หอการค้าชี้ 'หนี้ครัวเรือน' ไทยพุ่งมากที่สุดในรอบ 15 ปี 

27 ก.ค. 2566 – นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยสถานภาพ “หนี้ครัวเรือน” ไทยปี 2566 พบว่า ภาระ “หนี้ครัวเรือน” เพิ่มสูงขึ้น มากที่สุดในรอบ 15 ปี โดยมีหนี้สินรวมอยู่ที่ 559,408 บาท ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น 11.5 % จากปี 2565 ที่มีหนี้รวม 501,711 บาทต่อครัวเรือน

สาเหตุที่หนี้เพิ่มสูงขึ้น มาจากค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ถึง 16.8 % มีการซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น 16.2 % เช่น รถยนต์ บ้าน มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย 13.8% และ กลุ่มตัวอย่างถึง 60 % ไม่มีการออมเงิน นอกจากนี้ จากผลการสำรวจยังพบว่าคน GEN Y และ GEN Z ถึง 76 % ยอมรับว่าใช้เงินแบบไม่วางแผน 60.5% มีการใช้จ่ายเงินเกินตัว และ 47.2 % กู้ยืมเงินในอนาคตมาใช้ โดยเฉพาะการใช้บัตรเครดิต  อย่างไรก็ตามคาดว่า “หนี้ครัวเรือน” จะขึ้นไปสูงสุดในปี 2567 หลังจากที่เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ไว้เนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลยังล่าช้า โดยล่าสุดกระทรวงการคลังได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP เหลือ 3.5% จาก 3.6 %

หอการค้าไทยได้มีการเปรียบเทียบรายจ่ายและค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในปัจจุบัน โดยพบว่า ประเทศไทยมีรายได้ครัวเรือที่ต่ำกว่า 5,000 บาท 94.1% กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจมีดังนี้ ภาคกลาง 75.4% กรุงเทพฯ 72.8 % เกษตรกร 81.4% เกษียณอายุ 81.1% รับจ้าง 71.4%

นอกจากนี้ยังพบว่ามี รายได้ครัวเรือนน้อยกว่ารายจ่าย 65.8% รายได้ครัวเรือนเท่ากับรายจ่าย 32.0% รายได้ครัวเรือนมากกว่ารายจ่าย 2.2% ส่วนใหญ่แก้ปัญหารายได้น้อยกว่ารายจ่าย ด้วยการกู้ยืมเงิน ไม่วาจะเป็นการกู้เงินจากธนาคาร การกดเงินจากบัตรกดเงินสด บริษัทสินเชื่อ กูยืมเงินจากญาติพี่น้อง

เพิ่มเพื่อน