“คลัง” จ่อเข็นแพ็คเกจภาษี 20 รายการให้รัฐบาลใหม่พิจารณา หวังปั๊มรายได้ ปักหมุดลดขาดดุลงบประมาณ เล็งปิดฉากสารพัดหักลดหย่อนหนุนซื้อกองทุน ไม่ถอยเก็บภาษีขายหุ้น เตรียมทบทวนจ่ายเบี้ยคนแก่แต่รวย
17 ก.ค. 2566 – นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอรัฐบาลใหม่พิจารณาแผนปฏิรูปการจัดเก็บรายได้รัฐบาล ทั้งในส่วนของการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย เพื่อให้เป็นไปตามกรอบวินัยการคลัง และดำเนินการตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปี 2567-2570) ที่ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2567 ต้องลดสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณ ไม่ให้เกิน 3% ต่อจีดีพี ขณะที่ปัจจุบันการจัดเก็บรายได้ มีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 14% ของจีดีพี ควรขยับขึ้นไปเป็นระดับ 16-17% ต่อจีดีพี
“แผนการปฏิรูประบบภาษีของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังแล้วกว่า 20 รายการ แต่วันนี้ยังบอกไม่ได้ว่าจะทำอะไร ซึ่งทุกรัฐบาลที่เข้ามาไม่ว่าจากพรรคใด แผนปฏิรูปภาษีจะเป็นแผนแรก ที่กระทรวงการคลังต้องกางให้ดู ว่าแผนจัดเก็บรายได้ แผนรายจ่ายควรจะเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่เอาไปให้ดูหมด ว่าคนที่ทำนโยบายจะดำเนินการอย่างไร” นายกฤษฎา กล่าว
ทั้งนี้ เบื้องต้นในแผนการปฏิรูปภาษี จะมีการแบ่งช่วงเวลา บางมาตรการจะดำเนินการใน 2 ปี หรือภายใน 5 ปี เป็นต้น เช่น ที่ผ่านมามีการใช้มาตรการลดหย่อนภาษีจากการซื้อกองทุน เพื่อช่วยสนับสนุนการลงทุนในตลาดทุนมานานหลายปีแล้ว มองว่าเป็นการช่วยคนรวยมากเกินไปหรือไม่ อาจจะต้องมาทบทวนวิธีนำค่าลดหย่อนหลาย ๆ รายการ ต้องมีการกำหนดเพดาน (แคป) วงเงินลดหย่อนสูงสุด ให้ผู้เสียภาษีเลือกรายการที่ต้องการหักลดหย่อนเอง เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังยืนยันว่าภาษีจากการซื้อขายหุ้น ก็ยังอยู่ในแผนการปรับโครงสร้างภาษี เพียงแต่รัฐบาลรักษาการมีข้อจำกัดไม่สามารถดำเนินการได้ต่อ หรือหากจะปรับเป็นการเก็บภาษีกำไรจากเงินลงทุน(Capital Gain Tax) ก็สามารถดำเนินการได้ ขึ้นอยู่กับนโยบาย รวมทั้งแผนการปรับโครงสร้างภาษี เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสนับสนุนเรื่องเศรษฐกิจสีเขียว หรือ ESG สินค้าประเภทไหนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทำลายสุขภาพ ต้องจัดเก็บภาษีให้มากขึ้น เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า การปรับโครงสร้างภาษีจะส่งผลให้การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 6 แสนล้านบาทตามนโยบายของพรรคการเมืองหรือไม่ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การปฏิรูปภาษีจะช่วยเพิ่มรายได้ให้อีกอย่างน้อยเกินครึ่ง
นายกฤษฎา กล่าวอีกว่า มาตรการลดรายจ่าย ยกตัวอย่างเช่น เรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือ เบี้ยยังชีพ ที่ปัจจุบันต้องจัดสรรงบประมาณมาจ่ายเบี้ยยังชีพคนชราปีละ 50,000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2567 รัฐบาลตั้งงบประมาณไว้จ่ายค่าเบี้ยยังชีพคนชราเพิ่มเป็น 90,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าไปดูในรัฐธรรมนูญ การจัดสรรเบี้ยยังชีพคนชรา มันเป็นสิทธิ์ทุกคน หรือควรเป็นสิทธิ์คนที่ไม่มีความสามารถ จึงต้องเขียนกติกาว่าใครควรได้ ควรมีการถือครองทรัพย์สินเท่าใด ใครควรได้รับการช่วยเหลือ คนแก่แต่รวยควรได้รับ600-800 บาทต่อเดือนหรือไม่ ควรลดเพื่อเอาไปช่วยเหลือถูกฝาถูกตัวหรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อนุสรณ์' หนุนพนันถูกกฎหมายแต่ต้องระวังผลกระทบทางสังคม
ประเมินเศรษฐกิจนอกระบบของไทย ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การจัดการเศรษฐกิจนอกระบบและนอกกฎหมาย การพนันถูกกฎหมายเป็นส่วนหนึ่ง แต่ต้องป้องกันผลกระทบทางสังคมให้ดี
คลังฟื้นวายุภักษ์ ปั๊มเงินตลาดทุน ‘ดิจิทัล’ไม่สะดุด
“คลัง” เร่งเครื่องฟื้นกองทุนวายุภักษ์ คาดวงเงิน 1 แสนล้านบาท
แจกหมื่นพร้อมกันทุกกลุ่ม นายกฯบี้เก็บภาษีตามเป้า
นายกฯ ถกหน่วยงานภาษี ไล่บี้จัดเก็บรายได้ตามเป้า “ปลัดคลัง” มั่นใจทำได้
'พีระพันธุ์' ต่อสายคุย 'กฤษฎา' ยืนยันลาออก
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีนายกฤษฎา จีนะวิจาร
'พิชัย' ตอบ 'กฤษฎา' ไม่เป็นไร วิธีการทำงานของผมมีเหตุมีผล
ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นายพิชัย ชุณหวชิร รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ก่อยเดินขึ้นประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ถึงกรณี