กทพ.เดินหน้าแก้รถติดแยกเกษตรฯ - ถนนงามวงศ์วาน

กทพ.เดินหน้าแก้รถแยกเกษตร -ถนนงามวงศ์วาน ย้ำโครงการทางด่วนขั้น 3 สายเหนือ ส่วนทดแทนตอน N1 ขุดอุโมงค์เหมาะสุด วงเงินก่อสร้างกว่า 3.6 หมื่นล้าน คาดศึกษาแล้วเสร็จปี67 ก่อนเสนอ ครม.ปี68 ลุ้นเปิดประมูลปี 69

5 ก.ย. 2566 – นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสรุปผลการคัดเลือกแนวสายทางที่เหมาะสม โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ส่วนทดแทนตอน N1 ว่าที่ผ่านมาการทางพิเศษฯ ได้มีการศึกษารายละเอียดและได้ประสานงานทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อลดผลกระทบในการก่อสร้าง โดยงานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม

สำหรับแนวทางที่ดีที่สุดซึ่งเป็นแนวทางเลือกซึ่งเลือกแนวสายทางที่ 2.2 เป็นแนวสายทางที่เหมาะสมที่สุดมีลักษณะเป็นอุโมงค์ใต้ดินทั้งหมด ซึ่งจะมีการปรับวงเงินก่อสร้างจากเดิมขึ้นคาดว่างบประมาณก่อสร้าง 36,000 ล้านบาท โดยจุดเริ่มต้นบริเวณทางพิเศษศรีรัชตัดกับถนนงามวงศ์วาน แนวสายทางจะไปตามแนวถนนงามวงศ์วานผ่านแยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร เข้าถนนประเสริฐมนูกิจจนเชื่อมต่อกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และเชื่อมต่อ E-W Corridor ซึ่งจะได้นำไปศึกษาอย่างละเอียดในขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้ ตามแผนกำหนดคาด่าจะศึกษาแล้วเสร็จปี2567 พร้อมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในปี 2568 โดยในปี 2569เริ่มเปิดประมูลโครงการ เริ่มก่อสร้างในปี 2570 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 5ปี แล้วเสร็จปี 2575 โดยคาดการณ์ปริมาณจราจรปีเปิดบริการที่ 7 หมื่นคัน/วัน ขณะที่สายทางมีความจุประมาณ 1.4 แสนคัน/วัน เบื้องต้น กทพ.จะลงทุนเอง โดยใช้รายได้มาดำเนินการ ซึ่งฐานะการเงินของกทพ.มีความแข็งแกร่ง จะดูกระแสเงินสด หากไม่พอ จะระดมทุนเข้ามาช่วย เช่น ออกบอนด์ เป็นต้น

“งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ส่วนทดแทนตอน N1 มีความมุ่งหมายที่สำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาการจราจราจรบริเวณแยกเกษตร ถนนงามวงศ์วาน ถนนประเสริฐมนูกิจ และพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังเป็นการรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเติบโตของเมืองในอนาคตได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพต่อไป” นายสุรเชษฐ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย ประกอบด้วย บริษัทอินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีเคด คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด ได้ทำการศึกษาคัดเลือกแนวสายทางที่เหมาะสมของโครงการ โดยพิจารณาเปรียบเทียบความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรมและจราจร เศรษฐกิจและการลงทุน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่วนทดแทนตอน N1 มีความมุ่งหมายที่สำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาการจราจราจรบริเวณแยกเกษตร ถนนงามวงศ์วาน ถนนประเสริฐมนูกิจ และพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังเป็นการรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเติบโตของเมืองในอนาคตได้อย่าง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.สามารถ' หนุนรัฐซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชน แต่ค้านขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช

'ดร.สามารถ' หนุนรัฐซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชน เพื่อลดค่าโดยสารทุกสายทุกสีเหลือ 20 บาทตลอดสาย ต้องการทำให้ค่าผ่านทางด่วนถูกลงด้วย ก็เป็นเรื่องดีเช่นเดียวกัน แต่กลับจะขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ให้เอกชน ซึ่งจะไม่สามารถทำให้ค่าผ่านทางด่วนทั้งโครงข่ายถูกลงได้ ในทางกลับกัน การทำให้สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงโดยเร็ว จะทำให้ค่าผ่านทางถูกลง

กทพ.ผุดทางด่วนริเวียร่า 'สมุทรสาคร-สมุทรปราการ' มูลค่าแสนล้าน

“กทพ.” กางแผนลุ้นปี 69-70 ศึกษาสร้าง “ทางด่วนริเวียร่าสมุทรสาคร-สมุทรปราการ” วงเงิน 1.09 แสนล้านบาท ยาว 71 กม. เล็งตอกเสาเข็มแบ่งเป็นเฟส รับแผนแม่บท MR-MAP เชื่อมมอเตอร์เวย์ หนุนระบบราง

ครม.ต่ออายุ 'สุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข' นั่งผู้ว่าการการทางพิเศษฯ อีกวาระ

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการแต่งตั้ง นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข เป็นผู้ว่าการการทาง