“คลัง” ลุยแจงข้อเสนอขึ้น VAT 10% แก้เงินออมคนชรา ชี้มี พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง กำกับ ยันฐานะการคลังยังแกร่ง เพียงพอรองรับการจัดสรรสวัสดิการคนแก่ พร้อมกางผลจัดเก็บรายได้ 10 เดือน สูงกว่าเป้าหมาย 7.6%
28 ส.ค. 2566 – นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 ขยายตัวที่ 2.2% และคาดว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะขยายตัวได้เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวและอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย เนื่องจากแรงกดดันจากราคาสินค้าในหมวดพลังงานได้คลี่คลายลง ประกอบกับในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิสูงกว่าประมาณการ 7.6% และสูงกว่าช่วงเดียวกับปีก่อน5.2% ดังนั้น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ 7% เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน และสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจให้กับภาคเอกชน อันจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ฐานะการคลังในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่มั่นคงและเพียงพอต่อการดำเนินนโยบายต่าง ๆ รวมถึงการจัดสรรสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมีกองทุนผู้สูงอายุที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และสนับสนุนผู้สูงอายุ รวมถึงมีการเก็บเงินบำรุงกองทุนผู้สูงอายุจากภาษีสรรพสามิตสินค้าสุราและยาสูบในอัตรา2% โดยปีงบประมาณละไม่เกิน 4,000 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา เพื่อนำเงินกองทุนผู้สูงอายุไปจัดสรรเป็นเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม
สำหรับข้อเสนอให้ปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพื่อนำมาใช้เป็นเงินออมในวัยเกษียณให้แก่ประชาชน เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีฐานการบริโภคที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ การปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มย่อมส่งผลกระทบต่อการบริโภคของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลของการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อำนาจการซื้อของประชาชนลดลง
ดังนั้น การปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างรอบด้าน ตลอดจนพิจารณาในช่วงเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 กำหนดว่า การกันเงินรายได้
เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนําไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น หรือเพื่อการหนึ่งการใดเป็นการเฉพาะจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องหารือถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินการต่อไป
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้ส่งเสริมและปรับปรุงระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุของแรงงานอย่างต่อเนื่อง เช่น ได้ปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงเพื่อเพิ่มเพดานเงินสะสมของสมาชิกและเพิ่มเพดานเงินสมทบจากรัฐให้แก่สมาชิก ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบที่ออมกับกองทุนการออมแห่งชาติเพื่อให้มีเงินออมใช้หลังเกษียณเพิ่มขึ้นแล้ว การเสนอร่าง พ.ร.บ. กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ. …. เพื่อให้แรงงานในระบบมีเงินออมเพิ่มขึ้น รวมถึงการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงินเพื่อให้คนไทยทุกกลุ่มและทุกช่วงวัยมีทักษะทางการเงินและความมั่นคงทางการเงินเพิ่มขึ้นด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คลังโชว์ตัวเลขไตรมาส 1 รายได้ส่งคลังทะลุ 6.22 แสนล้าน
“คลัง” กางตัวเลขฐานะไตรมาส 1 ปีงบ 2567 รายได้นำส่งคลัง 6.22 แสนล้านบาท แผ่วกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 1.68 หมื่นล้านบาท โชว์เบิกจ่าย 9.63 แสนล้านบาท กู้ชดเชยขาดดุล 2 หมื่นล้านบาท ดันยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2566 แตะ 2.09 แสนล้านบาท
ปชป.ชงแนวทางแก้ปัญหาราคาพลังงาน!
'ปชป.' ฉะรัฐบาลแก้ปัญหาค่าน้ำมัน-ไฟฟ้าแบบฉาบฉวย กลุ่มทุนพลังงานได้ประโยชน์ แต่ผลักภาระให้ ปชช. พร้อม เสนอปรับเกณฑ์นโยบายพลังงาน ทำราคาน้ำมันสำเร็จรูปทุกชนิดลดลงทันที
'คลัง' ฟุ้งเศรษฐกิจเดือนพ.ย.แจ่มอานิสงส์ท่องเที่ยวหนุน
“คลัง” ฟุ้งเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ย. 2565 ยังแจ่ม อานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้นช่วยดันสุดพลัง ต่างชาติแห่เข้าไทยพุ่งทะยาน 1,815.9% ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคขยับต่อเนื่อง 6 เดือนติด หลังมั่นใจเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง-ทิศทางราคาสินค้าและค่าครองชีพลดลง ส่งออกโตแผ่ว -6% เหตุอุปสงค์ประเทศคู่ค้าชะลอ
'คลัง' ฟุ้งเศรษฐกิจไทยเดือน ส.ค.65 ยังแจ่ม
“คลัง” ฟุ้งเศรษฐกิจไทยเดือน ส.ค. 2565 ยังแจ่ม บริโภคภาคเอกชน-ท่องเที่ยว-ส่งออกช่วยหนุน แจงยังกังวลราคาน้ำมันพุ่ง ดันค่าครองชีพ-ต้นทุนการผลิตทะยาน
คลังชี้เศรษฐกิจ ก.ค. ยังแจ่มท่องเที่ยว-ส่งออก-รายได้เกษตรหนุนเต็มสูบ
เนื่องเป็นเดือนที่ 17 ช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยฟื้นไม่หยุด จับตาความขัดแย้งระหว่างประเทศหวั่นกระทบภาคการผลิต-ส่งออก
'อดีตผู้ว่าธปท.' สับรัฐอัดประชานิยมกระทบฐานะคลังระยะยาวบีบศก.ตกเหว
“อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ” สับรัฐอัดนโยบายประชานิยม ใช้จ่ายหนักมือ ทำงบประมาณแบบขาดดุลยาวนาน กระทบฐานะการคลังระยะยาว บีบเศรษฐกิจตกเหว ย้ำ ธปท. ต้องทำนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ใจแข็ง เป็นด่านสุดท้ายป้องเศรษฐกิจ