นายกฯ ปลื้มดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มสูงติดต่อกัน 4 เดือน

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ปลื้มดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มสูงติดต่อกัน 4 เดือน เน้นย้ำกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปีสร้างความเชื่อมั่นเพิ่ม

10 ธ.ค.2564 - นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) พอใจตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมประจำเดือน พฤศจิกายน 2564 ที่ปรับตัวสูงขึ้น ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 45.2 จากเดิมที่ 43.4 ในเดือนตุลาคม เป็นการปรับเพิ่มขึ้นอย่างเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน ขณะที่ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ก็รายงานผลการสำรวจความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 43.9 ในเดือน ต.ค. เป็น 44.9 ในเดือน พ.ย. 2564 นับว่าความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7เดือนหลังจากการเปิดประเทศ

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค ได้แก่ปัจจัย เรื่องภัยพิบัติ โรคระบาด ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 34.33 รองลงมาคือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจไทย คิดเป็นร้อยละ 28.79 ปัจจัยด้านมาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 15.41 ปัจจัยด้านการเมือง คิดเป็นร้อยละ 7.07 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 5.22 ปัจจัยด้าน สังคม ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 3.79และปัจจัยด้านราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 5.38 ตามลำดับ

“สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด–19 ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประชาชนคลายความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด และท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาดำเนินการได้ในช่วงปลายปีนี้ ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการของรัฐบาล อาทิ ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ การลด ยุติเวลาเคอร์ฟิว การประกาศเปิดประเทศ ทำให้ภาคเอกชนสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจภายในประเทศที่ฟื้นตัวตามการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ที่ครม.ได้มีมติเห็นชอบ ให้สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ เพื่อรักษาเสถียรภาพน้ำมันดีเซล ก็ส่งผลเชิงบวกต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทำให้การจับจ่ายใช้สอยของคนไทยในการบริโภคและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และคาดว่า โครงการ แผนงานที่แต่ละกระทรวงจัดเตรียมเพื่อ มอบเป็นของขวัญปีใหม่แก่พี่น้องคนไทย ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมตรี จะยิ่งช่วยเสริมบรรยากาศเศรษฐกิจ กระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงปลายปีนี้ด้วย” นายธนกร กล่าว

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คาดการณ์ดวงชะตาบุคคลสำคัญ 'ลุงตู่' เสียอะไรได้กลับมา 'ทักษิณ' ทุกข์ระทม 'อุ๊งอิ๊ง' ถูกบีบเดินทางแคบ

.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี หลังจากผ่านปรากฎการณ์ต้องคลาดคลาพิจารณาให้เสียดายคือหลังเลือกตั้ง14พฤษภาคม2566ลาออกจากทุกตำแ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) คาดการณ์ยังพุ่งได้ต่อเนื่องหลังจากกระแสเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาคึกคัก

นางสาวปณิตา  ชินวัตร รองผู้อำนวยการรักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดเผยดัชนี SMESI ประจำเดือนเมษายน 2567 อยู่ที่ระดับ 54.1

ประเดิมเดือนแรกของปี เงินเฟ้อติดลบ 1.11% พาณิชย์ย้ำยังไม่เจอเงินฝืด

เงินเฟ้อ ม.ค.67 ติดลบ 1.11% ลดลงต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน ต่ำสุดในรอบ 35 เดือน เหตุมาตรการรัฐลดน้ำมัน ค่าไฟ ผักสด เนื้อสัตว์ลง ราคาสินค้าอื่น ๆ ทรงตัว และฐานปีก่อนสูง ย้ำไม่มีสัญญาณเงินฝืด

ต้องจับตา 'เงินเฟ้อ' ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และต่ำสุดในรอบ 33 เดือน

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (เงินเฟ้อ) เดือนพฤศจิกายน 2566 เท่ากับ 107.45 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งเท่ากับ 107.92 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ 0.44 (YoY) ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2

'ก้าวไกล' แฉขบวนการฮั้วประมูลพลังงาน ต้นตอค่าไฟแพง บี้นายกฯ เบรกสัญญา

'ก้าวไกล' แฉขบวนการฮั้วประมูลนโยบายพลังงานรัฐบาล ‘กลุ่มทุนไอ้โม่ง’ อยู่เบื้องหลัง ทำค่าไฟแพง บี้นายกฯ ใช้อำนาจตรวจสอบทบทวน ยับยั้งเซ็นสัญญา