นายกฯ จับตาการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน

นายกฯ เกาะติดการแก้ไขหนี้ครัวเรือน ชื่นชม ธปท.- ธนาคารรัฐ- เอกชน- นอนแบงก์ ผนึกกำลังวางแนวทางแก้หนี้ที่ยั่งยืน สอดคล้องแนวนโยบายรัฐบาลมุ่งสร้างวินัยการเงินทั้งระบบ

03 ส.ค.2566 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนและหนี้นอกระบบเป็นปัญหาสะสมในระบบเศรษฐกิจมายาวนานซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาและได้ให้นโยบายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขโดยต่อเนื่อง ทั้งการช่วยเหลือประชาชนทั้งที่เป็นโครงการระยะเร่งด่วนตามสถานการณ์เช่นในช่วงมีการแพร่ระบาดของโควิด19 และดำเนินมาตรการที่เป็นการแก้ไขเชิงโครงสร้างเพื่อกระตุ้นให้เกิดวินัยการทางเงินทั้งระบบ

โดยนายกฯ ได้ให้ความสำคัญและติดตามการดำเนินการของหน่วยงานและคณะกรรมการชุดต่างๆ อย่างใกล้ชิด และได้รับรายงานว่า ขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ร่วมกับธนาคารพาณิชย์เอกชน ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) ในการดำเนินแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นการยกมาตรฐานการให้สินเชื่อ โดยการดูแลตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้ กำลังจะเป็นหนี้ ระหว่างเป็นหนี้ เมื่อหนี้มีปัญหา และเมื่อมีการขาย/ฟ้องหนี้ และหนี้นอกระบบให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะเข้ามากู้ในระบบได้ แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ส่วน คือ มาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม ที่สถาบันการเงินต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 ม.ค.2567 และมาตการแก้หนี้เรื้อรัง เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เม.ย.2567

“นายกฯ ชื่นชมความร่วมมือของ ธปท. และสถาบันการเงินทั้งรัฐและเอกชนที่กำลังสร้างวัฒนธรรมการให้สินเชื่อที่ดี เป็นรากฐานที่จะแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยั่งยืน ให้คนไทยมีหนี้ที่มีคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายที่รัฐบาลดำเนินการมาตลอดคือมุ่งสร้างวินัยการเงินให้เกิดขึ้นทั้งระบบ”น.ส.ไตรศุลีกล่าว

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนแบบคู่ขนาน ทั้งการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนและระยะยาว ซึ่งระยะเร่งด่วนนั้นได้ขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย ดำเนินการใน 3 ด้านที่สำคัญ คือ 1.ช่วยเหลือลูกหนี้ให้เข้าถึงกลไกการแก้ไขหนี้สิน 2.ปรับปรุงกฎหมาย และ 3.เพิ่มเติมแหล่งสินเชื่อที่เป็นธรรม ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มีการรายงานผลดำเนินงานให้ ครม. ทราบเป็นระยะเพื่อปรับปรุงแนวทางการทำงานที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์

ส่วนของการสร้างวินัยการเงินในระยะยาวสำหรับคนไทย รัฐบาลได้จัดให้มีแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงแผ่นปี 2565 - 2570 ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างทักษะในการบริหารจัดการทางการเงินของบุคคลในทุกช่วงวัย ทั้งในระดับครอบครัว ในสถานศึกษา และสำหรับประชาชนทั่วไป มีหลายหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนแผน อาทิ กระทรวงการคลัง ธปท. สำนักงานคณะกรรการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษาฯ เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลยันผู้ปลูกมันสำปะหลังไม่ถูกกดราคาแน่

รัฐบาลให้ความเชื่อมั่นผู้ปลูกมันสำปะหลัง เตือนพ่อค้ากดราคา โทษจำคุกสูงสุด 7 ปี จัดสายตรวจเฉพาะกิจ ลงพื้นที่ตรวจสอบการซื้อขายมันฯ ในแหล่งเพาะปลูกทั่วประเทศ รับฤดูเก็บเกี่ยวที่จะเริ่ม ธ.ค.นี้

รัฐบาลโอ่ผลงานยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออกเชื่อมโยงอีอีซี

รัฐบาลยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออก เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร เชื่อมโยงอีอีซี ล่าสุดกรมทางหลวงขยาย 4 ช่องจราจร ทล.3481 ตอน บ้านหัวไผ่ - การเคหะฯ จังหวัดปราจีนบุรี แล้วเสร็จ

อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย

รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย

'อนุทิน' เปิดสัมมนาความปลอดภัยทางถนนหวังอุบัติเหตุเป็นศูนย์!

'อนุทิน' เปิดสัมมนาวิชาการระดับชาติ ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 16 ย้ำความสำคัญ 'Situation awareness' ตื่นตัว ตระหนัก รับผิดชอบ ชี้ต้องทำอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ เพราะหนึ่งชีวิตก็เป็นเกรดเอฟแล้ว