จีนแห่ปักหมุดลงทุนใน 'นิคมสมาร์ทปาร์ค' ในพื้นที่มาบตาพุด

กนอ. เผยนักลงทุนแห่สนใจนิคมสมาร์ท ปาร์คทั้งจีนจ่อปักหมุดอุตสาหกรรมอีวี และยุโรปจ่อพัฒนาโลจิสติกส์ในพื้นที่ ย้ำพอใจโครงการคืบหน้าเกินครึ่ง คาดปี 67 สามารถเปิดใช้ได้ตามแผน

17 ก.ค. 2566 – ​นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค (Smart Park) ว่า การก่อสร้างโครงการสมาร์ท ปาร์ค ที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ประกาศเจตนารมณ์ให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนนั้น ปัจจุบันมีผู้สนใจเข้าร่วมลงทุนจากหลายประเทศหลังจากที่มีการโรดโชว์ โดยเป็นเอกชนจากประเทศจีนที่ต้องการพื้นที่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี) และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชน และมีนักลงทุนจากยุโรปที่ต้องการพื้นที่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์

“กระทรวงฯ ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งซึ่งเป็นโครงการฯ จะเกิดการกระตุ้นและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เพื่อการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงในอนาคต”นายณัฐพล กล่าว

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่าโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค เมื่อดำเนินการสำเร็จลุล่วงจะก่อให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่มากมาย ทั้งการเป็นพื้นที่รองรับการลงทุนอุตสาหกรรมของประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย(เอส-เคิร์ฟ) การพัฒนาพื้นที่และท้องถิ่น ทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มรายได้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้อย่างดี โดยความก้าวหน้างานก่อสร้างสะสมจนถึง 25 มิ.ย. 2566 คืบหน้าไป 60.70% ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนที่วางไว้ในปี 2567

อย่างไรก็ตามโครงการสมาร์ท ปาร์ค ในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งมีพื้นที่โครงการ 1,383.71 ไร่ ถือเป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ที่จะก้าวข้ามการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นฐานเดิม เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เสริมสร้างความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ทันสมัย ปลอดภัย ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ ภายใต้แนวคิดนิคมอุตสาหกรรมที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตามนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้ต้องบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2593

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิมพ์ภัทรา' นำทีมบุกญี่ปุ่น ศึกษาโมเดล 'นิคมอุตสาหกรรม Circular' มาปรับใช้กับไทย

“พิมพ์ภัทรา”นำทีมเยือนญี่ปุ่น 21 - 27 กรกฎาคม 2567 ปักหมุดดูงานพัฒนาการจัดตั้ง “นิคมอุตสาหกรรม Circular” พร้อมหารือกับองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization : JETRO) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมของไทย ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน เศรษฐกิจหมุนเวียน และความเป็นกลางทางคาร์บอน

'เสกสกล-ประธานกนอ.สัมพันธ์' หารือขับเคลื่อนศก.สงขลา เร่งปรับปรุงสวัสดิการพนักงานกนอ.

นายเสกสกล อัตถาวงศ์ คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการสัมพันธ์

ก.อุตฯช่วยชาวภาชี!! นำถัง IBC เร่งจัดเก็บน้ำปนเปื้อนกรดออกจากพื้นที่

ก.อุตฯ ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยชาวภาชี!!นำถัง IBC เร่ง จัดเก็บน้ำปนเปื้อนกรดออกจากพื้นที่โดยด่วน

ก.อุตฯ ผนึก ป.ป.ท. แลกเปลี่ยนข้อมูล ร่วมแก้ปัญหาการลักลอบทิ้งกากฯ

ก.อุตฯ ผนึก ป.ป.ท. แลกเปลี่ยนข้อมูล ร่วมแก้ปัญหาการลักลอบทิ้งกากฯ ทั้งระบบขยายผลขบวนการขนย้ายกากตะกอนแร่จากจังหวัดตาก ย้ำต้องโปร่งใส เน้นความปลอดภัยของประชาชนเป็นที่ตั้ง

2กระทรวงใหญ่ผนึกกำลังขับเคลื่อนนิคมฯยางพารา ใช้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับดึงนักลงทุนต่างชาติ

กยท.เดินหน้า จับมือ กนอ.ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมยางพาราให้เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมดึงนักลงทุนจากต่างชาติ ชูจุดเด่นตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มายาง ดันไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้ทุกภาคส่วนในวงการยางพาราอย่างยั่งยืน