สสว.มึน ไตรมาส 2/66 SME 2.6 พันรายทั่วประเทศ แบกหนี้สิน 59.7% สูงกว่าปีก่อน 53.4% เผยเหตุยังเผชิญปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่ายและสภาพคล่องลดลง สะท้อนดอกเบี้ยเงินกู้สูงถึง 9-12%
24 ก.ค.2566 – นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ได้ทำการสำรวจผู้ประกอบการ SME เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านหนี้สินกิจการของ SME ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 โดยสอบถามผู้ประกอบการ จำนวน 2,691 ราย ใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 17-27 มิ.ย. 2566 พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ผู้ประกอบการ SME 59.7% มีภาระหนี้สิน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ที่อยู่ที่ 53.4% โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการกู้ยืมเพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในกิจการ
รองลงมา คือ การลงทุนในกิจการ เพื่อการซ่อมแซมสถานประกอบการ และพบว่ากลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยโดยเฉพาะธุรกิจภาคการค้าและภาคการบริการมีสัดส่วนการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนนอกระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการกู้ยืมจากเพื่อนหรือญาติพี่น้องมากที่สุด เนื่องจากแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินมีวิธีการและกระบวนการพิจารณาที่เข้มงวด
ทั้งนี้ พบว่า ผู้ประกอบการ SME 35.6% มีภาระหนี้สินอยู่ในช่วง 50,000 ถึง 100,000 บาท ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ที่ 33.2% ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจรายย่อย โดยมีระยะเวลาสัญญาเงินกู้ในช่วงไม่เกิน 7 ปี ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมเงินของ SME ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะ ธุรกิจรายย่อยยังแบกรับอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าธุรกิจขนาดอื่น ๆ โดยขยับขึ้นมาอยู่ในช่วง 9-12% จาก 6-8% ในช่วงไตรมาสก่อน โดยสถานการณ์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ผู้ประกอบการ SME กว่า 55.4% ยังคงเผชิญกับปัญหาในการชำระหนี้ ด้วยเหตุที่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย สภาพคล่องลดลงและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น
อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการ SME 57.8% ยังสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดสัญญา จากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว แต่ยังพบว่าผู้ประกอบการ SME 42.4% เริ่มประสบปัญหาการผิดเงื่อนไขการชำระหนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยและขนาดย่อม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี พบว่า ปัญหาสำคัญที่ผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่ยังคงเผชิญ คือ ปัญหาด้านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการประกอบธุรกิจ รองลงมา คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งมีขั้นตอนการยื่นกู้ยุ่งยาก และสิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือมากที่สุด คือ การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รองลงมา คือ ต้องการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับธุรกิจรายเล็ก และการลดขั้นตอนหรือเงื่อนไขในการยื่นขอสินเชื่อ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงสาธารณสุข เดินหน้าแก้ปัญหาหนี้สินบุคลากร
น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลนำโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดให้การแก้ไข
ผลสำรวจชี้ คนไทยกระเป๋าฉีกพบมีหนี้สิน 20-50%ของรายได้ แถมเสี่ยงถูกเลิกจ้างสูง
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน” ระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,146 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม
'ทักษิณ' ประกาศลุยเต็มสูบช่วยงานรัฐบาลหลังสิงหาคม
'ทักษิณ' เยือนสุรินทร์ บวชพระใหญ่ 334 รูป ถวายเป็นพระราชกุศลในหลวง ถ่อมตัวจากไทยไป 17 ปี ปราศรัยไม่ค่อยเป็นแล้ว แต่หวังคนไทยหลุดบ่วงหนี้สิน แย้มหลังสิงหาคม รัฐบาลโชว์ผลงานเป็นรูปธรรม
'จั๊กกะบุ๋ม' ขอโอกาสสุดท้าย เดินหน้าทอดปลาร้า เผยยอดหนี้คงเหลือที่ต้องเคลียร์
หลังจากเป็นข่าวดังเมื่อหลายวันก่อน สำหรับนักแสดงตลกหนุ่ม "จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม" กับข่าวใหญ่โตที่ติดหนี้ก้อนโตแม่ค้าคนดัง จนฉาวโฉ่ถูกแบนให้เลิกใช้นามสกุล เชิญยิ้ม จนได้รับโอกาสสุดท้ายจาก "เป็ด เชิญยิ้ม" เปิดพื้นที่ให้ขายของเพื่อมีเงินไปเคลียร์หนี้สิ้น ล่าสุดจั๊กกะบุ๋มเผยชีวิตทำมาหากินในปัจจุบัน และอัปเดตยอดเงินคงเหลือที่ต้องเคลียร์เจ้าหนี้คู่กรณีกลางรายการ "โต๊ะหนูแหม่ม"
มท.เผยยอดไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบ 50,830 ราย สำเร็จแล้ว 28,253 ราย
กระทรวงมหาดไทยจึงได้แจ้งให้ทุกจังหวัด อำเภอ เดินหน้าแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างต่อเนื่องด้วยการเชิญเจ้าหนี้และลูกหนี้มาเข้าสู่กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้
'ตั๊ก ศิริพร' โพสต์ฟาดตลกหนุ่ม ด้าน 'จั๊กกะบุ๋ม' วอนชาวเน็ตอย่าด่าถึงครอบครัว
หลังจากที่เป็นประเด็นดราม่าจนถึงขั้นต้องไปเคลียร์กลางรายการ โหนกระแส เมื่อวันก่อน สำหรับเรื่องราวการติดหนี้ของนักแสดงตลก จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม กับ แม่ปูนา รวมถึงเจ้าหนี้รายอื่นๆที่เรียกได้ว่ารายชื่อยาวเป็นหางว่าว