กบข. จับตาประชุม Fed คาดขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น หวังลดเงินเฟ้อ

กบข. จับตาการประชุม Fed ในช่วงกลางเดือน ธ.ค. นี้ คาดปรับท่าทีผ่อนคันเร่งเร็วขึ้น จบ taper เร็วขึ้น ตามด้วยขึ้นอัตราดอกเบี้ยประมาณ 2 ครั้งในปีหน้า กดดันด้วยอัตราเงินเฟ้อระดับสูง

10 ธ.ค. 2564 นางศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า สถานการณ์อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศอยู่ในระดับสูงและสูงกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเหตุจากอุปสงค์ส่วนเกินในสหรัฐฯ และกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ลดความผ่อนคลายนโยบายการเงิน (tapering) และเปลี่ยนเป็นตึงตัว (tightening) เร็วขึ้นซึ่งในช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้ (วันที่ 14-15) จะมีการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) กบข. ได้มีการติดตามการประชุมอย่างใกล้ชิด และมองว่า Fed จะปรับท่าทีเป็นเข้มงวด (hawkish) มากขึ้น สอดคล้องกับท่าทีของนาย Jerome Powell ประธาน Fed ในการแถลงการณ์สภาวะเศรษฐกิจต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้คาดว่า Fed มีแนวโน้มที่จะดำเนินการ taper เร็วขึ้นเป็นมากกว่า 15 พันล้านดอลลาร์ต่อเดือน ทำให้ QE สิ้นสุดลงระหว่างไตรมาสที่ 2 ของปี 2022 ตามด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยประมาณ 2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปีเดียวกัน นอกจากนี้ ธนาคารกลางของประเทศอื่นที่สำคัญ เช่น สหราชอาณาจักร แคนาดา และออสเตรเลีย ต่างมีท่าทีหยุดการผ่อนคลายหรือปรับเป็นเข้มงวดเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อระดับสูงด้วยเช่นกัน

โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคทั่วไป (headline CPI) ของสหรัฐฯ แตะระดับ 6.2% สูงกว่าที่ Bloomberg Consensus ได้คาดการณ์ที่ 5.9% โดยปรับสูงขึ้นตามลำดับและมากกว่าประมาณการโดยทั่วไปนับตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ประกอบกับในช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Futures) ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐได้ประเมินว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงเกือบ 3 ครั้งภายในปีหน้า

ทั้งนี้ กบข. คาดว่า อัตราเงินเฟ้อในระดับสูงจะมีความยืดเยื้ออีกนานแค่ไหนอย่างไร เราน่าจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นในระยะถัดไป หรือเข้าสู่ปีหน้า 1) การพิจารณารวมถึงการปรับสมดุลระหว่างอุปสงค์ส่วนเกินและอุปทานส่วนขาดในภาคส่วนต่าง ๆ ของเศรษฐกิจ อนึ่ง อุปสงค์ส่วนเกินที่เป็นตัวเร่ง Fed มากกว่าอุปทานส่วนขาดนั้นยังคงส่งสัญญาณต่อไปในหลายตัวเลขเศรษฐกิจ เช่น ยอดค้าปลีก ยอดคำสั่งซื้อสินค้าไม่คงทน เป็นต้น อีกทั้ง 2) ความไม่แน่นอนจากการกลายพันธุ์ของ Covid โดยเฉพาะสายพันธุ์ Omicron ที่อาจมีผลให้ supply disruptions ยาวนานยิ่งขึ้น

ในด้านการลงทุน กบข. มองว่าต้องให้ความสำคัญมากขึ้นต่อการถือครองสินทรัพย์และการปรับการจัดสรรพอร์ตการลงทุนที่สามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อได้ ได้แก่ สินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ทองแดง เป็นต้น ซึ่งเหมาะสมต่อภาวะที่อัตราเงินเฟ้อผู้ผลิตของจีนอยู่ในระดับสูง หุ้นกลุ่มที่ได้รับผลบวกจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ส่วนด้านตราสารหนี้ เน้นกลยุทธ์ที่รองรับการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและกลาง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ราชกิจจาฯ ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญขรก. วิธีแจ้งยอดเงินในบัญชีเงินรายบุคคล

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเรื่อง วิธีการแจ้งยอดเงินในบัญชีเงินรายบุคคลพ.ศ. ๒๕๖๗

‘สว.สถิตย์’ แนะแบงก์ชาติ สร้างความเป็นธรรมผู้บริโภค หลังปรับดอกเบี้ย

สว.สถิตย์ แนะธนาคารแห่งประเทศไทย สร้างความเป็นธรรมผู้บริโภค-คู่แข่งขันทางสถาบันการเงิน หลังปรับดอกเบี้ยท่ามกลางเงินเฟ้อ-ธนาคารฟันกำไร

‘เศรษฐา’ เล็งเคลียร์ ’ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ’ ปมขึ้นดอกเบี้ยสวนทางเงินเฟ้อ

‘เศรษฐา’ ย้ำจุดยืนไม่เห็นด้วย ‘แบงก์ชาติ’ ขึ้นดอกเบี้ยสวนทางสถานการณ์เงินเฟ้อ แจงโพสต์เพราะห่วงกระทบราคาพืชผลการเกษตร ให้พาณิชย์ดูแล บอกคุยกับผู้ว่าฯแบงก์ชาติอยู่ตลอด

บิ๊ก 'กบข.' มองบวก เชื่อท่องเที่ยว-ส่งออก ดันเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว

กบข. ประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี หลังได้รับอานิสงส์จากการท่องเที่ยว และประเทศคู่ค้าฟื้นตัวส่งผลให้ภาคการส่งออกมีสัญญาณที่ดี พร้อมคาดภาวะบาทแข็งจะทำให้นักลงทุนต่างชาติจะกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นไทย

ด่วน! กรุงไทย ประกาศขึ้นดอกเบี้ยฝาก-กู้

“กรุงไทย” ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ยืนหยัดดูแลลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน ​ธนาคารกรุงไทย ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ พร้อมดูแลลูกค้าให้สามารถปรับตัว หลังกนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เพื่อให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย เสริมสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินให้เข้าสู่ภาวะสมดุล โดยปรับดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด 0.45 % ดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25%