะยาว โดย 1. เงินเฟ้อเข้ากรอบเป้าหมายยั่งยืนที่ระดับ 1-3% 2. อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอยู่ในศักยภาพระยะยาว ที่ระดับ 3-4% และ 3. อย่าให้เกิดความไม่สมดุลด้านการเงิน

“การเข้าสู่สภาวะปกติ การเข้าสู่สมดุล หากเทียบเคียงให้เห็นภาพ คือ การถอนคันเร่ง เพราะเดิมเราเหยียบคันเร่งอย่างสุด ๆ โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจ ซึ่งตอนนี้ไม่ใช่แล้ว แต่ก็ไม่ใช่การเหยียบเบรก เพราะบริบทเศรษฐกิจของไทยไม่เหมือนกับต่างประเทศ โดยของไทย คือ อยากให้ดอกเบี้ยเข้าสู่ระยะยาว ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้ก็อาจจะเข้าสู่จุดที่ใกล้แล้ว จวนแล้ว โดยอยากให้รอดูการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อีกที” นายเศรษฐพุฒิ กล่าว

นายเจมส์ แมคคอร์แมค กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้ากลุ่มจัดอันดับเครดิตประเทศของฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวในงานสัมมนา Global and Regional Economic&Bank Outlook ในหัวข้อ GLOBAL RISKS & OUTLOOK FOR MAJOR ECONOMIES ซึ่งจัดโดย บริษัท ฟิชท์ เรตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ว่า ฟิทช์เชื่อว่า แม้ว่าการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่เกิดจากการจับขั้วหลายพรรคการเมืองจะทำให้สามารถผลักดันนโยบายต่าง ๆ ได้ แต่ด้วยมุมมองความเห็นที่หลากหลายจากการเป็นรัฐบาลผสม จะทำให้กระบวนการพิจารณาอนุมัติงบประมาณสำหรับปี 2567 มีความซับซ้อนและอาจทำให้เกิดความล่าช้าได้

อีกทั้งการพิจารณางบประมาณนี้ยังถูกจำกัดจากนโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่จะปรับเพิ่มการใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคม ซึ่งน่าจะช่วยสนับสนุนการเติบโตได้ในระยะสั้น แต่อาจสร้างแรงกดดันส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มสูงขึ้น หากไม่สามารถรักษาระดับการเติบโตของจีดีพีให้มีความต่อเนื่องได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เพื่อไทย' ไม่ฟังเสียงต้าน! ดันทุรังเข็น 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยตั้งแต่รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน

โฆษกรัฐบาล ขอบคุณ 'ผู้ว่าแบงก์ชาติ' ยอมรับเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต่อการให้สัมภาษณ์ของนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนนั้น รัฐบาลต้องขอบคุณมากที่ ผู้ว่าฯธปท.