รถไฟทางคู่ 'เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ' เร่งเวนคืนได้ 65%

รถไฟทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” เดินหน้าตามแผน คืบ1.485% เวนคืนแล้ว 65% เป้าเสร็จปี 71 เปิดประตูการค้าชายแดนภาคเหนือ บูมรองรับการขนส่งสินค้าการเกษตรทางราง เชื่อมต่อการขนส่งไทย-ลาว-จีน

17 ก.ค. 2566 – แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เส้นทางสายใหม่ ระยะทาง 323.10 กม.ว่าโครงการดังกล่าวยังเดินหน้าตามแผนงาน ซึ่งก่อนหน้านี้อาจจะได้รับอุปสรรคบ้างในส่วนของผลกระทบจากสภาพอากาศ ค่าPM และการเผาป่า โดยภาพรวมงานก่อสร้าง คืบหน้า 1.485% แผนสะสม 1.398% เร็วกว่าแผน 0.087% คาดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2571 ปัจจุบันอยู่ระหว่างทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนแล้ว 65% และส่งมอบพื้นที่ให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป

ทั้งนี้โคงการดังกล่าวแบ่งการก่อสร้างงานโยธาเป็น 3 สัญญา ได้แก่ สัญญา 1 (เด่นชัย-งาว) ระยะทาง 103 กม. คืบหน้า 0.934% เร็วกว่าแผน 0.216% สัญญา 2 (งาว-เชียงราย) ระยะทาง 132 กม. คืบหน้า 2.157% เร็วกว่าแผน0.162% สัญญา 3 (เชียงราย-เชียงของ) ระยะทาง 87 กม.คืบหน้า 1.307% ช้ากว่าแผน -0.194% สำหรับการก่อสร้าง บริเวณอุโมงค์แม่กา ซึ่งหนึ่งในสี่ที่เป็นอุโมงค์คู่ทางเดี่ยวมีความยาว 2,700 เมตร ซึ่งปัจจุบันได้ขุดเจาะไปแล้วประมาณ 42-44 เมตร คาดว่าจะใช้เวลาขุดเจาะประมาณ 4 ปี แต่โครงการดังกล่าวจะมีอุโมงค์ที่ยาวที่สุด 6.2 กม. ที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง

สำหรับรถไฟสายใหม่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เส้นทางผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย ซึ่งอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 จำนวน 3 จังหวัด (ยกเว้นจังหวัดลำปาง) 17 อำเภอ 59 ตำบล มีสถานีและที่หยุดรถไฟรวม 26 แห่ง มีย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า (CY) จำนวน 4 แห่ง ที่สถานีแพร่ สถานีพะเยา สถานีป่าแดด และสถานีเชียงราย และมีลานกองเก็บตู้สินค้าคอนเทนเนอร์เชื่อมต่อกับศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของอีก 1 แห่ง

อย่างไรก็ตามเส้นดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับแหล่งเกษตรกรรม รองรับการขนส่งสินค้าการเกษตรทางราง ยังสามารถพัฒนาเชื่อมต่อกับนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะได้อีกด้วย และรองรับการเชื่อมต่อระบบรางกับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย จะสามารถเชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งสินค้าหลายรูปแบบ รวมทั้งเชื่อมต่อการขนส่งไทย-ลาว-จีน ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงตามระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor :NSEC) เปิดประตูการค้าชายแดนภาคเหนือ ช่วยให้เกิดการจ้างงาน สร้างโอกาสที่ดีต่อการค้าและการลงทุน ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและช่วยการกระจายความเจริญให้กับคนในพื้นที่ ช่วยลดระยะเวลาการเดินทาง มีความปลอดภัยในการเดินทางมากยิ่งขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาคปชช.งัดคำพิพากษา จี้ 'อธิบดีกรมที่ดิน' เพิกถอนสิทธิ์ 'ที่ดินเขากระโดง' ให้เป็นไปตามกฎหมาย

นายพลภาขุน เศรษฐญาบดี ตัวแทนผู้ประสานงาน คณะราษฎรไทยแห่งชาติ (ครช.) และอดีตผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา(สว.) กลุ่ม 17 จ.นครปฐม ได้ยื่นหนังสือทักท้วง อธิบดีกรมที่ดิน กรณีที่ดินเขากระโดง ใช้อำนาจไม่เป็นไป ตามกฎหมาย ม.61 มีใจความว่า

'สุริยะ' ย้ำที่เขากระโดงเป็นของรฟท. ส่วนที่ดินอัลไพน์ ยันไม่ผิดกฎหมาย

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าภายหลังการรถไฟ

'กรมที่ดิน' ยืนกรานยึดกฎหมายกรณีที่ดินเขากระโดง

กรมที่ดิน ชี้แจงอีกครั้งถึงผลการรังวัดที่ดินเขากระโดง ว่าดำเนินการครบถ้วนถูกต้อง ตามคำพิพากษาศาลปกครอง และร่วมตรวจสอบแนวเขตที่ดิน กับ รฟท. ตามกฎหมายทุกขั้นตอน

'สุริยะ' ลั่น รฟท.ไม่ยอมเสียที่ดินให้ใคร ขอให้จบในชั้นเจ้าหน้าที่ อย่าขยายประเด็นการเมือง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์กรณีกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)และกรมที่ดิน