ดัชนีราคาที่ดินเปล่าไตรมาส 2 ขยับเพิ่ม 6.2% แต่เริ่มโตลดลง จากปัญหาศก. -หนี้ครัวเรือน

ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ไตรมาส 2 /2566 ภาพรวมเพิ่มขึ้น 6.2% แต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนโควิด-19

2 ส.ค. 2566 – ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 2566 พบความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ชะลอตัวลงโดยมีค่าดัชนีเท่ากับ 376.5 จุด โดยพบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่ลดลงร้อยละ -2.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนายังคงมีทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่มีการชะลอตัวจากไตรมาสแรก หลังจากเริ่มมีการชะลอตัวของตลาดจากปัจจัยลบต่าง ๆ โดยภาพรวมอัตราการเพิ่มของดัชนีราคาที่ดินเปล่าฯ ในไตรมาสนี้ มีการปรับเพิ่มขึ้นของต่ำกว่าอัตราค่าเฉลี่ย 5 ปี ในช่วงก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 (ปี 2558 – 2562)

นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์เปิดเผยว่าดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 2566 มีค่าดัชนีเท่ากับ 376.5 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ลดลงร้อยละ -2.4 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนายังคงมีทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่มีการชะลอตัวจากไตรมาสแรก โดยอัตราการเพิ่มของดัชนีราคาที่ดินในไตรมาสนี้ ยังเป็นการเพิ่มที่ไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราค่าเฉลี่ย 5 ปี ในช่วงก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 (ปี 2558 – 2562) ซึ่งมีอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2565 (YoY) อีกทั้งยังมีอัตราเฉลี่ยของอัตราการเปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.1 แสดงให้เห็นอัตราเร่งของดัชนีราคาที่ดินในช่วงดังกล่าวที่สูงกว่าปัจจุบัน

“ปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเปล่ามีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากการที่เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปี 2566 มีการขยายตัวลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมทั้งการยกเลิกการผ่อนคลายมาตรการ LTV ของ ธปท. และภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังคงมีอัตราส่วนที่สูงถึง 90% ของ GDP อีกทั้งเป็นช่วงภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่จะทำให้ความสามารถในการซื้อและการผ่อนชำระที่อยู่อาศัยของประชาชนลดลง ส่งผลให้กำลังซื้อที่อยู่อาศัยชะลอตัว ผู้ประกอบการจึงชะลอแผนในการเปิดขายโครงการใหม่ในปีนี้ถึงปี 2567 มีผลให้เกิดการชะลอการซื้อที่ดินเปล่าเพื่อรองรับการพัฒนาลงบ้างในหลายทำเล ประกอบกับรัฐบาลได้ประกาศจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเต็มอัตราในปี 2566 จึงทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับแผนการซื้อที่ดินสะสมเพื่อรองรับการพัฒนาโครงการในอนาคต ส่งผลให้ความต้องการซื้อที่ดินสะสมในตลาดเพื่อเป็น Land Bank ลดลง เพื่อควบคุมภาระต้นทุนจากการถือครองที่ดิน โดยภาระภาษีที่ดินฯ ซึ่งเป็นต้นทุนในการพัฒนาโครงการในระยะต่อไป”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อสังหาฯ 4 จังหวัดภาคใต้ฟื้น อานิสงส์ท่องเที่ยวหนุน ภูเก็ตนำโด่ง

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) รายงานสถานการณ์ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ระหว่างขายในช่วงครึ่งหลังปี 2566

ธอส. เตือนภัย!! ระวังมิจฉาชีพ ใช้ภาพกรรมการผู้จัดการ ปล่อยสินเชื่อบุคคลออนไลน์

ธอส. เตือนภัย!! อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพแอบอ้างหลอกลวงใช้ภาพกรรมการผู้จัดการ ปล่อยสินเชื่อบุคคลออนไลน์

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ชี้ราคาบ้านใน กทม. และปริมณฑล ขยับตัวเพิ่มขึ้น

ดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ไตรมาส 4 ปี 2566 บ้านเดี่ยวในกรุงเทพฯดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ดันดัชนีภาพรวมพุ่ง 130.3

ธอส. ปล่อยสินเชื่อใหม่ปี 66 เข้าเป้า 2.3 แสนล้าน แย้มคุม NPL อยู่หมัด

นายกฤษณ์ เสสะเวช กรรมการธนาคาร และรักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ณ วันที่ 21 ธันวาคม 2566 ธอส. สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ตามเป้าหมายในปี 2566

ราคาเหล็กลดวูบ หนุนดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้าน Q3 เพิ่มเพียง 1.5%

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) รายงานดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 3 ปี 2566 มีค่าดัชนีเท่ากับ 134.2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2566 (QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

MEA จับมือ ธอส. เปิดสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำผู้ใช้บริการด้านไฟฟ้า KEN by MEA

วันนี้ นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง พร้อมด้วย นายวิทยา แสนภักดี รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานการตลาด ธนาคารอาคารสงเคราะห์