สศช.เผยศก.ไทยไตรมาส 2 ดิ่งแรงเหลือโตแค่ 1.8% พร้อมหั่นเป้าทั้งปี

เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 โตเหลือแค่ 1.8% สภาพัฒน์ลดเป้าโตปีนี้ลงต่ำสุดเหลือ 2.5% ผงะส่งออกไทยถดถอยแรง ติดลบถึง 2 ไตรมาส

21 ส.ค. 2566 -นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2 ปีนี้  พบว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนเติบโตเพียง 1.8% ซึ่งลดลงมากถึง -0.8% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1 ที่เคยขยายตัวที่ระดับ 2.6% นอกจากนี้ ยังเติบโตได้ต่ำกว่าที่หลายฝ่ายประเมินไว้ว่าจะขยายตัวได้ถึงระดับ 3.0%

เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจัยการเมืองไทยกระทบต่ออารมณ์และความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ กระทบต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ รวมถึงการสรุปงบประมาณรัฐบาลใหม่ที่จะต้องเริ่มต้นการใช้จ่ายในวันที่ 1 ตุลาคมนี้

ปัจจัยลบต่อมา คือภาคการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ตกต่ำต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ปีนี้ ทำให้เข้าสู่ภาวะส่งออกถดถอย เนื่องจากติดลบถึง 2 ไตรมาสติดต่อกัน โดยส่งออกไทยในไตรมาสที่ 2 ติดลบหนักถึง -6.4% ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ส่งออกไทยที่ติดลบมากถึง -5.7% สาเหตุจากตลาดส่งออกของไทยโดยเฉพาะคู่ค้าอย่างจีนแผ่นดินใหญ่ที่ชะลอตัวอย่างมากในปีนี้

ขณะที่การบริโภคภายในประเทศประจำไตรมาส 2 ปีนี้ พบว่าขยายตัวเป็น 7.8% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ที่เติบโต 5.8%

ดังนั้น สภาพัฒน์จึงมีมติปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีประเทศไทยในปีนี้จากเดิมระหว่าง 2.7% ถึง 3.7% มาเหลือเพียงระหว่าง 2.5% ถึง 3.0%

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% เริ่ม 1 พ.ย.

ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

'สภาพัฒน์' สั่งจับตาหนี้เสีย แนะแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้

‘สภาพัฒน์’เผยหนี้เสียยังเพิ่มขึ้นมาที่ 2.99% เร่งแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้ แนะจับตาประเด็นการกู้เงินนอกระบบบนโซเชียลมีเดีย ส่วนอัตราว่างงานไตรมาส 2/67 อยู่ที่ 1.07% เพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังฟื้นตัวจากโควิด

สภาพัฒน์ เตรียมชงครม.อุ๊งอิ๊ง จัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงการเดินหน้า โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท โดยจะต้องดูว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร หากรัฐบาลดำเนินมาตรการนี้ต่อก็จะต้องดูว่ามีการปรับเปลี่ยนมากน้อยแค่ไหน จากเดิมที่มีข้อเสนอสำคัญไป 2 เรื่อง คือ แหล่งที่มาของเงิน จากงบประมาณปี 67 ที่มีการใช้จ่ายแล้ว และงบประมาณปี 68 ที่จะเข้ามาวันที่ 1 ตุลาคมนี้