“กฟผ.” ลั่นไม่ยืดหนี้ คงจ่ายคืนงวดสุดท้าย เม.ย. 68 ยันมีภาระต้องดูแล หวั่นกระทบสภาพคล่อง-เรตติ้ง ทำดอกเบี้ยลงทุนแพง ส่งผลค่าไฟงวด ก.ย.-ธ.ค. อยู่ที่ 4.45 บาท/หน่วย
4 ส.ค. 2566 – นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยถึงกรณีที่ภาคเอกชนได้เรียกร้องให้ลดค่าไฟเหลือเป็น 4.25 บาทต่อหน่วยด้วยแนวทางสำคัญคือการยืดหนี้กฟผ. 110,000 ล้านบาท ออกไปจาก 5 งวด เป็น 6 งวด หรือสิ้นสุดภายใน เม.ย. 2568 จากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ได้เห็นชอบเรียกเก็บค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) งวด ก.ย.-ธ.ค. 2566 ที่ 66.89 สตางค์ต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยปรับลดลงจากงวดปัจจุบัน (พ.ค.- ส.ค.66)เหลืออยู่ที่ 4.45 บาทต่อหน่วย ว่า ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากจะกระทบต่อกระแสเงินสด หรือสภาพคล่องของ กฟผ. และกระทบต่อการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (เครดิต เรทติ้ง) ของกฟผ. ด้วย ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการลงทุนในอนาคตสูงขึ้น
ทั้งนี้ ปัจจุบัน กฟผ.ได้บริหารกระแสเงินสดและสภาพคล่อง โดย 1. ใช้เงินกู้ 110,000 ล้านบาท 2.ใช้วงเงินกู้ระยะสั้น (Credit Line) สูงสุด30,000 ล้านบาท และ 3.เลื่อนจ่ายเงินนำส่งรัฐ โดย กฟผ. มีภาระในการคืนเงินต้นเงินกู้เสริมสภาพคล่องซึ่งจะเริ่มมีการชำระยอดแรกในปี 2567 แต่ปัจจุบัน กฟผ. ได้เริ่มชำระดอกเบี้ยแล้ว ดังนั้น หาก กฟผ. ไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ที่ครบกำหนดจนต้องมีการขยายเวลาชำระหนี้ออกไปจะกระทบต่อดอกเบี้ยและเครดิต เรทติ้งของ กฟผ.
“สถานการณ์ค่าเชื้อเพลิงที่มีราคาสูง ทำให้ กฟผ. ต้องแบกภาระ 1.5 แสนล้านบาทในช่วงปลายปี 2565 ได้แบ่งการชำระหนี้คืนออกเป็น 6 งวด (2ปี) ต่อมารัฐได้ให้ขยายเป็น 7 งวด และขณะนี้ทยอยใช้หนี้แล้ว 2 งวด เหลือ 5 งวด เพื่อให้ กฟผ. ได้รับเงินคืนครบภายใน เม.ย. 2568 จึงต้องขอให้เป็นไปตามนี้ ถ้าขยายไปเรื่อย ๆ จะส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสด เรทติ้งที่ไม่ดี ทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้สูง กระทบต่อการลงทุนและอาจกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว” นายบุญญนิตย์ กล่าว
นายบุญญนิตย์ กล่าวถึงแนวคิดการขอให้ กฟผ.ซื้อไฟจากโซลาร์ รูฟท็อป ส่วนที่เหลือจากการใช้งานตามบ้านเรือนประชาชนในราคาเดียวกับที่ กฟผ.ขาย ว่า เมื่อพิจารณาตามต้นทุนจริง การรับซื้อไฟจากโซลาร์ รูฟท็อป ในราคา 2.20 บาทต่อหน่วยถือเป็นราคาที่เหมาะสมกับต้นทุนการผลิตแล้ว ในขณะที่ไฟฟ้าที่มาจากการผลิตของ กฟผ.มีต้นทุนหลากหลาย ซึ่งทุกส่วนมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กฟผ. เตรียมจัด '70 พรรษา 7 โครงการเฉลิมพระเกียรติ' สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ในปี 2568 ถือเป็นปีมหามงคลที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2568 กฟผ. จึงจัดทำโครงการ “70 พรรษา 7 โครงการเฉลิมพระเกียรติ” เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
'โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ' แบตเตอรี่ยักษ์กักเก็บพลังงานสะอาด
ความท้าทายในการก้าวข้ามขีดจำกัดของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่กำลังมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในระบบไฟฟ้าเพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศ คือ การบริหารจัดการความผันผวนของพลังงานหมุนเวียนที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงบางช่วงเวลา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
'โรงไฟฟ้า SMR' ตัวเปลี่ยนเกมพลังงานสะอาด
ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและแรงกดดันจากมาตรการทางการค้าถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้ทั่วโลกพยายามดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เดินหน้าเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของ กฟผ. ในระดับสากลที่ระดับ 'BBB+'
บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ประกาศผลการทบทวนการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ กฟผ. ในระดับสากลที่ระดับ “BBB+” ซึ่งเป็นระดับเทียบเท่ากับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย และให้มุมมองความน่าเชื่อถือ (Outlook) ของ กฟผ. อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable)
“สวนผักทางไฟ” พลิกพื้นที่แห้งแล้งใต้แนวสายส่งไฟฟ้าสู่แหล่งอาหารบ้านโนนยาง
“เคล” ราชินีแห่งผักใบเขียว หรือคะน้าใบหยิก ที่กำลังเตรียมตัดขายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เป็นภาพที่เกษตรกรบ้านโนนยาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
กฟผ. ร่วมส่งความสุขล้นใจแบบรักษ์โลก เป็นของขวัญปีใหม่ 2568 ให้คนไทยฉลองแบบแฮปปี้
กฟผ. เตรียมของขวัญปีใหม่ 2568 ให้คนไทยในรูปแบบ 3 ส่วนลดพิเศษ ส่วนลดผลิตภัณฑ์เบอร์ 5 30,000 สิทธิ์ ส่วนลดค่าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า