ธปท.เตือนมิจฉาชีพปรับกลอุบายหลอกดูดเงิน!

“แบงก์ชาติ” รับมิจฉาชีพดิ้นปรับกลอุบาย พัฒนาเครื่องมือ False Base Station หลอกดูดเงิน ชี้ พ.ค. ยอดสูญ 200 ล้านบาท มั่นใจอายัดบัญชีม้าได้เพิ่มขึ้น หลังกฎหมายปลดล็อกแลกเปลี่ยนข้อมูล ย้ำธนาคารเลิกส่ง SMS ถาวร แนะประชาชนตั้งสติก่อนถูกหลอกลวง

13 ก.ค. 2566 – นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงคววามคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ว่า ตามที่ ธปท. ได้ออกมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2566 เพื่อเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้สถาบันการเงินทุกแห่งปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกันนั้น ขณะนี้สถาบันการเงินทุกแห่งได้ดำเนินการตามกรอบเวลาที่กำหนด และมีความคืบหน้าไปตามแผน

สำหรับ 1. มาตรการป้องกัน หลายมาตรการสถาบันการเงินทุกแห่งดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่ การยกเลิกแนบลิงก์
ทุกประเภทผ่าน SMS อีเมล และการยกเลิกแนบลิงก์ขอข้อมูลสำคัญผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นต้นซึ่งหลายมาตรการสถาบันการเงินส่วนใหญ่ดำเนินการแล้ว และจะเสร็จทุกแห่งภายในสิ้นปี 2566 ได้แก่ การแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ mobile banking ก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง การกำหนดเพดานวงเงินถอน/โอนสูงสุดต่อวัน ยืนยันตัวตนขั้นต่ำด้วยbiometrics โดยการสแกนใบหน้าก่อนโอนเงินมากกว่า 50,000 บาทต่อครั้ง หรือ 200,000 บาทต่อวัน หรือปรับเพิ่มวงเงินทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป

2.มาตรการตรวจจับ โดยสถาบันการเงินทุกแห่งเริ่มดำเนินการแล้วในการกำหนดเงื่อนไขการตรวจจับและติดตามธุรกรรมที่เข้าข่ายผิดปกติ หรือกระทำความผิด และรายงานไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)ขณะที่ระบบตรวจจับและติดตามบัญชีหรือธุรกรรมต้องสงสัยแบบทันทีเพื่อให้การระงับธุรกรรมเป็นการชั่วคราวเมื่อตรวจพบทำได้เร็วขึ้น อยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2566 และ 3. มาตรการตอบสนองและรับมือ โดยสถาบันการเงินทุกแห่งจัดให้มีช่องทางติดต่อเร่งด่วน (hotline) ตลอด 24ชั่วโมง แยกจากช่องทางให้บริการปกติ เพื่อให้ผู้ใช้บริการแจ้งเหตุได้เร็ว รวมทั้งดูแลผู้ใช้บริการที่ได้รับผลกระทบ

นอกจากนี้ ธปท. ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส),สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), สำนักงาน ปปง., สำนักงาน กสทช. และสมาคมธนาคารไทย ผลักดันการดำเนินการให้สอดคล้องตาม พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566โดยภาคธนาคารได้ยกระดับให้สถาบบันการเงินมีกระบวนการรับแจ้งเหตุ 24 ชั่วโมง และระงับธุรกรรมชั่วคราวไว้ 72 ชั่วโมง เพื่อช่วยตัดตอนเส้นทางการเงิน รวมทั้งมีกระบวนการและพัฒนาระบบกลางแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีและธุรกรรมที่ต้องสงสัยระหว่างสถาบันการเงินด้วยกัน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยลดความเสียหายต่อทรัพย์สินประชาชน และช่วยจัดการบัญชีม้า โดยในส่วนของกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันยังคงร่วมกันเร่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การจัดการปัญหาทำได้เร็วยิ่งขึ้น

“ธปท. จะติดตามและประเมินผลของมาตรการต่าง ๆ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความเพียงพอของมาตรการต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของภัยการเงินที่มีการพัฒนาต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ต้องบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความร่วมมือของประชาชนไม่คลิกลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงิน อัปเดตระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชัน mobile banking ให้ล่าสุดอยู่เสมอ หรือไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมนอกเหนือจากแหล่งที่ได้รับการควบคุมและรับรองความปลอดภัยจากผู้พัฒนา ไม่ใช้โทรศัพท์ที่ไม่ปลอดภัยทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งจะเป็นอีกหัวใจสำคัญในการป้องกันภัยได้อย่างยั่งยืน” นางสาวสิริธิดา กล่าว

นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธปท. กล่าวว่า สถานการณ์ภัยทุจริตทางการเงินในช่วงไตรมาส 1/2566 พบว่า ความเสียหายจากแอปดูดเงินเริ่มลดลง และเริ่มทรงตัวขึ้นในช่วงเดือน เม.ย. ความเสียหายอยู่ที่ 116 ล้านบาท และเดือน พ.ค. อยู่ที่ 200 ล้านบาท ส่วนในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 173 ล้านบาท เนื่องจากมิจฉาชีพมีการปรับกลอุบายใหม่ ใช้เครื่องมือ/เทคโนโลยีใหม่มาช่วย เช่น หลอกเป็นหน่วยงานราชการ, คนรู้จัก หรือหรอกให้ลงทุน, ส่ง SMS ผ่านเสาสัญญาณมือถือปลอม (False Base Station) หรือที่เรียกว่าปลากระเบน และพัฒนาแอปดูดเงินหลบหลีกระบบตรวจจับของธนาคาร ขณะที่การดำเนินการอายัดบัญชีม้า พบว่า สามารถอัดยัดบัญชีม้าได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากที่ ธปท. ออกมาตรการดังกล่าว โดยในเดือน มี.ค. อายัดได้ 5 พันบัญชี เดือนเม.ย. เพิ่มเป็น 6 พันบัญชี และในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 9 พันบัญชี

“เชื่อว่าการอายัดบัญชีม้าในอนาคตจะมีมากขึ้น ส่วนหนึ่งจากกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน โดยข้อมูลจะถูกส่งไปที่ ปปง. เมื่อมีการยืนยันว่าเป็นบัญชีม้า ข้อมูลก็จะถูกส่งกลับมาที่สถาบันการเงิน ซึ่งก็ต้องมาดูในฐานลูกค้าว่าหากเข้าตามข้อมูลที่ ปปง. ส่งมาก็ต้องดำเนินการระงับบัญชีหรือธุรกรรม ส่วนการป้องกันการเปิดบัญชีม้าสำหรับเยาวชนนั้น ผู้เปิดบัญชีต้องเดินทางไปด้วยตัวเองเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นเจ้าของบัญชีตัวจริง และจะมีการกำหนดวงเงินธุรกรรมต่อวันสำหรับอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยธุรกรรมออนไลน์ไม่เกิน 5 หมื่นบาทต่อวัน เพื่อลดโอกาสที่คนร้ายจะหลอกให้เด็กขายบัญชี ส่วนการส่งลิงก์หลอกลวงทางแอปพลิเคชันไลน์นั้น สิ่งที่ทำได้คือการปิดลิงก์ให้เร็วที่สุด ตรงนี้สถาบันการเงิน ดีอีเอส และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดตั้งคณะทำงาน รวมถึงมีการประสานงานกับทางไลน์ด้วย หากกระบวนการเร่งด่วนในการระงับลิงก์ทำได้ทันทีที่ตรวจพบก็สามารถป้องกันปัญหาได้ทางหนึ่ง” นายภิญโญ กล่าว

อย่างไรก็ดี แนวปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวง1.ตั้งสติ และหยุดการติดต่อกับมิจฉาชีพทันที 2.ให้รีบติดต่อสถาบันการเงินที่ใช้บริการทันที ผ่านช่องทาง call center hotline ตลอด 24ชั่วโมง หรือสาขาภายในเวลาทำการ เพื่อระงับธุรกรรมหรือบัญชีชั่วคราวของผู้เสียหายและบัญชีปลายทาง และ 3. แจ้งความอย่างรวดเร็วภายใน 72ชั่วโมงผ่านเว็บไซต์ Thaipoliceonline.com ตลอด 24ชั่วโมง หรือสถานีตำรวจ เพื่อให้ตำรวจแจ้งสถาบันการเงินขยายระยะเวลาการระงับธุรกรรมหรือบัญชีต่ออีก 7วัน เพื่อสืบสวน สอบสวนและออกหมายอายัดบัญชีต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บอสณวัฒน์' ควง 'ชาล็อต' แถลง กลโกงมิจฉาชีพทำสูญเงิน 4 ล้าน!

หลังจากที่ทางเพจ Miss Grand Thailand ได้โพสต์ว่านางงามสาว ชาล็อต ออสติน ถูกมิจฉาชีพหลอกเงินกว่า 4 ล้านบาทรวมถึงบังคับให้วิดีโอคอลตลอด 24 ชั่วโมงนั้น ล่าสุด ณวัฒน์ อิสรไกรศีล ได้พา ชาล็อต ออสติน แถลงข่าว

แฟนนางงามส่งกำลังใจให้ 'ชาล็อต' หลังมิจฉาชีพหลอกเงินกว่า 4 ล้าน!

ทำเอาแฟๆนเป็นห่วงไม่น้อย เมื่อทางเพจ Miss Grand Thailand ได้โพสต์ว่านางงามสาว ชาล็อต ออสติน ถูกมิจฉาชีพหลอกเงินกว่า 4 ล้านบาทรวมถึงบังคับให้วิดีโอคอลตลอด 24 ชั่วโมง

เอ๊ะยังไง! 2 สัปดาห์ ชื่อ 'กิตติรัตน์' ประธานบอร์ด ธปท. ยังไม่ถึงมือขุนคลัง

'พิชัย' บอกยังไม่ได้รับรายงาน ผลการเลือก 'ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ' คาดติดช่วงวันหยุด ชี้ช่วยค่าเกี่ยวข้าวชาวนาไร่ละ 500 บาท ขอฟังความเห็นที่ประชุม นบข.

รัฐบาลเร่งพัฒนาแพลตฟอร์ม สกัดมิจฉาชีพโทร-ส่งข้อความหลอกลวง คาดพร้อมใช้ต้นปี 68

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน

นักกฎหมาย ชี้ไม่ง่าย 'โต้ง' ว่าที่ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ จะแทรกแซงผู้ว่าแบงก์ชาติ

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีหลายฝ่ายคัดค้าน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่ เป็นตัวแทนฝ่

รัฐบาลดี๊ด๊า! เปิดทำเนียบฯ รับม็อบเชียร์ 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ

เครือข่ายภาคประชาสังคมฯ ยื่น 1.5 หมื่นรายชื่อ หนุน 'กิตติรัตน์' นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ 'รองเลขาฯนายกฯ' รีบหอบส่ง ธปท.ทันที แย้มวันนี้ไม่เลื่อนแล้ว