อาเซียนมุ่งหน้าเศรษฐกิจดิจิทัลเต็มตัว

คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ประกาศเริ่มต้นเจรจาความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน (DEFA) อย่างเป็นทางการ เริ่มรอบแรก พ.ย.66 ตั้งเป้าสรุปผลภายใน 2 ปี พร้อมเคาะผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ ยุทธศาสตร์คาร์บอน เศรษฐกิจภาคทะเล การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ระยะ 20 ปีข้างหน้า เตรียมชงผู้นำ 5-7 ก.ย.นี้

5 ก.ย. 2566 -นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้เป็นผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 3 ก.ย.2566 ที่ผ่านมา ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการประชุมระดับรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจที่กำกับดูแลการดำเนินการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทั้งหมด โดยที่ประชุมได้พิจารณาให้ความเห็นชอบและรับรองผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อเสนอต่อผู้นำอาเซียน ในช่วงวันที่ 5-7 ก.ย.2566 พร้อมทั้งร่วมกำหนดทิศทางของการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจภายใต้วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนใหม่หลังปี 2568

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ประกาศเริ่มต้นการเจรจาความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน (DEFA) อย่างเป็นทางการ โดยคณะกรรมการประสานงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน หรือ ACCED กำหนดเริ่มเจรจารอบแรกในเดือน พ.ย.2566 และตั้งเป้าสรุปผลภายใน 2 ปี โดยความตกลงดังกล่าว จะช่วยให้อาเซียนมีกรอบกติกาด้านการค้าดิจิทัลที่เหมือนกัน เปิดกว้าง และปลอดภัยในการทำธุรกรรมด้านดิจิทัลระหว่างกัน เช่น การยืนยันและพิสูจน์ตัวตน การใช้เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการชำระเงินดิจิทัลที่เชื่อมโยงและยอมรับร่วมกันได้ภายในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการค้าผ่านระบบดิจิทัลระหว่างกันอย่างไร้รอยต่อ รวมทั้งจะเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันและลดช่องว่างด้านดิจิทัลระหว่างกัน ซึ่งจะนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาค และที่สำคัญจะช่วยดึงดูดการลงทุนภายในอาเซียนและจากต่างประเทศเข้ามายังภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าผ่านระบบดิจิทัลในอาเซียนถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2573

ขณะเดียวกัน ได้รับรองและเห็นชอบผลการดำเนินงานที่สำคัญหลายเรื่อง โดยเฉพาะด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของอาเซียน เช่น การจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจภาคทะเล และปฏิญญาผู้นำเรื่องการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตลอดจนการดำเนินงานด้านการสร้างเครือข่ายการผลิตใหม่และห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นภายในภูมิภาคที่มากยิ่งขึ้น ภายใต้กรอบการดำเนินงานสำหรับโครงการพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม ซึ่งจะเสนอผลดังกล่าวต่อที่ประชุมผู้นำอาเซียนต่อไป

นอกจากนี้ อาเซียนได้ร่วมพิจารณาวางแนวทางการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในระยะ 20 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2569-2588) โดยมุ่งหมายจะยกระดับการรวมตัวให้เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวที่เชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ เสริมศักยภาพด้านความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคด้วยปัจจัยใหม่ ๆ ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก และสามารถปรับตัวต่อโอกาสและความท้าทายในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาเซียนจะหารือเพื่อพิจารณาทำแผนการดำเนินงานตามแนวทางดังกล่าวต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

งงหนักมาก! ตั้ง ’ทักษิณ‘ เป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียน เพื่อสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้

สืบเนื่องจากกรณี นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแต่งตั้งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวในตำแหน่งประธานอาเซียน ที่นา

'อิชิอิ'มั่นใจลูกทีมพร้อม ดวลสิงคโปร์ศึกอาเซียน มุ่งเก็บ3แต้มเพื่อเข้ารอบ

วันที่ 16 ธันวาคม 2567 เวลา 15.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ณ ห้องแถลงข่าวสนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ ฝ่ายจัดการแข่งขันสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน จัดงานแถลงข่าวก่อนการแข่งขันฟุตบอล ASEAN Mitsubishi Electric Cup 2024 รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอ ระหว่าง ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติสิงคโปร์

'สุภโชค'อ้อนแฟนบอล เชียร์ช้างศึกเต็มราชมังฯ เชื่อแข้งไทยรับแรงกดดันในอาเซียนได้

สุภโชค สารชาติ แนวรุกทีมชาติไทย จากสโมสร ฮอกไกโด คอนซาโดเล่ ซัปโปโร ในเจลีก เชื่อมั่นว่าเพื่อนร่วมทีมจะรับมือกับความกดดันในอาเซียน คัพ ได้อย่างแน่นอน แม้จะมีนักเตะหน้าใหม่หลายคนก็ตาม

นายกฯ'อุ๊งอิ๊ง'ยืนยัน หนุนจัดซีเกมส์-พาราฯเต็มที่ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศด้วย

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการอํานวยการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม